ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า คุรุสภากำหนดจัดการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู รายวิชาครู ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 จำนวน 4 รอบ ได้แก่
ผู้เข้ารับการทดสอบสามารถเลือกสนามสอบได้เพียง 1 จังหวัดเท่านั้น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดจันทบุรี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา การทดสอบฯ รายวิชาครู ในครั้งนี้จะใช้แบบทดสอบฉบับ “ภาษาไทย” เท่านั้น
กำหนดการดำเนินการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู
สำหรับระบบ วิธีการ ขั้นตอน และเงื่อนไขในการลงทะเบียน บันทึกข้อมูล และสมัครเข้ารับการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู รายวิชาครู ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ดำเนินการตามประกาศสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้มีคุณสมบัติเข้ารับการทดสอบฯ ทั้งชาวไทย หรือชาวต่างประเทศ สามารถสมัครเข้ารับการทดสอบได้ระหว่างวันที่ 4 – 22 กันยายน 2566 (ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการยกเว้นวันที่ 22 กันยายน 2566 สมัครสอบได้ เวลาไม่เกิน 16.30 น.) ตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่กำหนด ผ่านระบบออนไลน์ที่ https://ksp66.thaijobjob.com ตรวจสอบรายชื่อผู้เข้ารับการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ผ่านระบบรับสมัครสอบ ในวันที่ 16 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป และประกาศผลการทดสอบฯ ในวันที่ วันที่ 15 มกราคม 2567
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูฯ ให้เป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
1) เป็นผู้มีคุณวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่าที่คุรุสภารับรอง และเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป
2) เป็นผู้มีคุณวุฒิปริญญาอื่นที่ผ่านการรับรองความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา
3) เป็นผู้อยู่ระหว่างศึกษาในหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่าที่คุรุสภารับรอง เพื่อใช้เป็นคุณวุฒิในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ที่เข้ารับการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป และมีรายชื่อตามที่สถาบันอุดมศึกษาได้ทำการบันทึกข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (TEPIS) ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
3.1 อยู่ระหว่างศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 เป็นต้นไป ในหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา
3.2 อยู่ระหว่างศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 เป็นต้นไป ในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพครู) หรือปริญญาเอกทางการศึกษา (วิชาชีพครู)
ผู้มีสิทธิเข้ารับการทดสอบฯ ให้ดำเนินการตรวจสอบสิทธิในการสมัครเข้ารับการทดสอบ ผ่านเว็บไซต์ https://ksp66.thaijobjob.com/ หรือเชื่อมต่อผ่านเว็บไซต์ https://www.ksp.or.th ผู้มีสิทธิเข้ารับการทดสอบฯ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) ผู้ไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูฯ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2565 และครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2565 สามารถตรวจสอบสิทธิโดยกรอกเลขประจำตัวประชาชนที่ใช้ในการสมัครเข้ารับการทดสอบฯ ครั้งที่ผ่านมา เพื่อเข้าสู่ระบบรับสมัครสอบ กรณีไม่สามารถเข้าระบบรับสมัครสอบได้ ให้ดำเนินการตามข้อความที่ปรากฎขึ้นในระบบรับสมัครสอบ หรือขั้นตอนที่แจ้งในคู่มือระบบรับสมัครสอบ
2) ผู้สมัครเข้ารับการทดสอบฯ เป็นครั้งแรก สามารถตรวจสอบสิทธิได้ดังนี้
2.1) กรณีเป็นผู้สมัครเข้ารับการทดสอบที่อยู่ระหว่างศึกษาในหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่าที่คุรุสภารับรอง ให้กรอกเลขประจำตัวประชาชน ซึ่งเป็นข้อมูลที่สถาบันอุดมศึกษาลงทะเบียนและบันทึกข้อมูลผ่านระบบ TEPIS กรณีไม่สามารถเข้าสู่ระบบรับสมัครสอบได้ ผู้สมัครเข้ารับการทดสอบฯ ต้องติดต่อสถาบันอุดมศึกษาของตนเอง เพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อมูล และให้สถาบันอุดมศึกษามีหนังสือแจ้งแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลกลับมายังสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.2) กรณีเป็นผู้สมัครเข้ารับการทดสอบที่ผ่านการรับรองความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา ให้กรอกเลขประจำตัวประชาชนที่ได้แจ้งไว้กับสำนักงาน กรณีไม่สามารถเข้าระบบรับสมัครสอบได้ ให้ติดต่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
2.3 ) กรณีผู้สมัครเข้ารับการทดสอบฯ เป็นชาวต่างประเทศจะใช้เลขประจำตัวประชาชนที่คุรุสภาสร้างขึ้นจากระบบสารสนเทศผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (TEPIS) กรณีไม่สามารถเข้าสู่ระบบรับสมัครสอบได้ ให้ดำเนินการติดต่อสถาบันอุดมศึกษาของตนเอง เพื่อตรวจสอบข้อมูล และหากมีการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล ให้สถาบันอุดมศึกษามีหนังสือแจ้งสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
อัตราค่าสมัครเข้ารับการทดสอบฯ สำหรับชาวไทย วิชาละ 500 บาท สำหรับชาวต่างประเทศ วิชาละ 1,000 บาท สำหรับการชำระเงินของผู้สมัครเข้ารับการทดสอบฯ ให้นำรหัสคิวอาร์โค้ด (QR Code) ที่ได้รับจากระบบรับสมัครสอบสแกนชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน (Application) ของธนาคารทุกแห่ง หากผู้สมัครเข้ารับการทดสอบไม่สามารถชำระเงินได้ให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่แจ้งในคู่มือระบบรับสมัครสอบ หรือสอบถามข้อมูลจากศูนย์บริการข้อมูล (Call Center) เบอร์ 0 2257 7159 ต่อ 3 หรือ ไลน์ไอดี @Thaijobjob เท่านั้น กรณีผู้สมัครเข้ารับการทดสอบดำเนินการไม่ถูกต้อง และไม่อยู่ในระยะเวลาที่กำหนด สำนักงานถือว่าไม่มีการสมัครสอบ ผู้สมัครเข้ารับการทดสอบต้องบันทึกหลักฐานการชำระเงินเพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันการชำระเงิน ทั้งนี้ สำนักงานไม่คืนเงินค่าสมัครสอบให้กับผู้สมัครเข้ารับการทดสอบฯ ในทุกกรณี
เกณฑ์การผ่านการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ผู้เข้ารับการทดสอบฯ ต้องมีผลคะแนนการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู วิชาครู ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ตามหลักการวัดและประเมินที่คณะอนุกรรมการกำหนด กรณีที่ผลคะแนนการทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ในการจัดการทดสอบครั้งต่อไปให้ผู้เข้ารับการทดสอบสมัครสอบในรายวิชาที่มี
ผลคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ
ทั้งนี้ ระยะเวลาการใช้ผลการทดสอบฯ แต่ละรายวิชาสามารถใช้ได้ไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ประกาศผล หากผลคะแนนการทดสอบรายวิชาใดเกินระยะเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผลคะแนนดังกล่าวสิ้นสุด และต้องเข้ารับการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูอีกครั้งหนึ่ง
การประกาศผลการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู สามารถตรวจสอบผลผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน https://www.ksp.or.th และ https://ksp66.thaijobjob.com/ และหากประสงค์ที่จะพิมพ์ผลการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูเป็นรายบุคคล ให้ผู้เข้ารับการทดสอบดำเนินการด้วยตนเองผ่านระบบ “KSP Self-Service” ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเท่านั้น
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ksp.or.th และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ เบอร์โทร. 0 2280 0048 หรือสอบถามข้อมูลจากศูนย์บริการข้อมูล (Call Center) เบอร์ 0 2257 7159 ต่อ 3 หรือ ไลน์ไอดี @Thaijobjob เท่านั้น
คลิกรวมเล่ม
ระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการสอบใบประกอบวิชาชีพในครั้งนี้
ที่มา ; สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
เกี่ยวข้องกัน
เลขาฯ คุรุสภา คาดไม่ถึง คนแห่สอบตั๋วครูเต็มทุกสนาม แนะผู้พลาดหวังรอปี’67 เปิดสอบอีก 10 รอบ
กรณีมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ระบบการรับสมัคร การทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู รายวิชาครู ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 4-22 กันยายน ผ่านระบบออนไลน์ ทางเว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา โดยหลังจากเปิดรับสมัครสอบไม่นาน พบว่าทุกสนามสอบเต็มทุกที่นั่ง เต็มทุกรอบ ทำให้มีผู้เสียสิทธิจำนวนมากนั้น
เมื่อวันที่ 4 กันยายน นางอมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา เปิดเผยว่า ที่คุรุสภาได้รับสมัครการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู รายวิชาครู ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 ซึ่งมีการพัฒนาระบบเช่นเดียวกันการระบบการจัดสอบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สอบ 2 วิชา คือ วิชาครู และวิชาเอก โดยได้อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่พัฒนาระบบ จัดสอบที่ศูนย์สอบของ ก.พ.ทั้ง 5 ภูมิภาค สาเหตุที่ไม่สามารถใช้มหาวิทยาลัยทั้งหมดเป็นศูนย์สอบได้ เนื่องจากความพร้อมของระบบคอมพิวเตอร์แต่ละแห่งไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงเลือกใช้มหาวิทยาลัยที่เป็นศูนย์สอบของ ก.พ.อยู่แล้ว
นางอมลวรรณกล่าวต่อว่า ทั้งนี้ การสอบครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 จัดให้สอบประมาณ 20,000 ที่นั่ง จำนวน 4 รอบ ได้แก่ วันที่ 11 พฤศจิกายน เวลา 13.00-16.00 น.วันที่ 12 พฤศจิกายน เวลา 13.00-16.00 น.วันที่ 25 พฤศจิกายน เวลา 13.00-16.00 น. และวันที่ 26 พฤศจิกายน เวลา 13.00-16.00 น. ประกาศผลในช่วงเดือนธันวาคม และจะประกาศรับสมัครสอบอีกครั้งในช่วงเดือนมกราคม 2567 โดยจะจัดสอบอีกประมาณ 10 รอบ เช่น เดือนกุมภาพันธ์ 2567 รับสมัครวันที่ 6-21 มกราคม และจะสอบรวม 10 รอบ รอบแรกประมาณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ รอบ 2 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ รอบ 3 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ รอบ 4 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ รอบที่ 5 วันที่ 9 มีนาคม รอบที่ 6 วันที่ 10 มีนาคม รอบที่ 7 วันที่ 16 มีนาคม รอบที่ 8 วันที่ 17 มีนาคม รอบที่ 9 วันที่ 23 มีนาคม และรอบที่ 10 วันที่ 24 มีนาคม
“ทั้งหมดนี้เป็นปฏิทินการสอบครั้งที่ 2 ซึ่งจะเกิดขึ้นในปี 2567 ที่คุรุสภา กำหนดจะจัดสอบให้ได้รอบละประมาณ 5,000 คน รวม 10 รอบ เท่ากับ 50,000 คน หลังจากนั้นตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป จะเปิดให้สอบได้ทุกเดือน ให้สอบได้ทั้งปี ฉะนั้น ผู้ที่ลงทะเบียนไม่ทัน ไม่ต้องตกใจว่าคุรุสภาจะจัดสอบครั้งเดียว ยังจัดสอบอีกหลายรอบ และตั้งแต่ปี 2567 การสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตฯ จะเกิดขึ้นทุกเดือน ทั้งนี้ ปฏิทินที่กำหนดไว้ยังเป็นเพียงการวางแผนเบื้องต้น เพราะต้องไปดูด้วยว่าช่วงเวลาที่กำหนดไว้ จะไปตรงกับการสอบของ ก.พ.หรือไม่ แต่คิดว่าปีหน้าจะจัดสอบได้หมดทั้งรวมกว่า 90,000 คน ถ้ารวมกับที่จัดสอบในปีนี้แล้ว 4 รอบ จะมีผู้เข้าสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตฯกว่า 100,000 คน ที่ผ่านมาอาจมีการสื่อสาร และทำให้เกิดการเข้าใจผิด คิดว่าจะจัดสอบเพียงครั้งเดียว ซึ่งไม่ใช่ ผู้สำเร็จการศึกษาสมัครสอบได้อีกครั้งเดือนมีนาคม ส่วนข้อสอบแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน รูปแบบข้อสอบจะแตกต่างกันไป โดยปีนี้จะสอบแบบมีตัวสถานการณ์เป็นตัวตั้ง เพื่อวัดสมรรถนะ เป็นต้น” นางอมลวรรณกล่าว
นางอมลวรรณกล่าวอีกว่า ส่วนที่มีข้อเสนอว่าไม่ควรให้ผู้เรียนคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ปีที่ 3 และปีที่ 4 เข้าสอบด้วยนั้น ไม่อยากให้กันสิทธิ เพราะเข้าใจว่านักศึกษาเหล่านี้ก็อยากเข้าสอบ และมีคุณสมบัติครบที่จะสอบ ส่วนเหตุผลที่ต้องประกาศสอบเป็นรอบๆ เพราะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ข้อสอบ และรูปแบบการสอบแต่ละครั้งก็จะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ ไม่กังวล เพราะทุกอย่างมีที่มาที่ไป และการที่นักศึกษามีข้อสงสัยว่าทำไมสอบที่สถาบันการศึกษาของตัวเองไม่ได้ แต่ต้องไปสอบที่ศูนย์สอบ เพราะการสอบต้องใช้ศูนย์สอบที่มีคุณภาพ มีระบบการป้องกันกันทุจริต และการสอบจะใช้เกณฑ์เดียวกับ ก.พ.ทุกอย่าง มีการตรวจสอบสนามสอบในเชิงลึก นักศึกษาไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้สอบ เพราะการสอบมีหลายรอบ
“ส่วนกรณีที่หลังเปิดรับสมัคร พบว่าทุกสนามสอบมีผู้สมัครเต็มอย่างรวดเร็วนั้น ส่วนตัวไม่คิดว่าจะมีผู้สมัครเข้ามาจำนวนมาก โดยระบบสแตนด์บายไว้รองรับคน 50,000 คนต่อวินาที แต่มีผู้สมัครสอบเกินเป้า ฉะนั้น ระยะยาวอาจมีแผนการขยายสนามสอบ แต่ต้องขอตรวจสอบคุณสภาพสนามสอบก่อน” นางอมลวรรณกล่าว
ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 4 กันยายน 2566
เกี่ยวข้องกัน
แห่วิจารณ์ สมัครสอบใบประกอบวิชาชีพครูวันแรก ไม่กี่นาทีเต็มทุกที่นั่ง เว็บล่ม ทำคนเสียสิทธิจำนวนมาก
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 4 – 22 กันยายน 2566 ผ่านระบบออนไลน์ โดยสมัครได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภานั้น
ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการทดสอบสามารถเลือกสนามสอบได้เพียง 1 จังหวัด เท่านั้น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, จันทบุรี, เชียงใหม่, ลำปาง, ขอนแก่น, อุบลราชธานี, สุราษฎร์ธานี และสงขลา
วันที่ 4 กันยายน ถือเป็นวันแรก ของการสมัครสอบ กลับกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก จนติดเทรนด์ทวิตเตอร์ #ใบประกอบวิชาชีพครู พุ่งติดเทรนด์อันดับ 2 ทันที
โดยส่วนใหญ่วิพากษ์วิจารณ์ ว่า หลังจากเปิดรับสมัครสอบไม่นาน กลับพบว่าทุกสนามสอบเต็มทุกที่นั่ง เต็มทุกรอบ ทำให้คนเสียสิทธิเป็นจำนวนมาก
บางแห่ง เปิดรับสมัครได้ไม่ถึง 2 นาที ก็พบว่าที่นั่งสอบเต็ม ทุกที่นั่งแล้ว หรือเข้าเว็บไปไม่นาน เจอเว็บล่ม บางคนอยู่สุมทรปราการ แต่สนามสอบใกล้เคียงเต็ม จนต้องไปสมัครสอบที่ลำปาง เป็นต้น
ซึ่งผู้สมัครสอบมองว่า ทุกคนควรจะมีสิทธิที่จะได้สอบ ไม่ควรจะมาแย่งที่นั่งสอบกันแบบนี้ และเรียกร้องให้ทางคุรุสภาออกมาดำเนินการแก้ไข หรือชี้แจงโดยด่วน
สำหรับกำหนดจัดการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู รายวิชาครู ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 จำนวน 4 รอบ ได้แก่
ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 4 กันยายน 2566
เกี่ยวข้องกัน
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา 4 กันยายน 2566 – ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา ชี้แจงประเด็นการรับสมัครทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู รายวิชาครู ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 ตามมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.)
ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม กล่าวว่า การประกาศรับสมัครสอบครั้งนี้ เป็นครั้งแรกของการเปิดสอบในปี 2566 จำนวน 20,000 ที่นั่ง ซึ่งเป็นการสอบครั้งแรกด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของคุรุสภาในปี 2566 เพราะการสอบแบบประเภทกระดาษครั้งสุดท้ายจัดในปี 2565 โดยได้พัฒนาระบบสอบตามมาตรฐานสำนักงาน ก.พ. ซึ่งสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ทดสอบด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ Computer Base ตามระบบของสำนักงาน ก.พ. ใช้ศูนย์สอบของสำนักงาน ก.พ. ทั้ง 5 ภูมิภาค โดยการสอบครั้งที่ 1/66 มีการจัดสอบจำนวน 4 รอบ
เหตุผลที่ต้องประกาศรับสมัครสอบเป็นรอบ เพราะการเลือกวัน เวลา สถานที่สอบ ความพร้อมของสนามสอบ ต้องผ่านชุดอนุกรรมการทดสอบและผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการคุรุสภา ชุดรูปแบบข้อสอบในการสอบแต่ละครั้งแตกต่างกัน เป็นการทดสอบสมรรถนะจริง เพราะฉะนั้นคนที่ลงทะเบียนไม่ทัน ไม่ต้องกังวลใจว่าคุรุสภาจะเปิดสอบครั้งเดียว ตั้งแต่ปี 2567 การสอบจะเปิดขึ้นทุกเดือน สำหรับนักศึกษาที่เข้าเรียนในปี พ.ศ. 2562 – 2565 (รหัส 62 – 65) จะได้รับการยกเว้นการสอบวิชาเอก สำหรับคนที่สอบผ่าน จะได้ขึ้นใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น ส่วนคนที่ตกค้างยังไม่ผ่าน สามารถสอบได้ในครั้งนี้
การเปิดรับสมัครสอบในครั้งนี้ มีผู้สมัครสอบใน 2 ชั่วโมง 20,000 ที่นั่ง ซึ่งระบบรองรับรับผู้สมัครผ่านทางออนไลน์ได้ 50,000 คน ต่อ วินาที แต่คนสมัครสอบเกินเป้า อาจเกิดการสื่อสารให้เข้าใจผิดว่าการเปิดสอบครั้งนี้แค่ครั้งเดียว หลังจากประกาศผลรอบที่ 1 แล้ว จะเปิดรับสมัครสอบครั้งต่อไปในเดือนมกราคม 2567 อาจมีแผนการขยายสนามสอบ แต่ต้องตรวจสอบคุณภาพสนามสอบก่อน และมีการเปิดสอบอีก 10 รอบ รอบละ 5,000 คน หลังจากนั้นจะมีการเปิดรับสมัครสอบทุกเดือนทั้งปี รวมการเปิดสอบครั้งที่ 1/66 จำนวน 4 รอบ จนถึงเดือนมีนาคมรวมเป็น 14 รอบ จะเก็บได้ประมาณ 70,000 คน คาดว่าตลอดทั้งปีจะเก็บหมด 100,000 คน อย่างแน่นอน
“ส่วนคำถามที่ว่าทำไมสอบที่สถาบันตัวเองไม่ได้ เพราะระบบการสอบต้องใช้ศูนย์สอบที่มีคุณภาพทุกภูมิภาค มีระบบป้องกันการทุจริตทั้งตัวข้อสอบและคนคุมสอบ ใช้มาตรฐานเดียวกับสำนักงาน ก.พ. ทุกอย่าง แต่ละมหาวิทยาลัยมีความพร้อมของคอมพิวเตอร์ไม่เหมือนกัน จึงต้องเลือกมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติเป็นศูนย์สอบของสำนักงาน ก.พ. และมีคณะกรรมการซึ่งคอยดูแลตรวจสอบสนามสอบในเชิงลึกทุกภูมิภาค อยากให้นักศึกษาที่กำลังกังวลใจอยู่ตอนนี้ว่าจะไม่ได้สอบ ขอให้นักศึกษาสบายใจได้” ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม กล่าว
ที่มา : ศธ. 360 องศา