หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566 ไป เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ที่ผ่านมา เนื้อหาหลักในกฎหมายฉบับใหม่ ได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อทวีค่าเงินออมให้แก่สมาชิกทั้งหมด 5 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
สามประเด็นแรกเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค. 66 ที่ผ่านมา ได้แก่
· สมาชิก กบข. สามารถออมเพิ่มได้สูงสุด 27% ของเงินเดือน เมื่อรวมกับเงินสะสม 3% จะสามารถออมกับ กบข. ได้สูงสุดถึง 30% จากเดิม ที่ออมเพิ่มได้สูงสุดเพียง 12% เท่านั้น
· เมื่อสมาชิกเลือกหรือเปลี่ยนแผนการลงทุน จะมีผลต่อเงินทุกประเภทในบัญชีรายบุคคล ประกอบด้วย เงินสะสม เงินออมเพิ่ม (ถ้ามี) เงินสมทบ เงินชดเชย และเงินประเดิม (ถ้ามี) จากเดิม เงินประเดิม (ถ้ามี) และเงินชดเชย จะถูกกำหนดให้ลงทุนในแผนหลัก สมาชิกจะไม่สามารถเลือกแผนการลงทุนได้
· สมาชิก กบข. ที่บรรจุใหม่ หากไม่ใช้สิทธิเลือกแผนการลงทุน กบข. จะกำหนดแผนการลงทุนเริ่มแรกเป็นแผนสมดุลตามอายุ จากเดิม สมาชิกบรรจุใหม่จะถูกกำหนดให้อยู่ในแผนหลัก
สองประเด็นต่อมา จะมีผลบังคับใช้เมื่อคณะกรรมการ กบข. ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดแล้ว
· สมาชิก กบข. สามารถโอนย้ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาให้ กบข. บริหารได้
· ผู้ออมต่อกับ กบข.สามารถเลือกเปลี่ยนแผนการลงทุนได้ จากเดิมถูกกำหนดให้ลงทุนในแผนเดิมก่อนออกจากราชการ
การแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้ กบข. ดำเนินการภายใต้ความต้องการของสมาชิกเป็นหลัก และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสมาชิกจะได้รับประโยชน์สูงสุดในการเพิ่มโอกาสทวีค่าเงินออมกับ กบข. จึงได้บรรจุการทำงานแก้ไขกฎหมายไว้ในแผนยุทธศาสตร์ กบข. พร้อมทั้งผลักดันให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ให้เร็วที่สุด และในระหว่างที่รอกฎหมายมีผลบังคับใช้นั้น กบข. ได้พัฒนาระบบหลังบ้านควบคู่กันไป เพื่อเตรียมความพร้อมให้สมาชิกสามารถใช้บริการได้ทันทีเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook กบข. หรือ LINE กบข. @gpfcommunity หรือศูนย์บริการข้อมูลสมาชิก โทร. 1179
ที่มา ; เดลินิวส์ 2 มีนาคม 2566
เกี่ยวข้องกัน
สมาชิกสามารถออมกับ กบข. สูงสุด 30% ได้แล้ววันนี้
เดิมสมาชิกนำส่งเงินสะสมภาคบังคับ 3% ของเงินเดือน และสามารถเลือกอัตราออมเพิ่มภาคสมัครใจได้ตั้งแต่ 1-12% รวมเป็น 15% ของเงินเดือน ซึ่งเมื่อการแก้ไขกฎหมาย กบข. มีผลบังคับใช้ สมาชิกจะสามารถเลือกอัตราการออมเพิ่มได้ตั้งแต่ 1-27% รวมเป็น 30% ของเงินเดือน และสามารถเพิ่มหรือลดอัตราการออมเพิ่มได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ขึ้นอยู่กับแนวปฏิบัติที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดของสมาชิกกำหนด
ประโยชน์ของการแก้ไขกฎหมาย กบข. ให้สมาชิกสามารถออมกับ กบข. ได้สูงสุด 30%
1. ออมเพิ่ม เงินเกษียณยิ่งเพิ่ม
เพราะจะทำให้มีเงินต้นเพิ่มมากขึ้นจากเงินออมที่นำส่งมาในแต่ละเดือนตลอดช่วงระยะเวลาที่เป็นสมาชิก และเมื่อ กบข. นำเงินไปลงทุนให้ดอกผลงอกเงยก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสทวีค่าเงินออมของสมาชิกได้มากขึ้น
2. ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มมากขึ้น
เพราะเงินที่สมาชิกออมตามกฎหมาย 3% บวกกับเงินออมเพิ่ม 1-27% สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ทั้งจำนวน
ทั้งนี้ เมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF) หรือกองทุนอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และประกันบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
3. มีเงินเพียงพอไว้ใช้ในยามเกษียณ
เพราะการออมเพิ่มจะเป็นตัวช่วยในการวางแผนการออมระยะยาวเพื่อการเกษียณได้เป็นอย่างดี โดยสมาชิกควรตั้งเป้าหมายก่อนว่าตนเองควรจะมีเงินไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณเท่าไหร่จึงจะเพียงพอ และต้องไม่ลืมคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อซึ่งจะทำให้มูลค่าเงินออมลดลงในอนาคต
กบข. ขอแนะนำให้สมาชิกทดลองใช้ตัวช่วยประมาณการว่าควรออมเพิ่มกี่% เพื่อให้เงิน กบข. ที่คาดว่าจะได้รับ ณ วันเกษียณ เป็นไปตามเป้าหมายที่ประมาณการไว้ ที่เมนู “My GPF & My GPF Twins” บน My GPF Application
ออมเพิ่ม เริ่มได้เลย สามารถแจ้งความประสงค์ใช้บริการออมเพิ่ม ผ่านช่องทางออนไลน์ของ กบข. ได้ที่เมนู ”ออมเพิ่ม”
• My GPF Application ดาวน์โหลดหรืออัปเดตแอป
คลิก https://gpf-cdn.azureedge.net/.../statement/mygpf2565.html
• LINE กบข. @gpfcommunity คลิก https://lin.ee/pg7w6hn
• My GPF Website คลิก https://mygpf.gpf.or.th
หรือแจ้งออมเพิ่มด้วยตนเองที่หน่วยงานต้นสังกัด โดยกรอกแบบฟอร์ม แบบ กบข. อพ.001/1/2566
ที่มา ; FB กบข.
เกี่ยวข้องกัน
ข้อควรรู้สำคัญเกี่ยวกับข้อมูลและสิทธิประโยชน์การเป็นสมาชิก กบข.
1. เมื่อเข้าเป็นสมาชิก กบข. หน่วยงานต้นสังกัดจะหักเงินสะสมจากเงินเดือน 3% พร้อมเบิกเงินสมทบ 3% และเงินชดเชย 2% จากภาครัฐนำส่งเข้า กบข. ทุกเดือน
2. สมาชิกออมเพิ่มกับ กบข. ตามความสมัครใจ 1-27% ของเงินเดือน
3. สมาชิกควรรักษาสิทธิในการบริหารเงินออมที่นำส่ง กบข. ด้วยการเลือกแผนการลงทุนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ตั้งแต่วันที่แรกเข้าเป็นสมาชิกเพื่อให้ กบข. นำเงินไปลงทุนตามแผนการลงทุนที่เลือก หากสมาชิกไม่ได้เลือกแผนการลงทุน กบข.จะกำหนดแผนการลงทุนให้ดังนี้
- กรณีเข้าเป็นสมาชิกก่อน 20 มีนาคม 2566 กำหนดเป็น “แผนหลัก”
- กรณีเข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 20 มีนาคม 2566 กำหนดเป็น “แผนสมดุลตามอายุ”
ศึกษารายละเอียดแผนสมดุลตามอายุที่นี่ https://www.gpf.or.th/thai2019/2Member/main.php?page=8...
ศึกษาแต่ละแผนการลงทุน กบข. ได้ที่นี่ https://www.gpf.or.th/.../2Member/FundFactSheet_25651231.pdf
4. สมาชิกสามารถโอนย้ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาให้ กบข. บริหารได้ (ถ้ามี) ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
5. สมาชิกติดตามข่าวสารและสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากการเป็นสมาชิก และดูยอดเงินนำส่งเข้า กบข. ได้ที่ My GPF Application และ LINE กบข.
• My GPF Application ดาวน์โหลดหรืออัปเดตแอป กดที่นี่ https://gpf-cdn.azureedge.net/.../statement/mygpf2565.html
• LINE กบข. @gpfcommunity เพิ่มเพื่อนและลงทะเบียน กดที่นี่ https://lin.ee/pg7w6hn
6. เมื่อสมาชิกออกจากราชการจะถือว่าสิ้นสุดการเป็นสมาชิกโดยสมาชิกจะได้รับเงิน 2 ส่วน ดังนี้
- เงินก้อนจาก กบข. ทั้งเงินต้น และผลประโยชน์ที่ได้จากการลงทุน
- เงินบำเหน็จ หรือเงินบำนาญ จากภาครัฐตามสิทธิ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Contact Center โทร. 1179 หรือทักแชท LINE กบข. @gpfcommunity สอบถามเจ้าหน้าที่ได้ทุกวัน
ที่มา ; FBกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)