มติชนมติครู : ‘ครู’ เรือทองประคองสังคมคอลัมน์
"มติชนมติครู" ผศ.ดร.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร ม.เกษมบัณฑิต
สังคมไทยนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน จะให้ความสำคัญ และยกย่องให้วิชาชีพ “ครู” เป็นวิชาชีพชั้นสูง ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะว่าครูคือต้นทางการสร้างคน หรือการพัฒนาทุนมนุษย์ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม
บทบาทหน้าที่ หรือพันธกิจสำคัญของครู ได้แก่การสร้างความเจริญงอกงามให้กับศิษย์ ด้วยการเป็นต้นแบบ หรือแม่พิมพ์ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะชีวิต และประสบการณ์ ด้วยหวังให้ศิษย์เจริญเติบโต เป็นนดี คนเก่ง สามารถรับชใช้สังคม และประเทศชาติได้อย่างมีคุณภาพ
วันนี้ ถึงแม้สังคมจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมากก็ตาม แต่จะด้วยปรากฎการณ์ใดๆ ที่ส่งผลต่อสังคม แต่ครูส่วนใหญ่ก็ยังเป็น “เรือทอง” ที่ทำหน้าที่ในการประคองสังคมอยู่เช่นเดิม
เมื่อกล่าวถึงวิชาชีพครู ต้องยอมรับว่าจะในอดีต หรือปัจจุบัน สังคมไทยยังสนใจที่จะให้บุตรหลานเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา ที่ทำหน้าที่ในการสร้างครู หรือผลิตบัณฑิตวิชาชีพครู ยิ่งในปัจจุบัน หากส่องเข้าไปดูในการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะคณะศึกษาศาสตร์ หรือครุศาสตร์ จะพบว่า คนรุ่นใหม่ตื่นตัว และสนใจสมัครอยู่ในอันดับต้นๆ มาอย่างต่อเนื่อง
ที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้น สังคมไทยถือว่าเป็นหนึ่งในชาติที่โชคดีที่พระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงเป็น พระผู้เป็นครูแห่งแผ่นดิน และทรงสนพระทัยในวิชาชีพครูเป็นอย่างยิ่ง
หนึ่งในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อครู และถือว่าเป็นหนึ่งในมิติของความห่วงใยต่อวิชาชีพครู ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางที่ครูทั้งมวลจะต้องยึดเป็นแนวทางการปฏิบั ติเพื่อให้ครูเป็นหนึ่งในผู้ที่มีหน้าที่ในความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะการสร้างเด็กและเยาวชน และรักษาไว้ซึ่งวิชาชีพ ก็คงจะได้แก่พระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า
“ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง หันไปห่วงอำนาจ ห่วงตำแหน่ง ห่วงสิทธิ และห่วงรายได้กันมากเข้าๆ แล้วจะเอาจิตใจที่ไหนมาห่วงความรู้ ความดี ความเจริญงอกงามของเด็ก ความห่วงใยในสิ่งเหล่านั้น ก็จะค่อยๆ บั่นทอนทำลายความเป็นครูไปจนหมดสิ้น จะไม่มีอะไรเหลือไว้พอที่ตัวเองจะภาคภูมิใจ หรือผูกใจใครไว้ได้ ความเป็นครูก็จะไม่มีค่าเหลืออยู่ ให้เป็นที่เคารพบูชาอีกต่อไป” (พระราชดำรัสแก่ครูอาวุโสในโอกาสเข้าเฝ้าวันที่ 21 ตุลาคม 2521)
อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงผู้ประกอบวิชาชีพครู จากปราฎการณ์ของการเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่นับวันที่จะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แต่วันนี้ครูก็ยังเป็นหนึ่งในวิชาชีพที่นอกเหนือจากหน้าที่หลักในสถานศึกษา ครูก็ยังเข้าไปมีบทบาทกับการรังสรรค์จนเกิดประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติในหลากหลายมิติ
แต่ในขณะเดียวกัน ครูก็เป็นหนึ่งในวิชาชีพที่ประสบกับปัญหาตามมาอีกนานับปการเช่นกัน โดยเฉพาะปัญหาหนี้สิน ที่ถือได้ว่าอาจจะเป็นปัญหาโลกแตก ที่รัฐบาล และกระทรวงศึกษาธิการทุกยุค ต่างสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับการแก้ไข แต่จนแล้วจนรอดปัญหาดังกล่าวก็ยังเป็นหลุมดำที่เกาะเกี่ยวกับครูมาอย่างต่อเนื่อง
สำหรับปัญหาหนี้สินครูนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือเสมา 1 ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงควาร่วมมือการดำเนินโครงการไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมกับ 12 หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากพิจารณาถึงความมุ่งมั่น และตั้งใจของเสมา 1 นั้น ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโจทย์ หรือการบ้าน ที่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนสังคม ต้องจับตาถึงผลสัมฤทธิ์ที่จะตามมากันต่อไป
ที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้น เนื่องในโอกาส “วันครู” ประจำปี 2566 เชื่อว่าปีนี้จะเป็นอีกครั้ง ที่ผู้นำประเทศ โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี รวมทั้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คงจะส่งกระแสความห่วงใย หรือหยอดน้ำทิพย์ชโลมใจให้ครู ดังที่ปฏิบัติกันมาอีกวาระหนึ่ง ซึ่งล่าสุดเนื่องในวันสำคัญของวิชาชีพครูปีนี้ นายกรัฐมนตรีก็ได้มอบคำขวัญแก่ครูดังเดิมความว่า “ครูดี ศิษย์ดี มีอนาคต”
อย่างไรก็ตาม เนื่องในวันครูปีนี้ ถึงแม้ผู้นำประเทศจะส่งกระแสถึงครู ไม่ว่าจะด้วยคำขวัญที่ซ่อนไปด้วยสาระ หรือปรัชญา ตลอดจนวิธีคิดที่ชวนติดตาม ก็คงไม่เท่ากับความหวัง และโอกาส ที่สังคมไทยอยากจะเห็นวิชาชีพครูก้าวไปสู่ทิศทางอนาคตที่ดีกว่า ดังที่ผ่านมา
ซึ่งหนึ่งในมิติที่รัฐบาล และกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรเร่งดำเนินการ และตระหนัก เพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ และมีผลในทางปฏิบัติอย่างยั่งยืน คือจะทำอย่างไรที่จะให้ครูได้รับการพัฒนา และยกระดับ เพื่อให้เป็นผู้ที่พร้อมไปด้วยศักยภาพภายใต้โลกในยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง
เหนืออื่นใด เมื่อสังคมคาดหวังให้ครูเป็นหนึ่งในวิชาชีพชั้นสูง มีคูณธรรม มีคุณภาพสามารถเป็น “เรือทองประคองสังคม” ควบคู่ไปกับการพัฒนา หรือเพาะพันธุ์ต้นกล้า ทุนมนุษย์ได้อย่างประสิทธิภาพสืบไป รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องแสวงหาโอกาส และกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน การพัฒนาที่สามารถจับต้องได้อย่างรูปธรรม และยั่งยืนสืบไป
ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 15 มกราคม 2566
ข่าวเกี่ยวกัน
สวนดุสิตโพล ชี้ จุดเด่นของครูไทยวันนี้คือ การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ จุดด้อยคือภาระงานที่มาก
15 มกราคม สวนดุสิตโพล เผยผลการสำรวจเรื่อง ดัชนีครูไทย ปี 2565 “ พลังครูคือหัวใจของการพลิกโฉมคุณภาพการศึกษา”
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ดัชนีครูไทย ปี 2565” เป็นปีที่ 18 สำรวจในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3,897 คน ระหว่างวันที่ 16-26 ธันวาคม 2565 พบว่า ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่น “ดัชนีครูไทย” ปี 2565 7.52 คะแนน โดยตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ บุคลิกภาพดี แต่งกายเหมาะสมกับอาชีพ เฉลี่ย 7.82 คะแนน รองลงมาคือ มนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับผู้อื่นได้ เฉลี่ย 7.73 คะแนน ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่าสุด คือ การประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่เป็นหนี้สิน เฉลี่ย 6.50 คะแนน จุดเด่นของครูไทยในปีนี้ คือ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และมีทักษะใหม่ๆ ร้อยละ 51.89 จุดด้อย คือ การมีภาระงานมาก ร้อยละ 56.26 สุดท้ายกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 65.74 มองว่า
“ครูไทย” จะต้อง “ทันสมัย ทันโลก ทันเหตุการณ์ ปรับตัวเร็ว แก้ปัญหาไว” จึงจะพลิกโฉมการศึกษาไทยได้
ดัชนีครูไทยปีนี้ประชาชนให้คะแนน “ครูไทย” ลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อย (ปี 2564 ได้ 7.75 คะแนน) ปีนี้เต็ม 10 คะแนน ได้ 7.52 คะแนน โดยประชาชนมองว่าครูไทยมีบุคลิกและมนุษยสัมพันธ์ดี พัฒนาตนเอง ทันสมัย แต่ก็ยังพบปัญหา ด้านจริยธรรม จรรยาบรรณ การควบคุมอารมณ์ จากผลสารวจดัชนีครูไทยย้อนหลัง 10 ปีชี้ชัดว่าปัญหา “หนี้สิน” เป็นปัญหาใหญ่และฝังรากลึกมาอย่างยาวนานสาหรับครูไทย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการไม่ว่ายุคใดสมัยใดแม้ให้ความสาคัญแต่ก็ยังแก้ปัญหาไม่สำเร็จ จึงควรศึกษาและรื้อดูระบบว่าปัญหานี้อยู่ที่จุดใดกันแน่
ดร.ศศิธร รณะบุตร ครูใหญ่โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ ล าปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระบุว่า การสำรวจเรื่อง “ดัชนีครูไทย ปี 2565” พบว่า ประชาชนเกิดการรับรู้และให้ความสนใจเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของครู โดยครูมีการ พัฒนาบุคลิกภาพดีขึ้นซึ่งถือเป็นส่วนที่มองเห็นชัดเจน เนื่องจากการเรียนรู้ไม่ได้จัดขึ้นเฉพาะในชั้นเรียน แต่ขยายวงกว้างในโลกออนไลน์ บุคคลต่าง ๆ สามารถเข้าถึงและรับรู้ได้ง่ายขึ้น ตลอดจนการพัฒนาตนเองทางด้านวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ ๆด้วยรูปแบบการสอน เทคนิคใหม่ ๆ ผสมผสานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้เด็ก ครอบครัว และสังคมมีส่วนร่วม ครูไทยต้องแสดงพลังความร่วมแรง ร่วมใจของครูทุกศาสตร์ รักษาจุดเด่นในเรื่องการปรับตัว การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และพร้อมเปลี่ยนแปลงตนเองให้สอดคล้องตามยุคสมัย ตามวิถีของผู้เรียนในยุคปัจจุบัน ไม่ควรหยุดที่จะเรียนรู้ พัฒนาทักษะใหม่ ๆ จนเกิดความรู้ลึกและรู้กว้าง ขยันศึกษาและเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม บริหารจัดการเวลาในการท างานอย่างสมดุล ตลอดจนรักษาจิตวิญญาณของความเป็นครูที่มุ่งมั่นและตั้งใจในการพัฒนาเด็กไทยด้วยใจที่เมตตาและปรารถนาดี
1. ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่น “ดัชนีครูไทย” ปี 2565 เต็ม 10 ได้ 7.52 คะแนน
2. ประชาชนให้คะแนน 20 ตัวชี้วัด “ดัชนีครูไทย” โดยคะแนนเต็ม 10 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้
3. “จุดเด่น-จุดด้อย” ของ ครูไทย วันนี้ คือ
4. ประชาชนคิดว่า “ครูไทย” ควรทำอย่างไร จึงจะพลิกโฉมคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม
ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 15 มกราคม 2566