ค้นหา

‘คุรุสภา’ พร้อมออก-ต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

มื่อวันที่ 17 มีนาคม นางอมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้เปิดให้ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรที่คุรุสภาให้การรับรองและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษายื่นคำขอรับใบอนุญาตและขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ .. 2565 ที่มีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยให้ยื่นผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ KSP Self-Service บริการตนเอง KSP School ผ่านสถานศึกษา และ KSP Bundit ผ่านมหาวิทยาลัย ทั้งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครูใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้นใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์  ซึ่งในส่วนของผู้ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรที่คุรุสภารับรอง ต้องยื่นขอขึ้นทะเบียนใบอนุญาตผ่านระบบKSP Self-Service เท่านั้น ทั้งนี้ ขอให้ผู้สำเร็จการศึกษาสมัครเข้าใช้บริการ KSP Self-Service ก่อน เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการขอรับใบอนุญาต   

“ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป เป็นการเปิดระบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามข้อบังคับใหม่ครั้งแรก จึงขอให้ผู้ที่มีความประสงค์ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทุกประเภทศึกษาข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ .. 2565 ,ประกาศคณะกรรมการคุรุสภาเรื่อง กำหนดแบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ..2566 และระเบียบสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ว่าด้วยการขอรับใบอนุญาตและการขอต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ .. 2565 อย่างละเอียด เพื่อจะได้ตรวจสอบคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และเอกสารหลักฐานที่ต้องแนบประกอบคำขอต่อเลขาธิการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบสารสนเทศของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง โดยเฉพาะการขอใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู (P-License) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น (B-License) และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง (A-License) ซึ่งในข้อบังคับใหม่นี้ได้กำหนดลักษณะต้องห้ามว่า ผู้ยื่นคำขอต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ 1. เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี 2. เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และ 3. เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ”  นางอมลวรรณ กล่าว 

นางอมลวรรณ กล่าวต่อไปว่า ขอย้ำว่าผู้ที่มีสิทธิ์ที่จะขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาที่คุรุสภาให้การรับรอง โดยเข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด รวมทั้งไม่มีลักษณะต้องห้าม เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาแล้ว มหาวิทยาลัยจะนำรายชื่อเข้าสู่ระบบและขอให้ทุกคนเข้าไปตรวจสอบ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบผ่านแล้วทุกคนจะได้ P-License ซึ่งสามารถนำ P-license ไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู หรือใช้สมัครสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้ สำหรับผู้ที่สอบผ่านเกณฑ์การทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูครบตามที่คุรุสภากำหนด สามารถขอขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้นได้ 

างอมลวรรณ กล่าวด้วยว่า สำหรับผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูรูปแบบเดิม ก็ยังใช้ใบอนุญาตฉบับเดิมนั้นได้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุ และให้ดำเนินขอต่ออายุใบอนุญาตฯ โดยสามารถยื่นคำขอได้ภายใน 180 วัน ก่อนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจะหมดอายุ และเมื่อผ่านการอนุมัติให้ต่อใบอนุญาตแล้วจะได้ B-License ส่วนการขอรับ A-License ต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาต B-License หรือใบอนุญาตรูปแบบเดิมอยู่แล้วและมีวิทยฐานะตั้งแต่ระดับชำนาญการ หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือผ่านเกณฑ์การประเมินตามระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่าน Call Center: 0-2304 -9899 หรือติดต่อสอบถามได้ที่พนักงานเจ้าหน้าที่คุรุสภาในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ที่สมาชิกสังกัดทั่วประเทศหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติม  ผ่านทางเว็บไซต์คุรุสภา www.ksp.or.th 

ข่าวเกี่ยวกัน

ชี้คุรุสภาลักลั่นให้สอบเฉพาะ ‘ใบครู’ หลัง ‘ผู้บริหาร-ศึกษานิเทศก์’ ไม่ต้องทดสอบ

 

รศ.ดร.เอกชัยกล่าวต่อว่า เมื่อคนกลุ่มนี้เข้ารับการอบรม 7 โมดูล ตามที่คุรุสภากำหนด สามารถเทียบความรู้ และผ่านการรับรองความรู้จนได้รับ P-License สามารถไปปฏิบัติหน้าที่ครูในสถานศึกษารัฐ และเอกชนได้ อีกทั้ง สามารถเข้ารับการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู เพื่อขอรับ B-License ต่อไปได้ แต่คำถามที่ตามมาคือ เมื่อคนเหล่านี้สอบ B-License ไม่ผ่าน จะได้รับการยกเว้นผ่อนผันขอต่อ P-License ได้อีกหรือไม่ เพราะถ้าคนกลุ่มนี้ไม่ได้รับการยกเว้นผ่อนผัน ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนคือโรงเรียน ที่อาจไม่มีครูสอนนักเรียน ซึ่งหมายความว่าต่อไป การยกเว้นผ่อนผัน จะไม่มีลิมิตเวลาใช่หรือไม่ มองว่าหากจะให้คนกลุ่มนี้ได้รับการยกเว้นผ่อนผัน ควรกำหนดว่าจะต้องสอบวิชาความเป็นครูให้ผ่านก่อน ถึงจะได้รับการผ่อนผัน เพราะถ้าให้ยกเว้นผ่อนผันเลย จะมั่นใจอย่างไรว่าคนกลุ่มนี้เข้าใจวิชาชีพ และมีจิตวิทยาความเป็นครู 

ผมมองว่าคุรุสภายังไม่ได้มองภาพรวมทั้งหมด ว่าจะมีปัญหาอะไรตามมาบ้าง ไม่ควรคิดอะไรเป็นท่อนๆ และค่อยๆ แก้ปัญหา นอกจากนี้ ผมมองว่าที่คุรุสภาออกข้อบังคับว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2565 โดยต่อไปใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 4 ประเภท คือ 1.ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 2.ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา 3.ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา และ 4.ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 มีนาคมนี้ แต่ในข้อบังคับกลับกำหนดว่า ผู้ที่ต้องการรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จะต้องเข้ารับทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูเท่านั้น ในขณะที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ (ศน.) กลับไม่ต้องทดสอบใดๆ เพื่อขอรับใบอนุญาต ถือเป็นความลักลั่นหรือไม่ คุรุสภาซึ่งเป็นหน่วยงานที่ควบคุมวิชาชีพ ควรจะมีความเป็นธรรมทั้งระบบ ควรจะจัดทดสอบทั้งหมด เพราะอาชีพเหล่านี้ถือเป็นวิชาชีพควบคุม” รศ.ดร.เอกชัยกล่าว 

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ผศ.ดร.อมลวรรณ  วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2565 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา   เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 และมีผลบังคับใช้ 15 มีนาคม 2566 มีสาระสำคัญ ดังนี้

 

1. ยกเลิกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2559 และข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2562

2. ปรับปรุงการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จากเดิมออก “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” ฉบับเดียว เป็น “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” ที่มีการจำแนกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

2.1 ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู (Provisional Teaching License : P-License)  ผู้ที่ขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครูจะต้องมีคุณสมบัติ  1) มีคุณวุฒิทางปริญญาทางการศึกษาที่คุรุสภารับรอง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป (โดยยังไม่ต้องมีผลการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู)  2) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (ตามหลักเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด)  ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู มีอายุ 2 ปี นับตั้งแต่วันออกใบอนุญาต

2.2  ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น (Basic Teaching License : B-License) ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น จะต้องมีคุณสมบัติ 1) มีคุณวุฒิทางปริญญาทางการศึกษาที่คุรุสภารับรอง  2) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (ตามหลักเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนด)  3) ผ่านการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาคุณวุฒิจากต่างประเทศจะต้องขอรับรองคุณวุฒิก่อนขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น มีอายุ 5 ปี นับตั้งแต่วันออกใบอนุญาต

2.3 ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง (Advanced Teaching License : A-License) ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง จะต้องมีคุณสมบัติ 1) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น 2) ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับคุณภาพตามที่คุรุสภากำหนด หรือ มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (เดิม) และมีวิทยฐานะชำนาญการหรือเทียบเท่าขึ้นไป ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง มีอายุ 7 ปี นับตั้งแต่วันออกใบอนุญาต

3. ใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครูสิ้นสุดลงเมื่อเปลี่ยนเป็น “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น” ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้นสิ้นสุดลงเมื่อเปลี่ยนเป็น “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง” การขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้นและชั้นสูง ต้องขอตามกลุ่มวิชาและสามารถขอรับได้มากกว่าหนึ่งกลุ่มวิชา

4. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์  จะต้องมีคุณสมบัติ 1) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น หรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง 2) มีความรู้และประสบการณ์ตามที่คุรุสภากำหนด

5. ค่าธรรมเนียมการขอรับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์  ฉบับละ 500 บาท

6. การต่ออายุใบอนุญาตทุกประเภท ต้องดำเนินการต่ออายุภายใน 180 วัน ก่อนวันที่ใบอนุญาตจะหมดอายุ พร้อมเอกสารหลักฐานและชำระค่าธรรมเนียมฉบับละ 200 บาท กรณียื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตล่าช้าหลังจากวันที่ใบอนุญาตหมดอายุแล้ว ให้ชี้แจงเหตุผลและชำระค่าดำเนินการต่ออายุล่าช้าเดือนละ 200 บาทแต่ไม่เกิน 2,000 บาท นับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ใบอนุญาตหมดอายุถึงวันที่ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต (ระยะเวลานับได้ไม่ถึงหนึ่งเดือนนับเป็นหนึ่งเดือน และต้องดำเนินการต่ออายุใบอนญาตจนกว่าใบอนุญาตจะมีอายุใช้ได้)

7. การขอให้ออกใบอนุญาตหรือต่ออายุใบอนุญาต กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน สามารถยื่นคำร้องต่อเลขาธิการคุรุสภาใน 3 กรณี 1) สมัครสอบและจะหมดระยะเวลาการรับสมัคร 2) เรียกตัวบรรจุแต่งตั้งที่ต้องมีใบอนุญาตในวันที่บรรจุแต่งตั้ง 3) ต่อสัญญาจ้าง ค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตหรือต่ออายุใบอนุญาต กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน ฉบับละ 1,000 บาท

8. การแก้ไขข้อมูลทางทะเบียน ให้ยื่นคำขอและหลักฐาน พร้อมชำระค่าธรรมเนียมครั้งละ 100 บาท

9. ค่าธรรมเนียมและค่าดำเนินการทุกประเภท คุรุสภาจะไม่คืนเงินให้ผู้ยื่นคำขอหรือคำร้องทุกกรณี

 

บทเฉพาะกาล

1. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  เทียบเท่า  “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น”  (ข้อ 35)

2. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูประกอบกับมีวิทยฐานะชำนาญการขึ้นไป เทียบเท่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง” (ข้อ 35)

3. คำขอที่ยื่นก่อนข้อบังคับนี้ ให้ดำเนินการตามที่กำหนดในข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562  (ข้อ 36)

4. การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น ให้ยกเว้นการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพสำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติข้อหนึ่งข้อใด ดังนี้     (ข้อ 37)

(1) สำเร็จการศึกษาปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางการศึกษา ที่คุรุสภารับรองและเข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา 2562 หรือผู้ได้สิทธิในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ก่อนข้อบังคับนี้

(2) สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษาเปิดสอนอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.  2546 ใช้บังคับ

(3) ผ่านการรับรองความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพ ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอนและผ่านการประเมินปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาครบหนึ่งปีต่อเนื่อง ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565

(4) ปริญญาอื่นที่ผ่านการรับรองคุณวุฒิจากคุรุสภาและเป็นคุณวุฒิที่เข้าศึกษาก่อนปีการศึกษา 2562

(5) ครูซึ่งเป็นสมาชิกคุรุสภาตามพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 และเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น อยู่ก่อนพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ใช้บังคับ และยังมิได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามตำแหน่งที่ประกอบวิชาชีพ

5. การขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาหรือประกาศนียบัตรบัณฑิตที่คุรุสภารับรองและเข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 ถึง 2565 ให้ยกเว้นการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครูในวิชาเอก  (ข้อ 38)

6. ให้คุรุสภาออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์ ให้แก่ครูซึ่งเป็นสมาชิกคุรุสภาตามพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 และผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่นอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ใช้บังคับ และยังมิได้รับใบอนุญาตตามตำแหน่งที่ประกอบวิชาชีพ  (ข้อ39)

7. ผู้มีสิทธิตามมาตรา 84 และ 85 แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ประสงค์ขอให้ออกใบอนุญาตนับแต่วันที่มีสิทธิสามารถกระทำได้ โดยถือเป็นกรณีดำเนินการล่าช้า ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมและค่าดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้   (ข้อ 40)

ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2565

 

ที่มา ; สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

ความเห็นของผู้ชม

 แสดงความคิดเห็น