ค้นหา

‘ก.ค.ศ.’ รับลูกรื้อระบบสอบครูผู้ช่วย ชงตั้ง ‘ศูนย์ออกข้อสอบ’

นายประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า ตามที่นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เสนอปรับระบบการจัดสอบการจัดสอบสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยให้สำนักงานก.ค.ศ. เป็นหน่วยงานกลางจัดสอบภาค ก และภาค ข ปีละ 2 ครั้ง เช่นเดียวกันการสอบรับข้าราชการของ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หากโรงเรียนใด มีอัตราว่าง ประกาศรับ ก็นำคะแนนไปยื่น เพื่อสอบภาค ค ได้ทันที นั้น ส่วนตัวตนเห็นด้วยกับการดำเนินการดังกล่าว และที่ผ่านมาสำนักงานก.ค.ศ. เคยเสนอของบประมาณเพื่อจัดตั้งศูนย์จัดสอบ ของสำนักงานก.ค.ศ. แล้ว แต่ไม่ได้รับการอนุมัติจากทางสำนักงบประมาณ 

ก.ค.ศ. เองก็เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว และกว่า 3 ปีที่ผ่านมา มีความพยายามของบประมาณ เพื่อจัดทำศูนย์ข้อสอบ ของก.ค.ศ. แต่ไม่ได้รับงบ ซึ่งผมเอง ยืนยันเรื่องการจัดทำข้อสอบกลาง เพื่อให้การจัดสอบมีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ และให้โรงเรียน ที่ต้องการใช้อัตราครู เปิดรับสมัครเพื่อสอบภาค ค ด้วยตัวเอง หากทำเช่นนี้จะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความโปร่งใส เป็นธรรม การออกข้อสอบที่ได้มาตรฐาน รวมถึง จะแก้ปัญหาขาดแคลนครูในอนาคต เพราะผู้เข้าสอบ สามารถเลือกสมัครสอบภาค ค ในโรงเรียนที่ต้องการได้ ช่วยลดปัญหาการโยกย้าย ซึ่งส่วนตัว คิดว่า ข้อเสนอนี้ เป็นแนวทางที่ควรทำอย่างยิ่ง สำนักงานก.ค.ศ. อยากทำระบบนี้มานานแล้ว แต่ปัญหาเรื่องงบประมาณ และต่อมามีข้อเสนอเรื่องการกระจายอำนาจไปให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ฯ ดำเนินการจัดสอบอีก จึงยังไม่สามารถ ดำเนินการได้ ” นายประวิต กล่าว 

เลขาธิการก.ค.ศ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สำนักงานก.ค.ศ. เคยยื่นของบไปประมาณ 60 ล้านบาท ในการพัฒนาข้อสอบให้ได้มาตรฐาน และใช้สำหรับดำเนินการจัดสอบ ซึ่งถือว่า ไม่ได้มากแต่ก็ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ และจะถูกตัดทุกครั้งที่ขอไป โดยก.ค.ศ. ได้รับงบประมาณ ปีละประมาณ 200 ล้านบาท ที่ผ่านมา ตนพยายามขยับของบเพิ่มปีละ 15% หรือประมาณ ปีละ กว่า 20 ล้านบาท และที่ผ่านมา สำนักงานก.ค.ศ. ก็ทุ่มงบไปกับการปรับระบบการประเมิน ขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ ทำให้งบที่ขอเพิ่มเพื่อตั้งศูนย์จัดสอบถูกตัดไปโดยปริยาย ซึ่งหากรัฐบาลใหม่เข้ามา และมีนโยบายขัดเจนในเรื่องนี้ ตนก็พร้อมดำเนินการ 

ก.ค.ศ. เองก็เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว และกว่า 3 ปีที่ผ่านมา มีความพยายามของบประมาณ เพื่อจัดทำศูนย์ข้อสอบ ของก.ค.ศ. แต่ไม่ได้รับงบ ซึ่งผมเอง ยืนยันเรื่องการจัดทำข้อสอบกลาง เพื่อให้การจัดสอบมีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ และให้โรงเรียน ที่ต้องการใช้อัตราครู เปิดรับสมัครเพื่อสอบภาค ค ด้วยตัวเอง หากทำเช่นนี้จะสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความโปร่งใส เป็นธรรม การออกข้อสอบที่ได้มาตรฐาน รวมถึง จะแก้ปัญหาขาดแคลนครูในอนาคต เพราะผู้เข้าสอบ สามารถเลือกสมัครสอบภาค ค ในโรงเรียนที่ต้องการได้ ช่วยลดปัญหาการโยกย้าย ซึ่งส่วนตัว คิดว่า ข้อเสนอนี้ เป็นแนวทางที่ควรทำอย่างยิ่ง สำนักงานก.ค.ศ. อยากทำระบบนี้มานานแล้ว แต่ปัญหาเรื่องงบประมาณ และต่อมามีข้อเสนอเรื่องการกระจายอำนาจไปให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ฯ ดำเนินการจัดสอบอีก จึงยังไม่สามารถ ดำเนินการได้ ” นายประวิต กล่าว 

ก.ค.ศ.’ รับลูกรื้อระบบสอบครูผู้ช่วย ชงตั้ง ‘ศูนย์ออกข้อสอบ’ เน้นมาตรฐานโปร่งใส โอดเคยเสนอของบออกข้อสอบ แต่ถูกเมิน ชี้หากรัฐบาลใหม่มีนโยบายชัดเจน พร้อมเดินหน้าทันที 

ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 17 กรกฎาคม 2566

เกี่ยวข้องกัน

หนุน ก.ค.ศ.จัดสอบครูผู้ช่วยทั่ว ปท.แก้ออกข้อสอบลักลั่น-แนะปรับ กม.รองรับ 

รศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) นครราชสีมา เปิดเผยว่า กรณีที่ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เสนอปรับระบบการจัดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยให้สำนักงาน ก.ค.ศ.เป็นหน่วยงานกลางจัดสอบภาค ก และภาค ข ปีละ 2 ครั้ง เช่นเดียวกับการสอบรับข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หากโรงเรียนใดมีอัตราว่างและประกาศรับให้นำคะแนนไปยื่นเพื่อสอบภาค ค ได้ทันทีนั้น โดยหลักการเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาข้อสอบให้มีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ และมีโอกาสที่จะเกิดความโปร่งใส เป็นธรรม มากกว่าการกระจายให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการ เพราะต้องยอมรับความจริงว่าการกระจายอำนาจก็เปิดโอกาสให้บางเขตพื้นที่ดำเนินการแบบไม่ชอบมาพากลได้ 

รศ.ดร.อดิศรกล่าวต่อว่า ทั้งนี้ สำหรับหน่วยงานที่จะมาออกข้อสอบจะต้องออกข้อสอบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ใช่เน้นท่องจำมากเกินไป ขณะเดียวกันการสอบสัมภาษณ์ภาค ค ที่เปิดโอกาสให้โรงเรียนดำเนินการจัดสอบเองนั้น โดยหลักการเป็นเรื่องที่ดีที่ให้โรงเรียนมีโอกาสคัดเลือกครูได้เอง แก้ปัญหาการขอย้ายได้ในอนาคต แต่อยากให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะต้นสังกัด และสำนักงาน ก.ค.ศ.ในฐานะที่ดูแลครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ ออกหลักเกณฑ์การให้คะแนนภาค ค ที่ชัดเจน รวมถึงจะต้องมีกติกาที่โปร่งใส เป็นธรรม สามารถตรวจสอบได้ เพื่อไม่ให้เกิดการเล่นพรรคเล่นพวก หรือทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ 

ข้อเสนอให้สำนักงาน ก.ค.ศ.เป็นหน่วยงานกลางในการจัดสอบภาค ก และภาค ข นั้นผมเห็นด้วยในหลักการ แต่ยังกังวลในเรื่องการสอบภาค ค ที่จะต้องมีหลักเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดการเล่นพรรคเล่นพวก ขณะเดียวกัน ยังต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะอำนาจการจัดสอบครูและผู้บริหารโรงเรียนเป็นอำนาจของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ ดังนั้น หากจะให้สำนักงาน ก.ค.ศ.เป็นหน่วยงานจัดสอบอาจจะต้องแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา เพราะการดึงอำนาจการจัดสอบไปอาจจะเป็นการลดบทบาท ทำให้ อ.ก.ค.ศ.เป็นเหมือนทางผ่าน เหลือแค่อนุมัติการบรรจุแต่งตั้งตามนโยบายเท่านั้น ดังนั้น หากจะดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าวก็อยากให้แก้กฎหมายเรื่องโครงสร้างให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต” รศ.ดร.อดิศรกล่าว 

ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 18 กรกฎาคม 2566

เกี่ยวข้องกัน

เลขาธิการ กอศ. หนุนใช้ข้อสอบมาตรฐานกลางสอบครูผู้ช่วย 

เมื่อวันที่  24 ก.ค. ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ประกาศคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ (ว.16) สังกัด สอศ. โดยประกาศรับสมัครใน 61 กลุ่มวิชา จำนวน 707 อัตรา ซึ่งผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกในครั้งนี้ จะต้องดำรงตำแหน่งพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ครูสอนศาสนาอิสลาม วิทยากร อิสลามศึกษา พนักงานจ้างเหมาบริการ ครูอัตราจ่างหรือลูกจ้างชั่วคราวในสถานศึกษาสังกัด สอศ. ทั้งนี้ล่าสุด ได้มีการปิดรับสมัครไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะมีการสอบภาค ก และ ข ในวันที่ 13 ส.ค. นี้ โดยตนได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส บริสุทธิ์ และยุติธรรม สามารถตรวจสอบได้ และเมื่อประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกแล้ว ทาง สอศ. จะเร่งบรรจุเพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างให้กับวิทยาลัยต่าง ๆ ทันที

เลขาธิการ กอศ. กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีแนวคิดที่นำรูปแบบการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้ารับราชการของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) มาใช้ในการสอบครูผู้ช่วยในสังกัด สพฐ. เนื่องจากที่ผ่านมา การจัดสอบของ สพฐ. โดยเฉพาะครั้งล่าสุด ที่กระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการเอง และจ้างมหาวิทยาลัยในพื้นที่ออกข้อสอบและดำเนินการจัดสอบ ซึ่งมีเสียงวิพากวิจารณ์เป็นอย่างมากว่าแต่ละมหาวิทยาลัยที่ออกข้อสอบมีมาตรฐานความยากง่ายที่แตกต่างกันมาก บางแห่งข้อสอบยากมาก บางแห่งข้อสอบง่าย ทำให้เกิดความลักลั่นในการสอบ ดังนั้นจึงเสนอให้มีการใช้ข้อสอบมาตรฐานกลางสอบเหมือนกันทั่วประเทศเหมือนที่สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการนั้น ในส่วนของ สอศ. เอง เห็นด้วยกับการใช้ข้อสอบมาตรฐานกลางมาใช้จัดสอบครูผู้ช่วยไม่ว่าจะในสังกัด สพฐ. หรือ สอศ. เพราะจะได้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ หากจ้างมหาวิทยาลัยต่างคนต่างทำก็จะเกิดปัญหาเหมือนที่ผ่านมาอีก บางแห่งออกข้อสอบยากมีผู้ผ่านการคัดเลือกแต่ 5-10% ถือว่าน้อย ก็เสียทั้งเวลาและงบประมาณในการดำเนินการโดยเปล่าประโยชน์ อย่างไรก็ตาม หากเราจะใช้รูปแบบที่ ก.พ. ดำเนินการนี้ จะต้องทำหลักเกณฑ์การสอบเสนอให้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) พิจารณา หาก ก.ค.ศ. เห็นชอบ หน่วยงานทุกแท่งในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก็ต้องนำรูปแบบดังกล่าวนี้ ไปใช้ดำเนินการจัดสอบเหมือนกันทั้งหมด 

ที่มา ; เดลินิวส์ 24 กรกฎาคม 2566

เกี่ยวข้องกัน

สพฐ.’ ชงเพิ่มความถี่สอบครูผู้ช่วย หลัง ‘บิ๊กร.ร.’ ร้องยกเลิก ว16 เหตุผ่านน้อยไม่พอบรรจุ 

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม นายสุรินทร์ มั่นประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย (ส.บ.ม.ท.) เข้าพบ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อหารือแนวทางแก้ปัญหาขาดแคลนครู โดยเสนอให้ปรับวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ (ว16) ซึ่งเปิดโอกาสให้พนักงานหรือลูกจ้างในโรงเรียนที่ปฏิบัติงานสอนไม่น้อยกว่า 3 ปี มีโอกาสสมัครอยู่แล้ว จากเดิมที่ใช้วิธีการสอบคัดเลือก มาเป็นวิธีการประเมินนั้น มีหลายประเด็นที่ต้องพิจารณารายละเอียดร่วมกัน ทั้งนี้ ในการประชุม ส.บ.ม.ท.เสนอให้ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พิจารณา ยกเลิกการสอบครูผู้ช่วย ว16 เพราะมีครูสอบผ่านได้น้อย ทำให้โรงเรียนไม่สามารถบรรจุแต่งตั้งได้ตามอัตราว่างที่ประกาศรับ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ก็มองเห็นปัญหา จึงมอบให้ สพฐ.และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ไปดูรายละเอียดว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ อย่างไร 

หากยกเลิกระบบการสอบครูผู้ช่วย ว16 จริง ก็ต้องมาดูมาตรการป้องกันระบบอุปถัมภ์ เพื่อให้การคัดเลือกเกิดความเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์เบื้องต้น สพร.เตรียมจัดทำข้อเสนอ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยกรณีเขตพื้นที่เปิดสอบแล้วมีผู้สอบผ่านไม่เพียงพอกับอัตราว่างที่ประกาศรับ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้ สพฐ.กำหนดปฏิทินสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยให้ถี่ขึ้น มากกว่าปีละ 1 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการสอบคัดเลือกตาม ว16 หรือการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ตาม ว14 เพื่อให้แต่ละพื้นที่ได้อัตราครบตามความต้องการ ซึ่งตรงนี้ สพฐ.ต้องไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ภาพรวมเพื่อจัดทำข้อเสนอต่อไป ทั้งนี้ หากนโยบายมีความชัดเจน เปิดกว้างให้เปิดสอบได้มากกว่า 1 ครั้ง สพร.ก็พร้อมดำเนินการ และคิดว่าเป็นเรื่องดีแต่อาจจะติดปัญหาเรื่องงบประมาณ เพราะการจัดสอบแต่ละครั้งจะต้องใช้งบกว่า 26 ล้านบาท” นายสุรินทร์กล่าว 

นายสุรินทร์กล่าวต่อว่า สำหรับสาขาวิชาที่เปิดสอบแล้วไม่มีผู้สมัคร หรือมีผู้สอบคัดเลือกได้น้อย ส่วนใหญ่จะเป็นสาขาวิชาเอกประถมศึกษา โดยสาเหตุที่เพิ่งมาขาดในช่วงนี้เนื่องจากเมื่อปี 2564 สำนักงาน ก.ค.ศ.ออกหลักเกณฑ์ให้โรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศต้องมีครู ที่จบสาขาวิชาเอกประถมศึกษาปฏิบัติการสอนอยู่ด้วย ทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ผลิตครูสาขาดังกล่าวไม่ทันต่อความต้องการใช้ และทราบว่าขณะนี้สถาบันฝ่ายผลิตต่างๆ ก็เปิดรับนักศึกษาสาขาวิชาเอกประถมศึกษามากขึ้น แต่ก็คงต้องใช้เวลา 

สำหรับการสอบครูผู้ช่วย ว16 ปี 2566 ซึ่งเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 21-27 กรกฎาคมนั้น ข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม มีเขตพื้นที่เปิดรับสมัครทั้งหมด 216 แห่ง ใน 50 กลุ่มวิชา อัตราว่าง รวม 8,061  อัตรา มีผู้สมัครรวม 12,804 ราย โดยเกณฑ์การสอบครูผู้ช่วยกรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ว16 กำหนดให้ผู้ดำเนินการคัดเลือกอาจคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุแต่งตั้งเป็นครูผู้ช่วยอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 

1.มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือทางราชการมีเงื่อนไขให้รับโอนโรงเรียนเอกชน หรือโรงเรียนอื่นใดมาเป็นโรงเรียนรัฐบาล หรือเงื่อนไขผูกพันอื่นที่ทางราชการให้ไว้เป็นการเฉพาะให้บรรจุและแต่งตั้ง 

2.มีสัญญาผูกพันตามโครงการพิเศษ หรือโครงการนักเรียนทุนรัฐบาล

3.ประกาศสอบแข่งขันไม่น้อยกว่า 2 ครั้งแล้วไม่มีผู้สมัคร

4.ดำเนินการสอบแข่งขันไม่น้อยกว่าสองครั้งแล้ว ได้จำนวนคนไม่เพียงพอกับตำแหน่งว่างที่จะบรรจุและแต่งตั้งตามที่ประกาศ

5.การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลให้ไปบรรจุหรือแต่งตั้งในพื้นที่ที่เป็นเกาะแก่ง ภูเขาสูงฯ และ

6.การบรรจุแต่งตั้งพนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ครูสอนศาสนาอิสลาม ฯลฯ ซึ่งทุกตำแหน่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่สอนตามคำสั่งหรือสัญญาจ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมกันไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันที่รับสมัครคัดเลือกวันสุดท้าย โดยไม่มีภาระงานสอนตามที่ส่วนราชการกำหนด

 

ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 25 กรกฎาคม 2566

เกี่ยวข้องกัน

จี้ยกเครื่องหลักสูตรผลิตครู 100% สกัดวงจรล้าสมัย-รองรับครูสมรรถนะสูง มุ่งปั๊มระบบปิด 70% แก้ปัญหาคุณภาพ

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาคประชาสังคม กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เปิดเผยว่า กรณีที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์สถาบันผลิตครูว่าไม่ทันโลกสมัยใหม่ ผลิตบัณฑิตครูแบบเดิมๆ จนส่งผลให้บัณฑิตครูที่ได้รับการบรรจุแล้ว ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้นาน และจบอาชีพด้วยการลาออกนั้น จากผลกระทบที่เกิดขึ้น มองว่าควรจะต้องปรับปรุงหลักสูตรการผลิตครูใหม่ 100% เนื่องจากหลักสูตรของประเทศไทยใช้มาประมาณ 30-40 ปี มีการปรับปรุงเป็นระยะๆ แต่เป็นการปรับปรุงส่วนน้อย บางวิชา บางสาขา แต่ตัวโครงสร้างกับตัวระบบการผลิต และตัวระบบหลักสูตร ส่วนใหญ่ 70-80% ยังคงเหมือนเดิม อีก 10-30% เป็นการปรับปรุงบางรายวิชาเท่านั้น 

เรามองเห็นถึงความล้าหลัง และการตามไม่ทันโลกยุคใหม่ กับอนาคตการศึกษาของไทยที่เป็นระบบอนุรักษ์นิยม ได้กลืนกินครูให้สอนหนังสือเด็ก สอนเนื้อหา และการวัดผล เป็นลักษณะของการใช้จิตวิทยาเชิงอำนาจแฝงอยู่ ฉะนั้น การผลิตครูจะพบว่าเป็นระบบรายวิชาเอกมาก ขณะที่แนวโน้มของการศึกษาเป็นการผลิตครูสมรรถนะสูง ขณะที่เรายังใช้การสร้างวินัยด้วยการบังคับ การลงโทษ ดังนั้น ระบบหลักสูตรการฝึกหัดครูของประเทศ เป็นระบบดีเมื่อ 20 ปีที่แล้ว แต่ปัจจุบันบอกได้เลยว่าก้าวไม่ทันโลก” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว 

ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวอีกว่า ปัจจุบันระบบผลิตครูเป็นระบบเปิด ต่างคนต่างผลิตไม่จำกัดจำนวน แยกกันไปในเชิงการได้จำนวนนิสิตนักศึกษา จริงๆ แล้วระบบการผลิตครูต้องเป็นระบบปิด ไม่ใช่ระบบเปิด ต้องรู้จำนวนว่าจะผลิตครูในสาขาใด ด้านใด ฉะนั้น อาจจะผลิตในระบบเปิดประมาณ 30% และระบบปิด 70% เพราะทำให้รู้ว่าต้องผลิตสาขาละเท่าไหร่ จะส่งเข้าไปในระบบการศึกษาในสาขาใดบ้าง อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือไม่ โรงเรียนขนาดเล็กหรือไม่ จะทำให้ระบบการศึกษาเกิดความสมดุล เสริมในจุดที่เป็นเรื่องของความเหลื่อมล้ำ และแก้ไขคุณภาพทางการศึกษาได้ ถ้ายังต่างคนต่างผลิต แย่งนิสิตนักศึกษาแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การฝึกหัดครูคงวนเป็นวัฏจักร สอบติด ส่งต่อให้โรงเรียน ย้ายโรงเรียน และวนกลับไปสอบคัดเลือกครูใหม่ เป็นวงจรของระบบการศึกษาที่ใส่ครูเข้าไปในระบบเท่านั้น แต่ไม่คำนึงถึงปัญหา ความต้องการ และไม่ตรงจุดที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไข 

สิ่งที่เกิดขึ้นเวลาผลิตครู แล้วยังเป็นระบบเดิม แต่สังคมภายนอกเปลี่ยน เคลื่อนตัวไปข้างหน้า ปัญหาการศึกษาไม่ได้หยุดนิ่ง ไม่เช่นนั้นครูที่ผลิตออกไปจะไม่สัมพันธ์สอดคล้องกับปัญหาที่มีอยู่ หรือกับสถานการณ์ของเด็ก และโลกที่กำลังเคลื่อนอย่างรวดเร็ว ฉะนั้น วงจรการผลิตครูกับวงจรสังคม และการเคลื่อนตัวไปข้างหน้า อาจไม่คลิกกัน และเริ่มขัดแย้งกัน” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว 

ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 

ความเห็นของผู้ชม

 แสดงความคิดเห็น