เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ได้ลงนามในหนังสือด่วนที่สุด เรื่อง การคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยกำหนดปฏิทินการคัดเลือกรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดังนี้
· ประกาศรับสมัครคัดเลือกภายในวันที่ 8 สิงหาคม
· รับสมัครคัดเลือก วันที่ 15-21 สิงหาคม
· ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก วันที่ 24 สิงหาคม
· สอบข้อเขียนภาค ก ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ วันที่ 9 กันยายน
· ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกภาค ก และมีสิทธิเข้ารับการประเมินภาค ข และภาค ค ภายในวันที่ 13 กันยายน
· ยื่นเอกสารประกอบการประเมินภาค ข และภาค ค ระหว่างวันที่ 14-17 กันยายน
· ประเมินภาค ข ประวัติ ประสบการณ์ และผลงาน และประเมินภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่ง ระหว่างวันที่ 18-22 กันยายน
· สอบสัมภาษณ์ ระหว่างวันที่ 23-24 กันยายน
· ประกาศผลการคัดเลือก ภายในวันที่ 29 กันยายน
· บรรจุและแต่งตั้ง ภายในวันที่ 5 ตุลาคม
ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 18 กรกฎาคม 2566
ตัวอย่างประกาศสอบ
-รวมประกาศ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา(หลายแห่ง) เรื่อง รับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2566
รวมประกาศสอบผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาสังกัด สพฐ. ปี 2566.pdf
เกี่ยวข้องกัน
สพฐ.ติวเข้มเขตพื้นที่ฯ สอบ ‘บิ๊ก ร.ร.’ สั่งแบ่ง 2 รอบ รอเปิดชื่อ ‘โรงเรียนกันดาร’
นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ย้ำให้ สพท.ดูแลเรื่องงานบริหารงานบุคคล ล่าสุด สพท.ประกาศรับสมัครคัดเลือกรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แล้ว ทั้งนี้ ขอให้ สพท.ระบุแค่จำนวนอัตราว่าง แต่ยังไม่ต้องระบุโรงเรียนที่ว่าง เนื่องจากการสอบครั้งนี้ จะคัดเลือกรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษ ในพื้นที่เกาะ หรือบนภูเขาสูง หรือเป็นหุบเขา หรือพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ที่ไม่สามารถเดินทางด้วยพาหนะใดๆ ได้สะดวกตลอดปี หรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศตามหลักเกณฑ์ใหม่ด้วย ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ขอให้จัดสอบผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการสถานศึกษารอบทั่วไปก่อน จากนั้นรอให้ สพฐ.ประกาศรายชื่อโรงเรียนในพื้นที่พิเศษอย่างเป็นทางการ จึงค่อยประกาศรับสมัคร และประกาศหลักเกณฑ์การคัดเลือกในภายหลัง ไม่ให้ดำเนินการพร้อมกัน
“ขณะนี้ทราบว่าบางเขตพื้นที่ฯ เกิดความสับสน ว่าควรจะเปิดรับสมัครพร้อมกันหรือไม่ เพราะปฏิทินสอบที่ออกมา จะเป็นการสอบผู้บริหารสถานศึกษารอบทั่วไป ส่วนการสอบผู้บริหารในพื้นที่พิเศษ เป็นอำนาจของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่ฯ กำหนดปฏิทิน และวิธีการจัดสอบ ถ้ารับสมัคร และสอบขึ้นบัญชีพร้อมกัน จะเกิดปัญหาตามมา เนื่องจากตามหลักเกณฑ์การคัดเลือก กำหนดให้ประกาศเฉพาะตำแหน่งว่าง ขณะที่โรงเรียนที่เคยได้รับการประกาศชื่อเป็นโรงเรียนในพื้นที่พิเศษเดิมนั้น มีหลายแห่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาปฏิบัติหน้าที่ครบ 5 ปี และได้เขียนคำร้องขอย้าย ซึ่งจะพิจารณาในเดือนกันยายนนี้ ดังนั้น หากเปิดรับสมัคร และขึ้นบัญชีพร้อมกัน ต่อมาปรากฏว่ามีโรงเรียนในพื้นที่ได้รับการประกาศเป็นโรงเรียนในพื้นที่พิเศษในภายหลัง อาจทำให้เกิดการฟ้องร้องตามมา” นายอัมพร กล่าว
นายอัมพรกล่าวต่อว่า ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เร็วๆ นี้ จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาว่าการประกาศสอบคราวนี้ ให้รวมโรงเรียนที่มีคนครองอยู่ด้วย และถ้าโรงเรียนดังกล่าวมีอัตราว่างลงเมื่อไร จะกำหนดให้เป็นโรงเรียนที่มีการคัดเลือกเป็นกรณีพิเศษทันที โดยในทางปฏิบัติแต่ละ สพท.จะรู้ข้อมูลโรงเรียนแต่ละแห่งของตัวเองอยู่แล้ว หากเสนอชื่อโรงเรียนเพื่อประกาศเป็นโรงเรียนในพื้นที่พิเศษจำนวนเท่าไร จะลดจำนวนที่ประกาศรับรอบทั่วไปลง เช่น มีโรงเรียน 10 แห่ง เสนอเป็นโรงเรียนในพื้นที่พิเศษ 2 แห่ง ก็จะประกาศรอบทั่วไปแค่ 8 โรงเรียน เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับปฏิทินการคัดเลือกรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา ดังนี้
· ประกาศรับสมัครคัดเลือก ภายในวันที่ 8 สิงหาคม
· รับสมัคร วันที่ 15-21 สิงหาคม
· ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก วันที่ 24 สิงหาคม
· สอบข้อเขียนภาค ก ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ วันที่ 9 กันยายน
· ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกภาค ก และมีสิทธิเข้ารับการประเมินภาค ข และภาค ค ภายในวันที่ 13 กันยายน
· ยื่นเอกสารประกอบการประเมินภาค ข และภาค ค วันที่ 14-17 กันยายน
· ประเมินภาค ข ประวัติ ประสบการณ์ และผลงาน และประเมินภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่ง วันที่ 18-22 กันยายน
· สอบสัมภาษณ์ วันที่ 23-24 กันยายน
· ประกาศผลการคัดเลือก ภายในวันที่ 29 กันยายน
· บรรจุและแต่งตั้ง ภายในวันที่ 5 ตุลาคม
ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 15 สิงหาคม 2566
เกี่ยวข้องกัน
เปิดสอบ ‘รองฯ-ผอ.ร.ร.’ กว่า 4 พันอัตรา 246 เขตฯ ประกาศรายชื่อผ่าน ‘ภาค ก’ 13 ก.ย.
นายสุรินทร์ มั่นประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (สพร.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า กรณีที่ สพฐ.เปิดรับสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษ (ว16) ซึ่งมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) เปิดรับสมัครรวม 216 แห่ง ใน 51 กลุ่มวิชา อัตราว่างที่เปิดรับ 8,061 อัตรา มีผู้สมัครรวม 26,693 คน ประเมินประวัติและผลงาน วันที่ 7-16 สิงหาคม สอบข้อเขียน ภาค ก ความรอบรู้ และความรู้ความข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู และสอบภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง วันที่ 19 สิงหาคม สอบสัมภาษณ์ วันที่ 20 สิงหาคม ประกาศผลการคัดเลือกภายในวันที่ 24 สิงหาคม โดย สพฐ.กำชับให้ สพท.ทั่วประเทศดูแลการจัดสอบให้โปร่งใส เป็นธรรม โดยคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กระจายอำนาจให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่ฯ จัดสอบ เท่าที่ได้รับรายงาน มีทั้ง สพท.ที่ออกข้อสอบเอง และบาง สพท.มอบให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ออกข้อสอบ
“การสอบครูผู้ช่วย ว16 ครั้งนี้ สพท.ส่วนใหญ่ยังมอบให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ออกข้อสอบเหมือนเดิม แต่ก็มีบาง สพท.ที่ออกข้อสอบเอง ซึ่ง สพฐ.ได้กำชับให้ดำเนินการด้วยความโปร่งใส ออกข้อสอบที่เหมาะสม ไม่ยาก หรือง่ายเกินไป เชื่อว่าจะไม่มีปัญหาข้อสอบยากเกินไป ทำให้มีผู้สอบผ่านได้น้อยเกิดขึ้นอีก” นายสุรินทร์ กล่าว
นายสุรินทร์กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมจัดสอบรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษานั้น ข้อมูลล่าสุดมี อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ และ อ.ก.ค.ศ.สศศ.เปิดรับ 246 แห่ง รวม 4,113 อัตรา แบ่งเป็น รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 957 อัตรา ดังนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) 594 อัตรา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 334 อัตรา และ สศศ. 29 อัตรา และผู้อำนวยการสถานศึกษา 3,156 อัตรา ดังนี้ สพป. 2,924 อัตรา สพม. 210 อัตรา และ สศศ. 22 อัตรา ทั้งนี้ มี สพท.ที่เปิดคัดเลือกรองผู้อำนวยการสถานศึกษาตำแหน่งเดียว 4 แห่ง สพท.ที่เปิดคัดเลือกผู้อำนวยการสถานศึกษาตำแหน่งเดียว 32 แห่ง และ สพท.ที่เปิดคัดเลือกทั้ง 2 ตำแหน่ง รวม 210 แห่ง
“โดย สพท.จะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกภาค ก และมีสิทธิเข้ารับการประเมินภาค ข และภาค ค ภายในวันที่ 13 กันยายน ยื่นเอกสารประกอบการประเมินภาค ข และภาค ค วันที่ 14-17 กันยายน ประเมินภาค ข ประวัติ ประสบการณ์ และผลงาน และประเมินภาค ค ความเหมาะสมกับ
ตำแหน่ง วันที่ 18-22 กันยายน สอบสัมภาษณ์ วันที่ 23-24 กันยายน ประกาศผลการคัดเลือก ภายในวันที่ 29 กันยายน บรรจุและแต่งตั้ง ภายในวันที่ 5 ตุลาคม” นายสุรินทร์ กล่าว
ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 18 สิงหาคม 2566
เกี่ยวข้องกัน
แห่สมัครสอบ ‘บิ๊กร.ร.’ 1.6 หมื่น รับ 4.1 พันอัตรา เตือนผู้สมัครอย่าหลงเชื่อกลุ่มตกเบ็ดอ้างฝากได้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่ สพฐ.จัดสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษ (ว16) สอบข้อเขียน ภาค ก ความรอบรู้ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพครู และสอบภาค ข ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง วันที่ 19 สิงหาคม สอบสัมภาษณ์ วันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมานั้น ภาพรวมการจัดสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีการประกาศผลสอบไปเรียบร้อยแล้ว จากนี้จะเข้าสู่ขั้นตอนการบรรจุแต่งตั้ง โดยการจัดสอบครั้งนี้ มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) เปิดรับสมัครรวม 216 แห่ง ใน 51 กลุ่มวิชา อัตราว่างที่เปิดรับ 8,061 อัตรา
นายสุรินทร์กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้าการเปิดรับสมัคร รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษานั้น มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่ฯ และ อ.ก.ค.ศ.สศศ.เปิดรับ 246 แห่ง รวม 4,113 อัตรา แบ่งเป็น รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 957 อัตรา และผู้อำนวยการสถานศึกษา 3,156 อัตรา เปิดรับสมัครไปเมื่อวันที่ 15-21 สิงหาคมที่ผ่านมานั้น มีผู้สมัครรวม 16,928 ราย แบ่งเป็น ผู้อำนวยการสถานศึกษา 9,310 ราย และรองผู้อำนวยการสถานศึกษา 7,618 ราย ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก วันที่ 24 สิงหาคม สอบข้อเขียนภาค ก ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่ วันที่ 9 กันยายน ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกภาค ก และมีสิทธิเข้ารับการประเมินภาค ข และภาค ค ภายในวันที่ 13 กันยายน ยื่นเอกสารประกอบการประเมินภาค ข และภาค ค วันที่ 14-17 กันยายน ประเมินภาค ข ประวัติ ประสบการณ์ และผลงาน และประเมินภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่ง วันที่ 18-22 กันยายน สอบสัมภาษณ์ วันที่ 23-24 กันยายน ประกาศผลการคัดเลือก ภายในวันที่ 29 กันยายน บรรจุและแต่งตั้ง ภายในวันที่ 5 ตุลาคม
“สพฐ. กำชับให้แต่ละเขตพื้นที่ฯ ดำเนินการจัดสอบและออกข้อสอบด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ไม่ให้เกิดปัญหาการทุจริต โดยคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กระจายอำนาจให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ฯ จัดสอบ เท่าที่ได้รับรายงาน มีทั้ง สพท.ที่ออกข้อสอบเอง และบาง สพท.มอบให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ออกข้อสอบ ทั้งนี้อยากเตือนผู้เข้าสอบทุกคนไม่ให้หลงเชื่อกลุ่มตกเบ็ด หลอกว่าสามารถช่วยให้บรรจุแต่งตั้งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่มาอ้างชื่อผู้บริหาร ว่าไม่มีเรื่องเหล่านั้นอย่างเด็ดขาด ขณะเดียวกันขอกำชับให้ผู้บริหารเขตพื้นที่ฯทุกคน อย่าไปเกี่ยวข้องกับการจัดคิวข้อสอบ เพราะหากตรวจสอบพบว่ามีการดำเนินการดังกล่าวอาจมีโทษทางวินัย” นายสุรินทร์ กล่าว
ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 28 สิงหาคม 2566
ข้อมูลเกี่ยวข้อง