เงินบำเหน็จชราภาพ เป็นสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ตามมาตรา 33 (ผู้ที่ทำงานประจำ) สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน โดยสามารถติดต่อขอเลือกรับสิทธิเงินชราภาพ ในรูปแบบเงินบำเหน็จชราภาพ หรือเงินบำนาญชราภาพ (แล้ว
แต่กรณี)ตามเงื่อนไขและระยะเวลาการส่งเงินสมทบกรณีชราภาพที่ได้ออมไว้ขณะเป็นผู้ประกันตน
ซึ่งตามที่ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศสำนักงานประกันสังคม อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพผู้ประกันตน ม.33, 39 ซึ่งมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2566 เป็นต้นมา
โดยประกาศฉบับนี้มีสาระสำคัญระบุว่า ผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพให้คำนวณจ่ายใน อัตราร้อยละ 3.46 ต่อปี จากเดิมในปี 2565 ให้คํานวณจ่ายในอัตราร้อยละ 2.83 ต่อปีของเงินสมทบสุทธิและผลประโยชน์ตอบแทนสะสมรวมกัน
ในกรณีที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่มีอายุครบ 55 ปี และปัจจุบันมีสถานะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแล้ว ให้ตรวจสอบสิทธิการได้รับบำเหน็จ หรือบำเหน็จชราภาพ พร้อมกับยื่นขอรับเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด
สำหรับช่องทางการตรวจสอบสิทธิและยอดเงินสมทบชราภาพ หากไม่สะดวกเดินทางไปยังสำนักงานประกันสังคม ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบผ่านช่องทางออนไลน์ได้ 3 ช่องทาง คือ เว็บไซต์ของ สปส. www.sso.go.th, แอปพลิเคชั่น SSO Connect สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ iOS และ Android และ LINE Official Account ของ สปส. @ssothai
ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบและทราบสิทธิที่จะได้รับแล้วสามารถยื่นขอรับบำเหน็จ หรือ บำเหน็จชราภาพ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด โดยใช้เอกสารเป็นบัตรประชาชนตัวจริง และกรอกใบคำขอ สปส.2-01 หรือ SSO.2-01 พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ที่จะรับโอนเงิน
อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกันตนมีบัญชีพร้อมเพย์ที่ใช้เลขบัตรประชาชนผูกกับบัญชีออมทรัพย์ สามารถแจ้งขอรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ไปพร้อมการยื่นคำร้องได้ โดยไม่ต้องใช้สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร (บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ไม่สามารถใช้ได้)
สิทธิผู้ประกันตนกรณีชราภาพแยกเป็น 2 กรณี
1.รับบำเหน็จชราภาพ ได้แก่ ผู้จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ซึ่งจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตนที่จ่ายให้กับสำนักงานประกันสังคม แต่หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนของผู้ประกันตน รวมกับส่วนของนายจ้างที่จ่ายเงินสมทบให้และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปี
2.กรณีรับบำนาญชราภาพ ได้แก่ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนตลอดชีวิต ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินค่าจ้าง (ไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และกรณีที่จ่ายเกินกว่า 180 เดือนจะเพิ่มอัตราการจ่ายเงินบำนาญให้อีกร้อยละ 1.5 ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ 12 เดือน
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ผู้รับบำนาญชราภาพเสียชีวิตลงระหว่างรับบำนาญชราภาพยังไม่ถึง 60 เดือน ที่ทายาทสามารถติดต่อเพื่อรับบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนได้ โดยสามารถดูข้อเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หรือสอบถามที่สายด่วน สปส.1506 ตลอด 24 ชั่วโมง
ที่มา ; EJAN
ข่าวเกี่ยวกัน
ประกาศใหม่ ผลประโยชน์ตอบแทนบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตน ม.33,39
อัตราการจ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทน หลังมีประกาศสำนักงานประกันสังคมเรื่องอัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 18 มีนาคม 2566 เป็นต้นมา
20 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักงานประกันสังคม อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพผู้ประกันตน ม.33, 39 ซึ่งมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2566 เป็นต้นมา โดยประกาศฉบับนี้มีสาระสำคัญระบุว่า ผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพให้คำนวณจ่ายใน อัตราร้อยละ 3.46 ต่อปี จากเดิมในปี 2565 ให้คํานวณจ่ายในอัตรา ร้อยละ 2.83 ต่อปีของเงินสมทบสุทธิและผลประโยชน์ตอบแทนสะสมรวมกัน
เมื่ออายุครบ 55 ปี อย่าลืมเช็กสิทธิ
ในกรณีที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ที่มีอายุครบ 55 ปี และปัจจุบันมีสถานะสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนแล้ว ให้ตรวจสอบสิทธิการได้รับบำเหน็จ หรือบำเหน็จชราภาพ พร้อมกับยื่นขอรับเงิน ณ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด
สำหรับช่องทางการตรวจสอบสิทธิและยอดเงินสมทบชราภาพ หากไม่สะดวกเดินทางไปยังสำนักงานประกันสังคม ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบผ่านช่องทางออนไลน์ได้ 3 ช่องทาง คือ เว็บไซต์ของ สปส. www.sso.go.th, แอปพลิเคชั่น SSO Connect สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ iOS และ Android และ LINE Official Account ของ สปส. @ssothai
ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบและทราบสิทธิที่จะได้รับแล้วสามารถยื่นขอรับบำเหน็จ หรือ บำเหน็จชราภาพ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัด โดยใช้เอกสารเป็นบัตรประชาชนตัวจริง และกรอกใบคำขอ สปส.2-01 หรือ SSO.2-01 พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ที่จะรับโอนเงิน
อย่างไรก็ตาม หากผู้ประกันตนมีบัญชีพร้อมเพย์ที่ใช้เลขบัตรประชาชนผูกกับบัญชีออมทรัพย์ สามารถแจ้งขอรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ไปพร้อมการยื่นคำร้องได้ โดยไม่ต้องใช้สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร (บัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับหมายเลขโทรศัพท์ไม่สามารถใช้ได้)
สิทธิผู้ประกันตนกรณีชราภาพแยกเป็น 2 กรณี
1.รับบำเหน็จชราภาพ ได้แก่ ผู้จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ซึ่งจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตนที่จ่ายให้กับสำนักงานประกันสังคม แต่หากจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนของผู้ประกันตน รวมกับส่วนของนายจ้างที่จ่ายเงินสมทบให้และผลประโยชน์ตอบแทนประจำปี
2.กรณีรับบำนาญชราภาพ ได้แก่ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนตลอดชีวิต ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินค่าจ้าง (ไม่เกิน 15,000 บาท) เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง และกรณีที่จ่ายเกินกว่า 180 เดือนจะเพิ่มอัตราการจ่ายเงินบำนาญให้อีกร้อยละ 1.5 ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก ๆ 12 เดือน
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ผู้รับบำนาญชราภาพเสียชีวิตลงระหว่างรับบำนาญชราภาพยังไม่ถึง 60 เดือน ที่ทายาทสามารถติดต่อเพื่อรับบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนได้ โดยสามารถดูข้อเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หรือสอบถามที่สายด่วน สปส.1506 ตลอด 24 ชั่วโมง
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักงานประกันสังคม อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตน ม.33,39 มีผลบังคัยใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป
วันที่ 17 มีนาคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 ลงนามโดยนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม
ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดอัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพและวิธีการในการคำนวณจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 (2) ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พ.ศ. 2550 เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ1. ประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป)
ข้อ 2. เงินสมทบสุทธิ หมายถึง เงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ
ข้อ 3. การคำนวณจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพให้แก่ผู้มีสิทธิ ให้คำนวณจ่ายถึงวันที่มีสิทธิ ตามหลักเกณฑ์ในข้อ 7 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พ.ศ. 2550
ข้อ 4. ผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ให้คำนวณจ่ายในอัตราร้อยละสามจุดสี่หกต่อปีของเงินสมทบสุทธิและผลประโยชน์ตอบแทนสะสมรวมกัน
ข้อ 5. อัตราผลประโยชน์ตอบแทนตามข้อ 4 ให้ใช้ในการคำนวณจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ จนกว่าสำนักงานประกันสังคมจะออกประกาศเปลี่ยนแปลง
ที่มา ; ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 21 มีนาคม 2566