ราชกิจจานุเบกษา ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 มีผล ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ตามที่มีเสียงเรียกร้องให้มีการแก้ไขปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 มาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญการลงโทษเรื่องทรงผมได้ส่งผลถึงร่างกายและจิตใจของนักเรียน
ศธ.จึงได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรณีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียน ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) ได้ให้ความเห็นว่า รมว.ศธ.ในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดอาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 ประกอบกับมาตรา 39 (1) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 กำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดนำไปปฏิบัติได้
ดังนั้น เมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา ตนจึงได้ลงนามในระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการยกเลิกระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 และเสนอสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วออกเป็นหนังสือสั่งการหรือหนังสือเวียน กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนหรือนักศึกษาไว้อย่างกว้าง ๆ เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดที่เป็นผู้กำกับดูแลสถานศึกษา กำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งนำหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไปกำหนดเป็นระเบียบหรือข้อบังคับของสถานศึกษาแต่ละแห่งเอง
ขณะนี้ ศธ.ได้ยกร่างแนวนโยบายเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนของสถานศึกษา ไว้ดังนี้
โดยการวางระเบียบหรือข้อบังคับของสถานศึกษา และควรระบุบทอาศัยอำนาจของกฎหมายเฉพาะมาตรา 39 (1) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามหลักการมีส่วนร่วม เช่น นักเรียน คณะกรรมการสภานักเรียน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง หรือ ผู้แทนผู้ปกครอง ชุมชนท้องถิ่น บุคคล หรือกลุ่มบุคคลอื่นใดที่หัวหน้าสถานศึกษาเห็นสมควร เป็นต้น และเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา หรือคณะกรรมการบริหารโรงเรียนแล้วแต่กรณี ก่อนการประกาศใช้
นอกจากนี้ ควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนไว้ในระบบสารสนเทศ หรือบริเวณของสถานศึกษา และดำเนินการแจ้งให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสถานศึกษาทราบเป็นการทั่วไป เพื่อให้การปฏิบัติตนของนักเรียนมีความถูกต้อง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดความชัดเจนในการดำเนินการของสถานศึกษา
“ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีข้อต้องปฏิบัติตนเกี่ยวกับการไว้ทรงผมว่า นักเรียนชายจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านข้าง ด้านหลังต้องยาว ไม่เลยตีนผม ด้านหน้าและกลางศีรษะให้เป็นไปตามความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย นักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวให้เป็นไปตามความเหมาะสมและรวบให้เรียบร้อย และมีข้อต้องห้ามปฏิบัติตน ดังนี้ ดัดผม ย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม ไว้หนวดหรือเครา การกระทำอื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน เช่น การตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็นลวดลาย แต่ต่อไปหลังจากมีการประกาศยกเลิกในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เรื่องการไว้ทรงผมของนักเรียนทั้งหมด จะอยู่ที่สถานศึกษา ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ได้มาจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย” รมว.ศธ. กล่าว
ที่มา : ศธ.360 องศา
ข่าวเกี่ยวกัน
ยกเลิกระเบียบทรงผม ให้อำนาจ ร.ร.กำหนดทรงผมไว้สั้น-ยาวได้
น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ ศธ.ได้ยกร่างแนวนโยบายเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนของสถานศึกษา ไว้ดังนี้
1.การไว้ทรงผมของนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัด ศธ. และสถานศึกษาในกำกับดูแลของ ศธ. จะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ โดยสถานศึกษาอาจกำหนดลักษณะทรงผมได้ตามพันธกิจ บริบท และความเหมาะสมของแต่ละสถานศึกษา
2. สถานศึกษาในสังกัด ศธ.และสถานศึกษาในกำกับดูแลของ ศธ.อาจดำเนินการกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับไว้ทรงผมของนักเรียนได้ โดยการวางระเบียบหรือข้อบังคับของสถานศึกษา และควรระบุบทอาศัยอำนาจของกฎหมายเฉพาะมาตรา 39 (1) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามหลักการมีส่วนร่วม เช่น นักเรียน คณะกรรมการสภานักเรียน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง หรือ ผู้แทนผู้ปกครอง ชุมชนท้องถิ่น บุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่นใดที่หัวหน้าสถานศึกษาเห็นสมควร เป็นต้น และเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา หรือ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนแล้วแต่กรณี ก่อนการประกาศใช้ และควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนไว้ในระบบสารสนเทศ หรือบริเวณของสถานศึกษา และดำเนินการแจ้งให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสถานศึกษาทราบเป็นการทั่วไป เพื่อให้การปฏิบัติตนของนักเรียนมีความถูกต้องเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดความชัดเจนในการดำเนินการของสถานศึกษา
“ ระเบียบ ศธ. ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ.2563 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีข้อต้องปฏิบัติตนเกี่ยวกับการไว้ทรงผมว่า นักเรียนชายจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านข้าง ด้านหลังต้องยาว ไม่เลยตีนผม ด้านหน้าและกลางศีรษะให้เป็นไปตามความเหมาะสมและมีความเรียบร้อย นักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือผมยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวให้เป็นไปตามความเหมาะสมและรวบให้เรียบร้อย และมีข้อต้องห้ามปฏิบัติตน ดังนี้ ดัดผม ย้อมสีผมให้ผิดไปจากเดิม ไว้หนวดหรือเครา การกระทำอื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน เช่น การตัดแต่งทรงผมเป็นรูปทรงสัญลักษณ์หรือเป็นลวดลาย แต่ต่อไปหลังจากมีการประกาศยกเลิกในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เรื่องการไว้ทรงผมของนักเรียนทั้งหมดจะอยู่ที่สถานศึกษา ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ได้มาจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย” น.ส.ตรีนุช กล่าว
ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 24 มกราคม 2566
ข่าวเกี่ยวกัน
หายนะบนหัวเด็กไทย! ‘นักเรียนเลว’ เห็นต่างปม ศธ. ยกเลิกกฎทรงผมนักเรียนเชื่อไม่เสรี
เมื่อวันที่ 24 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก “นักเรียนเลว” โพสต์ข้อความกรณี รมว.ศึกษาธิการ ประกาศยกเลิกระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน ระบุว่า “กฎทรงผมถูกยกเลิกฟ้าผ่า โดยตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงไม่กี่เดือนก่อนจะเลือกตั้งใหญ่ แต่ภายใต้การยกเลิกกฎทรงผมของตรีนุชนั้น กำลังทำให้หัวของเด็กไทยถูกกลืนกินไปมากกว่าเดิม
ส่อดราม่า! เสรี ‘ทรงผมนักเรียน’ แต่ไม่มีกฎกลาง ชาวเน็ตโต้งั้น ‘ศธ.’ มีไว้ทำไม?
จากเหตุการณ์ในวันนี้ที่ ตรีนุช เทียนทอง ได้ลงนามยกเลิกกฎทรงผมของกระทรวงฯ และโยนอำนาจการออกกฎทรงผมไปไว้ที่โรงเรียน แสดงให้เห็นว่าตรีนุช ไม่ได้มีความต้องการที่จะทำให้เสรีทรงผมเกิดขึ้นในโรงเรียน และกำลังพยายามทำให้นักเรียนถูกบังคับตัดผมอย่างหนักหน่วงขึ้น ที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีกฎทรงผมของกระทรวงฯ บังคับใช้อยู่ แต่หลายโรงเรียนก็ยังบังคับนักเรียนตัดผมเป็นว่าเล่น จนเกิดการต่อสู้เรียกร้องขึ้นมากมาย ในวันนี้ที่กฎทรงผมของกระทรวงถูกยกเลิกไป ยิ่งทำให้โรงเรียนได้ใจและบังคับนักเรียนตัดผมได้อย่างอิสระโดยไร้การควบคุม
เราไม่ควรยินดีกับการยกเลิกกฎทรงผมในครั้งนี้ เพราะสิ่งที่ตรีนุชกำลังทำไม่ใช่ “เสรีทรงผม” แต่คือ “สุญญากาศกฎทรงผม” การกระทำเช่นนี้เปิดทางให้โรงเรียนตั้งกฎทรงผมตามใจชอบ และถึงแม้จะต้องหาข้อตกลงระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียนเหมือนในกฎที่เพิ่งยกเลิกไป แต่สิ่งนี้ถูกขยับมาอยู่ในระดับของนโยบายเท่านั้น ซึ่งโรงเรียนสามารถที่จะทำตามหรือไม่ทำตามก็ได้ และที่สำคัญไม่มีคำว่า “กฎทรงผมของโรงเรียนต้องไม่ขัดแย้งกับกฎทรงผมของกระทรวง” ไว้คอยคุ้มกันหัวของพวกเราอีกแล้ว
ในไม่ช้าเราน่าจะเห็นโรงเรียนที่มีผู้บริหารบ้าอำนาจเริ่มนำกฎทรงผมเกรียน-ติ่งกลับมาใช้อีก และในโรงเรียนที่ยังมีกฎแบบนั้นอยู่ก็น่าจะบังคับใช้มันอย่างเข้มข้นขึ้น โดยรวมการประกาศนี้แทนที่จะสร้าง “เสรีทรงผม” ตามที่ตรีนุชพยายามกล่าวอ้าง กลับกลายเป็นฐานอำนาจในการบงการทรงผมบนหัวนักเรียนไทยให้ทวีความรุนแรงขึ้นยิ่งกว่าเดิม ตรีนุชได้อ้างว่าตนทำให้กฎทรงผมก้าวหน้า แต่ความเป็นจริง สิ่งที่เธอทำคือทำให้กฎทรงผมถอยหลังลงคลองมากกว่ายกเลิกกฎทรงผม
นักเรียนเลว เห็นต่าง ยกเลิกระเบียบ ศธ. ยกเลิกกฎทรงผมนักเรียน ลั่น ไม่ใช่ เสรีทรงผม แต่เป็น สุญญากาศกฎทรงผม คาดอนาคต เห็นผู้บริหารโรงเรียน บ้าอำนาจ นำกฎทรงผมเกรียน-ติ่ง กลับมาใช้
ที่มา ; เดลินิวส์ 24 มกราคม 2566
ข่าวเกี่ยวกัน
น.ร.หวั่นปลดล็อก ทำร.ร.เข้มงวดขึ้น ‘ตรีนุช’ ย้ำศธ.ไม่ตีกรอบเด็ก จ่อวางแนวนโยบายทรงผม
เมื่อวันที่ 25 มกราคม น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า กรณีทีาตนลงนามประกาศยกเลิกระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ.2563 และ ขณะนี้ ศธ.ได้ยกร่างแนวนโยบายเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนของสถานศึกษาไว้ เพื่อให้สถานศึกษากำหนดลักษณะทรงผมความสั้น-ยาว การดัด ย้อม ไว้หนวด ไว้เครา ได้ตามพันธกิจ บริบท และความเหมาะสมของแต่ละสถานศึกษานั้น เหตุที่ยกเลิกมาจากเสียงเรียกร้องให้มีการแก้ไขปรับปรุงระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการไว้ทรงผมมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ศธ.จึงพยายามหากลไก เพื่อให้แต่ละโรงเรียน แต่ละพื้นที่สามารถวางกฎระเบียบและจัดการการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ได้ และเพื่อให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข ศธ.จึงได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กรณีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียน ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ให้ความเห็นว่า รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดอาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 ประกอบกับมาตรา 39 (1) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 กำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดนำไปปฏิบัติได้ ตนจึงยกเลิกระเบียบดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับปัจจุบันมากขึ้น เพราะแต่ละโรงเรียนก็มีบริบท มีอัตลักษณ์ มีเป้าหมายการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างกันไป
น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อว่า เมื่อศธ.ให้อิสระกับโรงเรียนไปออกแนวปฏิบัติเรื่องทรงผมแล้ว ต่อไปโรงเรียนจะต้องนำเรื่องดังกล่าวไปหารือกับคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน เพื่อมาวางแนวปฏิบัติร่วมกันว่าโรงเรียนเรามีเป้าหมาย มีวิสัยทัศน์อะไร จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีความเข้มงวดในเรื่องของทรงผม เพราะ ศธ.มองว่าการจัดการศึกษาไม่ควรจะมีสูตรตายตัว ควรจะมีความยืดหยุ่น หลากหลาย และสอดรับกับบริบทของแต่ละโรงเรียน
อย่างโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีประมาณ 30,000 แห่ง แต่ละโรงเรียนก็จะมีเป้าหมาย มีวิสัยทัศน์ของตน การยกเลิกระเบียบว่าด้วยทรงนักเรียนไป โรงเรียนก็จะมีความยืดหยุ่นสามารถกำหนดระเบียบให้สอดคล้องกับบริบท อัตลักษณ์ของตนได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีนักเรียนกังวลเมื่อกระจายอำนาจให้โรงเรียน โรงเรียนอาจจะกำจัดสิทธิของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น เพราะอาจจะไปออกระเบียบที่เคร่งมากกว่าเดิม น.ส.ตรีนุช กล่าว่า การปลดล็อกครั้งนี้ ศธ.มีเป้าหมายและเจตนา คือ ไม่อยากให้เรื่องของทรงผมเป็นกรอบในการพัฒนาเยาวชน ไม่อยากให้เป็นกรอบในการเรียนรู้และจำกัดความสุขของเด็ก ซึ่งต่อไป ศธ.จะออกแนวนโยบายเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนของสถานศึกษาไว้ เพื่อที่จะให้โรงเรียนนำไปปฏิบัติตามได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า เด็กกังวลว่าต่อไปหากโรงเรียนออกกฎทรงผมที่เข้มมากขึ้น อาจจะมีการละเมิดสิทธิเด็ก และทำโทษเด็กด้วยการกล้อนผมมากขึ้น น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อว่า ตนมองว่าเป็นคนละเรื่องกัน เรื่องระเบียบทรงผมเป็นเรื่องหนึ่ง และเรื่องการลงโทษนักเรียนที่ครูอาจจะกล้อนผมนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ทั้งนี้ ศธ.มองว่าแนวทางการลงโทษนักเรียนด้วยหารกล้อนผมเป็นแนวทางที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ครูไม่ควรจะไปทำเช่นนั้นกับเด็ก ปกติแล้วเวลานักเรียนทำผิดโรงเรียนก็จะกำหนดการลงโทษไว้อยู่แล้วว่านักเรียนจะได้รับโทษแบบใด เช่น ทำความเข้าใจกับเด็ก เรียกพบทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง หรือหักคะแนนความประพฤติ เป็นต้น
ตัวแทนนักเรียนหญิง ชั้น ม.3 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.ชลบุรี กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่ น.ส.ตรีนุช ยกเลิกระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ.2563 และให้อำนาจโรงเรียนไปกำหนดแนวปฏิบัติ หรือระเบียบที่เกี่ยวกับทรงผมของตน เพราะโรงเรียนอาจจะออกระเบียบที่เข้มมากกว่าเดิม และเราจะไม่สามารถเรียกร้องสิทธิของเราได้มากพอ อยากให้ ศธ. ออกระเบีนบแบบกว้างๆ ว่าให้อิสระเรื่องทรงผม ให้นักเรียนไว้สั้น หรือยาว หรือทำสีม ได้ตามความเหมาะสมเพื่อให้โรงเรียนไปปฏิบัติตาม ดีกว่าให้โรงเรียนไปออกระเบียบเอง
“ถ้าให้โรงเรียนออกระเบียบทรงผมเอง ท้ายที่สุดแล้ว โรงเรียนก็จะพูดคุยกับอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง หารือผู้ปกครองเพื่อไปกำหนดระเบียบกันเอง ไม่มีการรับฟังความคิดเห็นนักเรียนแน่นอน กลัวว่า ถ้าโรงเรียนกำหนดระเบียบทรงผมเอง จะมีการตัดผม กล้อนผม ลงโทษเด็ก และลิดรอนสิทธิเด็กเพิ่มมากขึ้นแน่นอน ขนาดปัจจุบันที่มีระเบียบ ศธ. ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ.2563 ก็ยังเห็นข่าวครูตัดผม กล้อนผมเด็กอยู่เป็นประจำ” ตัวแทนนักเรียนกล่าว
ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 25 มกราคม 2566
ข่าวเกี่ยวกัน
‘นักเรียน’ ไม่เห็นด้วย กระจายอำนาจให้ ร.ร.ออกระเบียบทรงผม หวั่นถูกละเมิด-ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า การออกระเบียบทรงผมใหม่นี้ จะเป็นการยกเลิก ระเบียบทรงผม ปี2563 กระจายอำนาจให้สถานศึกษา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครองและนักเรียน ได้ร่วมตัดสินใจกำหนดรูปแบบทรงผมได้เอง โดยไม่มีการยึดติดกรอบเดิมที่ศธ. กำหนดไว้
“การกำหนดระเบียบทรงผมใหม่นี้ไม่ได้เป็นการลดแรงกดดัน กณีนักเรียนออกมาเรียกร้องให้แก้ไขระเบียบทรงผม แต่เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น ซึ่งต่อไปโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องสามารถกำหนดทรงผมนักเรียนเองได้ ตามความสมัครใจ หรือบางแห่งอาจกำหนดให้สอดคล้องบริบทของพื้นที่ ทั้งผมสั้น และผมยาว” นายอัมพร กล่าว
ด.ช.ณัฐพล นักเรียนชั้น ม.3 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน กทม. ตัวแทนกลุ่มนักเรียนมูฟออน กล่าวว่า กรณี น.ส.ตรีนุช ได้ลงนามการยกเลิกระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ.2563 และได้ยกร่างแนวนโยบายเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนของสถานศึกษาใหม่ โดยกระจายอำนาจให้สถานศึกษาพิจารณากำหนดระเบียบเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนได้นั้น ตนไม่เห็นด้วย หากกระจายอำนาจให้สถานศึกษาเป็นผู้กำหนดระเบียบทรงผม อาจจะมีการละเมิดสิทธิเด็ก ละเมิดสิทธิของนักเรียนเพิ่มขึ้น เพราะโรงเรียนอาจจะออกกฎระเบียบที่จำกัดสิทธิเด็กเสียเอง เช่น อาจจะกำหนดให้นักเรียนชายไว้ทรงทหาร หรือให้นักเรียนหญิงไว้ผมสั้น และหากพบนักเรียนไม่ปฏิบัติตาม ก็จะอาจจะกล้อนผม หรือลงโทษนักเรียน ซึ่งเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของนักเรียนอย่างมาก
ด.ช.ณัฐพล กล่าวต่อว่า แม้ในปัจจุบันที่โรงเรียนปฏิบัติตามระเบียบ ศธ. ว่าด้วยการไว้ทรงผลของนักเรียน พ.ศ. 2563 อยู่ แต่เราก็ยังเห็นข่าวนักเรียนถูกกล้อนผม ตัดผมอยู่เป็นประจำ หากกระจายอำนาจให้โรงเรียนจริงๆ ตนเชื่อว่าเราเห็นข่าวลักษณะนี้เพิ่มมากขึ้นแน่นอน
“ผมมองว่า รัฐมนตรีว่าการ ศธ. มีอำนาจสั่งการตามกฎหมายอยู่แล้ว ก็ควรกำหนดระเบียบทรงผมนักเรียนใหม่ให้โรงเรียนปฏิบัติตามดีกว่ากระจายอำนาจให้ โดยอาจจะกำหนดในระเบียบอย่างกว้างๆ เช่น นักเรียนทุกคนสามารถไว้ผมยาว และทรงผมตามต้องการได้ โดยทรงผมนั้นยังต้องคงความเป็นนักเรียนอยู่ ส่วนควรห้ามทำสีผม ดัดผม ไว้หนวด ไว้เคราหรือไม่นั้น ขอให้เป็นสิทธิของแต่ละบุคคลดีกว่า” ด.ช.ณัฐพล กล่าว
ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 25 มกราคม 2566
ข่าวเกี่ยวกัน
วิจารณ์สนั่น ศธ.ปัดความรับผิดชอบ โยนโรงเรียนคุมกฎ ‘ทรงผม’ ห่วงถูกกดด้วย ‘อำนาจนิยม’ ลิดรอนสิทธิ น.ร.ง่ายขึ้น
จากกรณีที่ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ลงนามในระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการยกเลิกระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ.2563 เหตุที่ยกเลิกเป็นผลจากเสียงเรียกร้องให้มีการแก้ไขปรับปรุงระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการไว้ทรงผมมาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญการลงโทษเรื่องทรงผมได้ส่งผลถึงร่างกายและจิตใจของนักเรียน ขณะนี้ ศธ.ได้ยกร่างแนวนโยบายเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนของสถานศึกษาไว้ ทั้งนี้ ให้สถานศึกษากำหนดลักษณะทรงผมความสั้น-ยาว การดัด ย้อม ไว้หนวด ไว้เครา ได้ตามพันธกิจ บริบท และความเหมาะสมของแต่ละสถานศึกษา
กรณีดังกล่าวทำให้เกิดเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวาง โดยมองว่า ไม่ใช่ “เสรีทรงผม” ตามที่กลุ่มนักเคลื่อนไหวพยายามเรียกร้อง รวมทั้งเสมือน ศธ.ปัดความรับผิดชอบให้แต่ละสถานศึกษากำหนดกรอบความเหมาะสมกันเอง ทว่าแต่ละแห่งอาจมี “มาตรฐาน” ไม่เหมือนกัน
น.ส.สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ส.ส.นครปฐม เขต 3 พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ระบุว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือกลับไปเป็นเหมือนเดิม โยนให้โรงเรียนออกระเบียบเอง ไม่เกี่ยวกระทรวงแล้ว บางโรงเรียนก็จะใช้ระบบอำนาจนิยมเหมือนเดิม จะเห็นได้ว่ารัฐมนตรี ศธ.ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิของนักเรียนเลย ไม่ได้สนใจเรื่องเสรีทรงผม จากระเบียบปี’63 ที่ดูก้าวหน้า ตอนนี้ถอยหลังอีกแล้ว
นายจักรกฤต โยมพยอม หรือ ครูทอม จักรกฤต ติวเตอร์สอนภาษาไทยชื่อดังและหนึ่งในผู้เคลื่อนไหวด้านการศึกษา มองว่า เห็นประกาศยกเลิกระเบียบกระทรวงเรื่องทรงผม อืม… เหมือนจะดี แต่ก็ยอมรับว่าเอ๊ะๆ นิดนึงแหละ อะเลยไปหาอ่านเพิ่มในเว็บกระทรวง ก็คือสรุปได้ว่ายกเลิกประกาศกฎเดิม แล้วเปิดโอกาสให้โรงเรียนออกกฎได้เองเลยจ้า คิดว่าจะมีกี่โรงเรียนเอ่ยที่ให้ความสำคัญกับสิทธิเด็ก
“แม้ว่าจะมีบอกว่า ก่อนโรงเรียนออกกฎอย่างเป็นทางการ ให้หารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (นักเรียน ผู้ปกครอง คนในชุมชน ฯลฯ) ก่อนนะ อะ แต่ที่ผ่านมา ก็มีระบุไว้แบบนี้เหมือนกัน ละถามว่าเป็นไงล่ะ ก็อย่างที่เห็นจ้า
“สรุปง่ายๆ คือถ้าโรงเรียนไหนออกกฎเรื่องทรงผม แปลว่าอย่ามาด่ากระทรวงค่าาาา โรงเรียนออกกฎเองค่า ไม่เกี่ยวกับกระทรวงค่าาาา คือถ้าจะให้ดีอะ กระทรวงต้องออกกฎมาว่าห้ามโรงเรียนบังคับเรื่องทรงผมจ้าาาาา” ครูทอมระบุ
ด้าน ด.ช.ณัฐพล นักเรียนชั้น ม.3 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน กทม. ตัวแทนกลุ่มนักเรียนมูฟออน กล่าวบางช่วงบางตอนว่า ตนไม่เห็นด้วย หากกระจายอำนาจให้สถานศึกษาเป็นผู้กำหนดระเบียบทรงผม อาจจะมีการละเมิดสิทธิเด็ก ละเมิดสิทธิของนักเรียนเพิ่มขึ้น เพราะโรงเรียนอาจจะออกกฎระเบียบที่จำกัดสิทธิเด็กเสียเอง เช่น อาจจะกำหนดให้นักเรียนชายไว้ทรงทหาร หรือให้นักเรียนหญิงไว้ผมสั้น และหากพบนักเรียนไม่ปฏิบัติตาม ก็จะอาจจะกล้อนผม หรือลงโทษนักเรียน ซึ่งเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของนักเรียนอย่างมาก
ขณะที่วานนี้ (24 มกราคม) กลุ่มนักเรียนเลว ยื่นข้อเรียกร้องให้ ศธ.แก้ไขสภาวะสุญญากาศทางกฎหมายจากการยกเลิกกฎกระทรวงต่อ น.ส.ตรีนุช โดยมีรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการและคณะมารับหนังสือ ข้อเรียกร้องมีใจความสำคัญ ดังนี้
1.กระทรวงศึกษาธิการต้องหยุดสภาวะสุญญากาศทางกฎหมายนี้ ด้วยการออกคำสั่งห้ามมิให้โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการออกระเบียบทรงผมของตนเองขึ้นโดยทันที เพื่อคุ้มครองนักเรียนจากการถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน นั่นคือสิทธิในการไว้ทรงผมของตนเอง
2.คณะรัฐมนตรีต้องเสนอแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 หรือแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 ให้มีการคุ้มครองและประกันศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของนักเรียน และกำหนดหลักการดำเนินงานอย่างชัดเจนมากขึ้น หรือออกมาตการทางกฎหมายใดๆ ให้ที่จะมั่นใจต่อสังคมได้ว่าโรงเรียนจะไม่มีการบังคับนักเรียนตัดผมอีกต่อไป และสามารถรับรองได้ว่าจะมีการรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนเป็นสำคัญ
3.คณะรัฐมนตรีต้องแก้ไขกฎหมายต่างๆ โดยให้การคุ้มครองและปฏิบัติตามสิทธิเด็กและสิทธิมนุษยชนเป็นสำคัญมากขึ้น เช่น ให้ทุกคณะกรรมการโรงเรียนต้องมีสัดส่วนของนักเรียนอยู่ด้วย เพื่อเป็นหลักประกันในการดุลอำนาจของฝ่ายนักเรียนต่อฝ่ายอื่นๆ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในเด็กและเยาวชนในการบริหารสถานศึกษา
นอกจากนี้ กลุ่มนักเรียนเลวได้ระบุทางทวิตเตอร์ @BadStudent_ ด้วยว่า กฎทรงผมถูกยกเลิกฟ้าผ่า โดยตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงไม่กี่เดือนก่อนจะเลือกตั้งใหญ่ แต่ภายใต้การยกเลิกกฎทรงผมของตรีนุชพยายามขายฝันนั้น กำลังทำให้หัวของเด็กไทยถูกกลืนกินไปมากกว่าเดิม
จากเหตุการณ์ในวันนี้ที่ ตรีนุช เทียนทอง ได้ลงนามยกเลิกกฎทรงผมของกระทรวง และโยนอำนาจการออกกฎทรงผมไปไว้ที่โรงเรียน แสดงให้เห็นว่าตรีนุชไม่ได้มีความต้องการที่จะทำให้เสรีทรงผมเกิดขึ้นในโรงเรียน และกำลังพยายามทำให้นักเรียนถูกบังคับตัดผมอย่างหนักหน่วงขึ้น
ที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีกฎทรงผมของกระทรวงบังคับใช้อยู่ แต่หลายโรงเรียนก็ยังบังคับนักเรียนตัดผมเป็นว่าเล่น จนเกิดการต่อสู้เรียกร้องขึ้นมากมาย ในวันนี้ที่กฎทรงผมของกระทรวงถูกยกเลิกไป ยิ่งทำให้โรงเรียนได้ใจและบังคับนักเรียนตัดผมได้อย่างอิสระโดยไร้การควบคุม
เราไม่ควรยินดีกับการยกเลิกกฎทรงผมในครั้งนี้ เพราะสิ่งที่ตรีนุชกำลังทำ ไม่ใช่ “เสรีทรงผม” แต่คือ “สุญญากาศกฎทรงผม” การกระทำเช่นนี้เปิดทางให้โรงเรียนตั้งกฎทรงผมตามใจชอบ และถึงแม้จะต้องหาข้อตกลงระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียนเหมือนในกฎที่พึ่งยกเลิกไป แต่สิ่งนี้ถูกขยับมาอยู่ในระดับของนโยบายเท่านั้น ซึ่งโรงเรียนสามารถที่จะทำตามหรือไม่ทำตามก็ได้ และที่สำคัญไม่มีคำว่า “กฎทรงผมของโรงเรียนต้องไม่ขัดแย้งกับกฎทรงผมของกระทรวง” ไว้คอยคุ้มกันหัวของพวกเราอีกแล้ว
ในไม่ช้าเราน่าจะเห็นโรงเรียนที่มีผู้บริหารบ้าอำนาจเริ่มนำกฎทรงผมเกรียน-ติ่งกลับมาใช้อีก และในโรงเรียนที่ยังมีกฎแบบนั้นอยู่ก็น่าจะบังคับใช้มันอย่างเข้มข้นขึ้น
โดยรวมการประกาศนี้แทนที่จะสร้าง “เสรีทรงผม” ตามที่ตรีนุชพยายามกล่าวอ้าง กลับกลายเป็นฐานอำนาจในการบงการทรงผมบนหัวนักเรียนไทยให้ทวีความรุนแรงขึ้นยิ่งกว่าเดิม ตรีนุชได้อ้างว่าตนทำให้กฎทรงผมก้าวหน้า แต่ความเป็นจริงสิ่งที่เธอทำคือทำให้กฎทรงผมถอยหลังลงคลองมากกว่า
ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 25 มกราคม 2566