บทนำ
บทบาทที่เปลี่ยนไปของผู้อำนวยการ โรงเรียนจากมุมมองทั่วโลก ผู้นำโรงเรียนบางท่านอาจเคยมีประสบการณ์เข้าร่วมการศึกษาดูงานในต่างประเทศหรือต่างจังหวัด ในบางครั้งบางท่านอาจไม่เคยไปสถานที่นั้นมาก่อน จึงรู้สึกตื่นเต้นกับกิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างมาก แต่กิจกรรมหนึ่งที่ผู้นำหลายคนจะถูกใจเป็นพิเศษคือ การซื้อของหรือช้อปปิ้งนั่นเอง ผู้นำหลายคนประสบความสำเร็จอย่างมากในการต่อราคากับคนขายและมีความเชี่ยวชาญในการซื้อของในราคาที่ดีที่สุด แน่นอนว่า เราอาจพูดเกินความเป็นจริงไปบ้าง เนื่องจากผู้นำบางคนที่กำลังอ่านบทนี้อยู่อาจไม่ได้ชอบการช้อปปิ้งและอาจจะไม่ถนัดกับการต่อรองราคากับคนขายเอาเสียเลย (ผู้นำโรงเรียนชายหลายคนน่าจะเห็นด้วยอย่างมากในประเด็นนี้) อย่างไรก็ดี ความจริงคือผู้นำที่มีประสบการณ์จะเก่งในการต่อราคาและการเจรจา
หลายสิบปีก่อนที่หลายท่านเริ่มต้นการสอน ผู้นำในยุคนั้นไม่จำเป็นต้องต่อรอง หรือร่วมมือ กับบุคลากรของพวกเขา พวกเขาแค่สั่งการ (ภายในขอบเขต) และครูก็จะปฏิบัติตาม ในยุคนั้นถ้านักเรียนทำงานร่วมกันในชั้นเรียน อาจจะถูกกล่าวหาว่าโกง โชคดีที่ว่าสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนไป ในทุกวันนี้ พวกเราส่งเสริมให้นักเรียนร่วมมือกันและทำงานร่วมกันในทีม และการเจรจากับบุคลากรเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำในทุก ๆ วัน
การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลคือการมีความสามารถในการดึงให้บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกันและร่วมมือทำงานเป็นทีม ผู้นำต้องสามารถแบ่งกันภาวะผู้นำกับผู้บริหารระดับสูงในทีม และสามารถดึงความศักยภาพสูงสุดของครูออกมา นั่นหมายความว่า ผู้นำจะต้องเก่งในการเจรจาด้วย
บทเรียนนี้ได้ถูกออกแบบมาในการยกระดับทักษะมนุษยสัมพันธ์และการบริหารของผู้นำ และได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยฝึกฝนทักษะมนุษยสัมพันธ์เมื่อมีการเจรจากับบุคลากรในกระบวนการตัดสินใจ
ผลลัพธ์ของโมดูลทักษะการเจรจา
บทบาทที่เปลี่ยนไปของผู้อำนวยการ โรงเรียนจากมุมมองทั่วโลก หลังการเรียนโมดูลนี้ ผู้เรียนจะได้:
ทำไมต้องเจรจา?
“ฉันไม่ใช่ผู้นำหรือ? ฉันแค่สั่งการให้ครูปฏิบัติงานไม่ได้หรือ? ทำไมฉันจำเป็นต้องเจรจา?” ผู้นำทุกคนต้องเก่งในการเจรจา ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
ในกรณีศึกษา 2 เรื่องนี้ ผู้นำเกิดความผิดพลาด ดาวิกาและจิรายุต่างตัดสินใจด้วยตนเองและออกคำสั่งให้บุคลากรปฏิบัติตาม โดยไม่ได้เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ขาดความร่วมมือและการเจรจา ทั้งสองคนแกว่งเท้าหาเสี้ยนแล้วเท้าก็โดนตำ ในกรณีแรก บุคลากรต่างเฉยเมยต่อคำสั่งของดาวิกา แต่ในกรณีที่สอง ผลที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายมากกว่า หน้าที่การงานของจิรายุอยู่ในความเสี่ยง เนื่องจากเกิดความบาดหมางขึ้นระหว่างบุคลากรและตัวเขา
ความรู้สึกแรกของเราอาจบอกว่า ทั้งจิรายุและดาวิกาต่างรีบร้อนตัดสินใจเร็วเกินไป และในฐานะผู้นำ พวกเขาควรจะรอให้ตนเองเป็นที่ยอมรับของบุคลากรก่อนจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในโรงเรียนใหม่ แทนที่จะรีบร้อนเหมือนกับนักท่องเที่ยวเวลาช้อปปิ้ง พวกเขาควรอดทนรอเวลาและยืดเวลาในการเปลี่ยนแปลงจนกว่าจะได้รับการยอมรับจากบุคลากร ข้อแนะนำจากผู้นำที่ประสบการณ์สูงสำหรับผู้บริหารระดับกลางคือ จงอดทนและอย่าดื้อรั้น
อย่างไรก็ดี ความจริงหลังจากนี้ ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำระดับกลาง ท่านจะพบว่ามีหลายสิ่งที่ท่านต้องการทำและทำให้สำเร็จ และนี่เป็นเหตุผลว่า เพราะเหตุใดทักษะการเจรจาจึงมีความสำคัญยิ่ง
กรณีศึกษา 1
ในระหว่างที่ดาวิกากำลังคุยกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดาวิกาแสดงความคับข้องใจในหลายด้าน ความสัมพันธ์ของเธอกับบุคลากรในโรงเรียนเริ่มต้นอย่างไม่ค่อยดีนัก และโครงการหลายอย่างที่เธอริเริ่ม เช่น การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการติดต่อสื่อสารประจำวัน กลับถูกเมินเฉยจากบุคลากร ดาวิกาได้ริเริ่มระบบสมุดบันทึกประจำวันและได้ขอให้ครูส่งบันทึกเรื่องที่น่าสนใจ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ และข่าวสารในห้องเรียนรายวัน เมื่อถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ เธอได้แจ้งต่อคณะกรรมการบริหารโรงเรียนว่า “ฉันเป็นคนเดียวที่เขียนข่าวลงในระบบบันทึกประจำวันนั้น”
กรณีศึกษา 2
ในวันแรกที่จิรายุเดินทางไปถึงโรงเรียนใหม่เวลา 16.35 น. เขาพบว่า ห้องธุรการของโรงเรียนปิดทำงานเวลา 16.30 น. ในขณะที่ครูทุกคนยังปฏิบัติงานในโรงเรียนหลังจากคาบเรียนสุดท้ายของวันเลิกเวลา 16.00 น. พนักงานธุรการได้ปิดห้องธุรการและเดินทางกลับเวลา 16.30 น. ในโรงเรียนเก่าที่จิรายุเพิ่งจะย้ายออกมา ห้องธุรการจะเปิดทำการจนถึงเวลา 17.30 น. เขาจึงมีความเคยชินกับเวลาทำการนั้น เมื่อถึงการประชุมพนักงานครั้งแรก จิรายุออกคำสั่งว่า ตั้งแต่ปลายภาคต้นเป็นต้นไป พนักงานธุรการจะต้องจัดเวรปฏิบัติหน้าที่ ให้อย่างน้อยต้องมีพนักงานหนึ่งคนทำงานจนถึงเวลา 17.30 น. ทุกวัน เมื่อถึงกลางภาคเรียนต่อมา จิรายุกลับรู้สึกเสียใจที่ตัดสินเร็วเกินไป ถึงแม้ว่าการตัดสินใจของเขาจะได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ครองและครูส่วนใหญ่ พนักงานธุรการกลับไม่พอใจอย่างมากและทำให้เกิดบรรยากาศที่ไม่เป็นมิตรในห้องธุรการโรงเรียน พนักงานธุรการเฉยเมยและเย็นชาต่อจิรายุ และเมื่อจิรายุมอบหมายงาน พวกเขาก็รับทราบอย่างเสียไม่ได้และปฏิบัติอย่างเชื่องช้า และที่อาจจะแย่ที่สุดคือ พนักงานธุรการไม่มารายงานข่าวคราวต่าง ๆ ให้เขาทราบ ยกเว้นจิรายุจะเอ่ยถามโดยตรง ด้วยเหตุนี้ การปรับตัวเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนใหม่ของจิรายุจึงดำเนินไปอย่างเชื่องช้าและยากลำบาก และเกิดการบริหารงานผิดพลาดในหลายเรื่อง
4 วิธีในการตัดสินใจ
บทบาทที่เปลี่ยนไปของผู้อำนวยการ โรงเรียนจากมุมมองทั่วโลก โดยทั่วไป ผู้นำสามารถตัดสินใจใน 4 วิธี ประกอบด้วย ิ
แน่นอนว่า วิธีการตัดสินใจทั้ง 4 แบบข้างต้น ผู้นำอาจนำไปใช้ครบทุกวิธีตามแต่กาลเทศะ รวมถึงการตัดสินใจด้วยตนเองโดยไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น (เช่นการช่วงเวลาวิกฤตฉุกเฉิน)
ในตารางในหน้าถัดไป จะแสดงตัวอย่างของสถานการณ์ที่ผู้นำจะต้องตัดสินใจ ลองพิจารณาสถานการณ์เหล่านี้ และบันทึกคำตอบว่าท่านจะเลือกวิธีใดระหว่าง การออกคำสั่ง การปรึกษา การตัดสิน หรือการเจรจา ในการตัดสินใจ
โรงเรียนอาจจำเป็นต้องเลิกจ้างครูอัตราจ้างไป เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอในปีการศึกษาหน้า ในฐานะผู้นำ ท่านต้องตัดสินใจว่า จะจ้างใครต่อและจะเลิกจ้างใคร |
|
สมาคมผู้ปกครองและครูฯ และสมาคมศิษย์เก่าได้ขอให้ท่านริเริ่มจัดกิจกรรมกีฬาสำหรับนักเรียนทุกวันเสาร์ครึ่งวัน ซึ่งจำเป็นต้องให้ครูและบุคลากรทุกคนมาปฏิบัติหน้าที่ด้วย แต่ครูและบุคลากรส่วนใหญ่ไม่เคยต้องมาทำงานในวันเสาร์ |
|
ห้องสมุดได้ยื่นคำร้องขอให้ย้ายครูพี่เลี้ยงที่ช่วยครูประจำชั้นในห้องเรียนมาทำหน้าที่ช่วยงานในห้องสมุดเต็มเวลา |
|
เหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นในสนามโรงเรียนเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดความจำเป็นที่ต้องให้มีครูคอยสอดส่องดูแลสนามเพิ่มขึ้น ท่านต้องการเพิ่มจำนวนครูเวรที่ดูแลสนามในทุกช่วงเวลา |
|
นักเรียนคนหนึ่งได้ถูกมือดีขโมยแว่นสายตาที่มีกรอบราคาแพงไปจากกระเป๋า พ่อของนักเรียนคนดังกล่าวไม่พอใจเป็นอย่างมากและเรียกร้องให้โรงเรียนจ่ายค่าเสียหาย ท่านควรจะจ่ายค่าเสียหายหรือไม่? |
|
ครูคนหนึ่งได้ยื่นคำร้องขออนุญาตลากิจเพื่อไปร่วมงานสำคัญส่วนตัว ปัญหาคือ หากว่าครูคนนี้ไม่มาทำหน้าที่ จะส่งผลกระทบต่อตารางปฏิบัติหน้าที่ของครูหลายคนที่ได้รับมอบหมายให้พานักเรียนไปทัศนศึกษา |
|
ภารโรงของโรงเรียนต้องการให้โรงเรียนจัดหาโทรศัพท์มือถือให้กับเขา เพื่อที่บุคลากรในโรงเรียนจะสามารถติดต่อเขาได้โดยตรงเมื่อเขาปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียน โดยไม่จำเป็นต้องประกาศผ่านระบบกระจายเสียงของโรงเรียน |
แต่ละวันในโรงเรียน มีตัวอย่างมากมายที่แสดงให้เห็นว่า ผู้นำจำเป็นต้องเจรจากับบุคลากรเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ โดยแท้จริงแล้ว อาจจะกล่าวได้ว่า กระบวนการเจรจา ซึ่งอาจจะมีรูปแบบต่างกันไป เป็นการปฏิบัติที่นำไปใช้มากที่สุดในเกือบทุกการตัดสินใจของผู้นำในแต่ละวัน
วิถีของการเจรจา
การเจรจาควรเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย เพราะการเจรจาประกอบด้วยกระบวนการ 3 ระยะ เมื่อท่านประสบปัญหา ท่านจะแลกเปลี่ยนมุมมองและทางออกของปัญหา และก็จะนำมาซึ่งข้อตกลง
ระยะที่ 1 |
ปัญหา |
จุดยืนที่แตกต่างกัน 2 ฝ่ายขึ้นไปในประเด็นหนึ่ง |
ระยะที่ 2 |
การแลกเปลี่ยน |
การแบ่งปันจุดยืน ทางแก้ไข ความคิด และมุมมอง ความพยายามในการหาทางออกที่นำไปสู่ความพึงพอใจร่วมกันของทุกฝ่าย |
ระยะที่ 3 |
ข้อตกลง |
ทุกคนพอใจกับผลลัพธ์ |
แต่ผู้นำระดับกลางคงเข้าใจดีกว่า การเจรจาไม่ใช่เรื่องง่าย และบางคนก็อาจจะทำได้ดีกว่าคนอื่น การเจรจาจึงเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนผ่านการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ
การพัฒนาทักษะการเจรจา
นักเจรจาแบบยึดจุดยืน (หรือนักต่อรอง) พยายามที่จะแก้ไขปัญหาโดยการเริ่มที่ทางออกที่พวกเขาต้องการ ฝ่าย A จะเสนอทางแก้ปัญหา (ยื่นข้อเสนอ) และจะพยายามชักจูงให้อีกฝ่ายยอมรับว่า ทางเลือกของเขาดีที่สุดเมื่อเทียบกับทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมด
ในแผนภาพข้างบน จุดยืนของการเจรจาเคลื่อนที่ไปตามแกนแบ่งแยก (distributive axis) ถ้า A เป็นนักเจรจาที่เก่งกว่า ข้อตกลงสุดท้ายจะไปจบที่ใกล้กับจุด A ถ้า B เป็นนักเจรจาที่เก่งกว่า ข้อตกลงสุดท้ายจะไปจบที่ใกล้กับจุด B
จุดประสงค์ของนักเจรจาแบบยึดจุดยืน รวมถึง:
ขั้นตอนต่อไปนี้อาจจะช่วยให้ท่านเจรจาแบบยึดจุดยืนได้ดียิ่งขึ้น
เป้าหมายของกระบวนการต่อรองประเภทนี้ คือการเริ่มต้นด้วยการนำเสนอวิธีการของท่าน และพยายามชักจูงให้อีกฝ่ายหรือบุคลากรของท่านยอมรับว่า วิธีการของท่านเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดจากทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมด เป้าหมายคือ การทำให้บุคลากรยอมรับจุดยืนของท่าน และทำตามที่ท่านต้องการ
การเจรจาแบบยึดจุดยืน
การโจมตี นักเจรจาแบบยึดจุดยืน (หรือนักต่อรอง) พยายามที่จะแก้ไขปัญหาโดยการเริ่มที่ทางออกที่พวกเขาต้องการ ฝ่าย A จะเสนอทางแก้ปัญหา (ยื่นข้อเสนอ) และจะพยายามชักจูงให้อีกฝ่ายยอมรับว่า ทางเลือกของเขาดีที่สุดเมื่อเทียบกับทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมด
ในแผนภาพข้างบน จุดยืนของการเจรจาเคลื่อนที่ไปตามแกนแบ่งแยก (distributive axis) ถ้า A เป็นนักเจรจาที่เก่งกว่า ข้อตกลงสุดท้ายจะไปจบที่ใกล้กับจุด A ถ้า B เป็นนักเจรจาที่เก่งกว่า ข้อตกลงสุดท้ายจะไปจบที่ใกล้กับจุด B
จุดประสงค์ของนักเจรจาแบบยึดจุดยืน รวมถึง:
ขั้นตอนต่อไปนี้อาจจะช่วยให้ท่านเจรจาแบบยึดจุดยืนได้ดียิ่งขึ้น
เป้าหมายของกระบวนการต่อรองประเภทนี้ คือการเริ่มต้นด้วยการนำเสนอวิธีการของท่าน และพยายามชักจูงให้อีกฝ่ายหรือบุคลากรของท่านยอมรับว่า วิธีการของท่านเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดจากทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมด เป้าหมายคือ การทำให้บุคลากรยอมรับจุดยืนของท่าน และทำตามที่ท่านต้องการ
กระบวนการของการเจรจาแบบยึดจุดยืน
เหตุการณ์ |
ข้อเสนอแนะ |
สร้างบันทึกข้อเรียกร้องของท่าน |
จงจำไว้ว่า มีความเป็นไปได้ที่ท่านจะจำเป็นต้องประนีประนอม ดังนั้นท่านควรเรียกร้องให้มากกว่าที่ท่านต้องการบนจุดยืนตั้งต้นของท่าน ข้อเรียกร้องเป็นเรื่องของงาน ไม่ใช่เรื่องของบุคคล? |
แยกตัวบุคคลออกจากปัญหา |
ตระหนักว่านี่เป็นเรื่องงาน ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว จงพยายามอย่าใช้อารมณ์ หลีกเลี่ยงความโกรธ อารมณ์เสีย ความเศร้าโศก ฯลฯ |
มุ่งเป้าไปที่ข้อเสนอของอีกฝ่าย |
จุดยืนของอีกฝ่ายมั่นคงมากน้อยเพียงใด พวกเขาพร้อมที่จะถอยมากน้อยเพียงใด? |
สร้างข้อเสนอกลับ (counter offer) |
ความยากของการเจรจา คือแต่ละฝ่ายควรพยายามมุ่งไปสู่การถอยจากจุดยืนตั้งต้นไม่มากก็น้อย |
ได้ข้อตกลง |
ทั้งสองฝ่ายยอมรับทางแก้ปัญหา |
ทดสอบกับมาตรฐานเชิงเป้าหมาย |
ข้อตกลงนั้นยังน่าพอใจอยู่หรือไม่หลังจากระยะปลอดพันธะ (cooling off period) และเมื่อไปตรวจสอบกฎระเบียบ หรือมาตรฐานต่าง ๆ |
พิจารณาตัวอย่างการเจรจาแบบยึดจุดยืนในโรงเรียนต่อไปนี้ เราจะใช้กรณีศึกษาของจิรายุ ในการแสดงให้เห็นภาพ
เหตุการณ์ |
ข้อเสนอแนะ |
สร้างบันทึกข้อเรียกร้องของท่าน |
จิรายุคุ้นเคยกับการที่โรงเรียนเปิดให้บริการต่าง ๆ จนถึง 17.30 น. แต่ในโรงเรียนใหม่ที่เขาเพิ่งย้ายเข้าไป ห้องธุรการโรงเรียนปิดให้บริการตั้งแต่ 16.30 น. บันทึกข้อเรียกร้องของจิรายุขอให้มีการจัดรายชื่อของเจ้าหน้าที่ธุรการสับเปลี่ยนกันทำงานจนถึงเวลา 17.30 น. โดยแท้จริงแล้ว เขาต้องการให้ห้องธุรการเปิดถึงแค่ 17.00 น. แต่ 17.30 น. คือจุดยืนตั้งต้นของเขา (บันทึกข้อเรียกร้องของเจ้าหน้าที่ธุรการคือ พวกเขาต้องการทำงานจนถึง 16.30 น.) |
แยกตัวบุคคลออกจากปัญหา |
จิรายุต้องแสดงให้เห็นว่านี่ไม่ใช่ประเด็นส่วนตัว เขาต้องแสดงความจริงใจกับเจ้าหน้าที่ว่า เขาไม่ได้คิดว่า เจ้าหน้าที่ขี้เกียจหรือหนีความผิดอะไรบางอย่าง แต่นี่เป็นเรื่องของงาน ไม่ใช่เรื่องของบุคคล เขาจะบอกกับเจ้าหน้าที่ว่า พวกเขาจะต้องไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาเป็นเหตุผลในการเจรจา เพียงเพราะใครคนหนึ่งต้องการกลับบ้านเวลา 16.30 น. เพื่อไปดูแลลูก นี่ไม่ใช่สาระสำคัญ พวกเราทุกคนต่างมีความชอบและไม่ชอบของแต่ละคน เราไม่สามารถที่จะอนุญาตให้ใครคนใดคนหนึ่งมีอภิสิทธิ์เหนือคนอื่น |
มุ่งเป้าไปที่ข้อเสนอของอีกฝ่าย |
เจ้าหน้าที่ธุรการยึดมั่นในจุดยืนของพวกเขามากน้อยเพียงใด พวกเขายังต้องการทำงานที่โรงเรียนต่อไปในห้องธุรการหรือเต็มใจที่จะลาออกถ้าเขาต้องทำงานจนถึง 17.00 น. พวกเขาได้รับแรงสนับสนุนจากครูหรือไม่ |
สร้างข้อเสนอกลับ (counter offer) |
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ยาก จิรายุเต็มใจที่จะให้ความยืดหยุ่นกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาสามารถเริ่มงานสายกว่าเดิมเพื่อทดแทนเวลาที่ต้องปิดห้องธุรการช้าลงในเวลา 17.30 น. ในขณะที่เจ้าหน้าที่ไม่ต้องการเริ่มงานสายกว่าเดิม แต่ต้องการเริ่มงานเช้า เพื่อที่จะกลับบ้านไปหาครอบครัวได้เร็ว |
ได้ข้อตกลง |
เจ้าหน้าที่ธุรการจะเริ่มทำงานจนถึง 17.00 น. โดยผลัดเวรกัน พวกเขาสามารถเริ่มกะใหม่นี้หลังจากเวลางานปกติ 15 นาที และสามารถสับเวรกันเองได้ตามความจำเป็น |
ทดสอบกับมาตรฐานเชิงเป้าหมาย |
ข้อตกลงนั้นยังน่าพอใจอยู่หรือไม่ หลังจากระยะปลอดพันธะและเมื่อไปตรวจสอบความสอดคล้องกับกฎระเบียบ หรือข้อปฏิบัติที่เคยทำมาในโรงเรียน ผู้ปกครองพึงพอใจหรือไม่ มีใครเข้ามาปฏิบัติหน้าที่หลังจาก 16.30 น. หรือไม่? |
การเจรจาแบบยึดผลประโยชน์ร่วม
รูปแบบที่สองของการเจรจาคือ การเจรจาแบบยึดผลประโยชน์ร่วม. การเจรจารูปแบบนี้ค่อนข้างแตกต่างจากการเจรจาแบบยึดจุดยืน และไม่เกี่ยวข้องกับการต่อรอง และถือเป็นทักษะสำคัญที่ผู้บริหารระดับกลางต้องฝึกฝนจนชำนาญ
การเจรจาแบบยึดผลประโยชน์ร่วม แตกต่างจากการเจรจาแบบยึดจุดยืนตรงที่ไม่ได้เริ่มต้นด้วยการให้ข้อเสนอหรือจุดยืน โดยจะเริ่มจากการระบุปัญญา ความต้องการ ประเด็น ความสนใจ และข้อกังวล แทนที่จะเริ่มด้วยข้อเสนอ ฝ่ายต่าง ๆ จะให้ข้อมูลกับฝ่ายอื่น ๆ เกี่ยวกับความต้องการ ข้อกังวล แล้วทุกฝ่ายจะร่วมกันหาทางออกให้ตรงตามความต้องการของแต่ละฝ่าย เพื่อประโยชน์ของโรงเรียน ในการเจรจาแบบยึดผลประโยชน์ร่วม ทุกฝ่ายจะเจรจากันตามเส้นแกนความร่วมมือ (integrative axis) ดังแผนภาพข้างต้น
ยกตัวอย่างเช่น ในการซื้อคอนโดมีเนียม หากเป็นการเจรจาแบบยึดจุดยืน การต่อรองจะเริ่มจากนายหน้าจะเสนอราคากับท่าน ท่านก็จะหาจุดยืนของตน ด้วยการให้ราคาต่อรองที่ถูกลง เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ในการเจรจาแบบยึดผลประโยชน์ร่วม นายหน้าจะไม่เริ่มจากการเสนอราคากับท่าน แต่จะขอให้ท่านอธิบายว่าท่านกำลังมองหาอะไรที่ท่านต้องการสำหรับคอนโด และท่านก็จะไม่เริ่มต้นด้วยการต่อรองราคา แต่จะเริ่มด้วยการถามข้อมูลเกี่ยวกับคอนโด และทำไมเจ้าของเดิมถึงต้องการขาย กระบวนการนี้อาจจะใช้เวลาและรวมถึงการหาข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของเจ้าของคอนโดจากแหล่งต่าง ๆ และการสำรวจคอนโดอื่น ๆ ในตลาด เพื่อให้มั่นใจว่าท่านมีความเข้าใจในความต้องการของท่านอย่างชัดเจน ราคาเป็นปัจจัยสุดท้ายที่จะนำมาพูดคุยกันหลังจากที่แต่ละฝ่ายได้ทำความเข้าใจในความต้องการซึ่งกันและกันเป็นอย่างดีแล้ว
เหตุการณ์ |
ข้อเสนอแนะ |
เริ่มด้วยการพูดถึงความต้องการของแต่ละฝ่าย อย่าเริ่มต้นด้วยการยื่นเสนอ เลื่อนการยื่นข้อเสนอไปช่วงหลัง |
แทนที่จะเริ่มต้นด้วยการบอกเจ้าหน้าที่ธุรการว่า เขาต้องการให้เปิดทำการจนถึง 17.30 น. จิรายุจะเริ่มด้วยการเรียกประชุมเจ้าหน้าที่ธุรการ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์และหาสาเหตุว่า เพราะเหตุใดห้องธุรการจึงปิดทำการเร็ว มีปัญหาอะไรในอดีตที่ผ่านมาหรือไม่? |
เริ่มต้นด้วยความต้องการและผลประโยชน์-ไม่ใช่จุดยืน รับมือกับคน-ไม่ใช่ปัญหา |
เจ้าหน้าที่ธุรการมีภาระผูกพันกับกิจกรรมอื่น ๆ หรือไม่ หรือพวกเขามีเหตุผลส่วนตัวที่ทำให้ต้องรีบออกจากโรงเรียนเร็ว ข้อกังวลของพวกเขาคือออะไร? |
สร้างทางเลือกสำหรับผลประโยชน์ร่วม |
หลังจากการทำงานร่วมกัน จิรายุและเจ้าหน้าที่ธุรการได้ริเริ่มแผนที่จะให้ห้องธุรการเปิดจนถึงเวลา 17.00 น. และเพื่อเป็นการชดเชยเวลาที่เจ้าหน้าที่ต้องทำงานเพิ่มขึ้น เจ้าหน้าที่จะได้รับวันลางานพิเศษเพิ่มขึ้นเดือนละ 1 วัน |
ได้ข้อตกลง |
ทั้งสองฝ่ายยอมรับทางแก้ปัญหา |
การทดสอบสภาพจริง |
ข้อตกลงนั้นยังน่าพอใจอยู่หรือไม่หลังจากระยะปลอดพันธะ และคุ้มค่าหรือไม่ที่จะเปิดห้องธุรการจนถึงเวลา 17.00 น. พ่อแม่ผู้ปกครองมาใช้บริการห้องธุรการในช่วงเวลานี้หรือไม่ |
ทดสอบกับมาตรฐานเชิงเป้าหมาย |
ข้อตกลงนี้ยังคงใช้ได้หลังจากผ่านช่วงผ่อนปรนหรือไม่ และเมื่อวัดกับแบบอย่างหรือมาตรฐานอื่นๆ ที่ทราบ |
นักเจรจาแบบยึดผลประโยชน์ร่วมเริ่มต้นด้วยการมุ่งเน้นไปที่ความต้องการที่ต้องการบรรลุ เพื่อที่จะนำไปสู่ทางออกของปัญหา หลักสำคัญของงานของผู้อำนวยการโรงเรียนคือ การเจรจาเป็นโอกาสในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน แทนที่จะเป็นโอกาสการเอาชนะของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การเน้นไปที่ผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายในการเจรจา ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ทุกฝ่ายจะพบทางออกที่มองไม่เห็นชัดในตอนต้น บทบาทของผู้อำนวยการโรงเรียน ไม่ใช่การเอาชนะครูหรือบุคลากร แต่เป็นการนำไปสู่การตัดสินใจผ่านความพยายามเป็นร่วมมือรวมพลังกัน
เป้าหมายของนักเจรจาแบบยึดผลประโยชน์ร่วมคือ:
ข้อดีและข้อเสียของการเจรจาแบบยึดผลประโยชน์ร่วม:
ข้อดี:
ขั้นตอนที่เคลื่อนไปตามแกนความร่วมมือ เพิ่มโอกาสให้ทุกฝ่ายได้ข้อตกลงที่พึงพอใจ
ทำให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของอารมณ์ความรู้สึก แทนที่การจำกัดอยู่กับเพียงเหตุและผล
บังคับให้ทุกฝ่ายต้องคำนึงถึงว่า สิ่งใดทำให้อีกฝ่ายพึงพอใจ
บังคับให้ทุกฝ่ายต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ในอนาคต
ข้อเสีย:
ในการเจรจาบางครั้ง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (หรือทั้งสองฝ่าย) อาจต้องการลงโทษอีกฝ่าย การเจรจาแบบยึดผลประโยชน์ร่วมอาจเกิดสถานการณ์ “การรังแกกัน” และอาจสร้าง “ความยุ่งเหยิง” เนื่องจากต้องรับมือกับประเด็นทางอารมณ์ความรู้สึก
แผนภาพต่อไปนี้แสดงภาพความแตกต่างระหว่างการเจรจาแบบยึดผลประโยชน์ร่วมและการเจรจาแบบยึดจุดยืน
การเจรจาแบบยึดผลประโยชน์ร่วม (ความร่วมมือ) |
การเจรจาแบบยึดจุดยืน (ความแบ่งแยก) |
แยกแต่ละฝ่ายออกจากปัญหา |
ทั้งสองฝ่ายแสดงจุดยืน |
เน้นที่ผลประโยชน์ไม่ใช่จุดยืน |
เน้นที่สิ่งที่อีกฝ่ายเสนอว่าเป็นทางออก |
สํารวจทางเลือก (สร้างทางเลือก) |
กําหนดขอบเขตที่ยอมรับได้ของแต่ละฝ่าย |
เปรียบเทียบมาตรฐานเชิงเป้าหมายกับทางเลือก |
เปรียบเทียบมาตรฐานเชิงเป้าหมายกับทางเลือก |
ที่โต๊ะเจรจา: ขั้นตอนของการเจรจา
ขั้นที่ 1: จับเข่าคุยกัน (Settling down)
สร้างความคุ้นเคย ทุกฝ่ายในการเจรจาต้องมองเห็นว่าทุกคนคือเพื่อนร่วมงาน
ขั้นที่ 2: แถลงจุดยืน (Positions Statement)
ผู้ร่วมเจรจาแต่ละคนผลัดเปลี่ยนกันเล่ากรณีของตน ควรใช้เวลาไม่เกินคนละ 5 นาที จดบันทึกได้
ขั้นที่ 3: เน้นที่จุดสำคัญและปรับกรอบความคิด (Focusing Attention & Reframing)
ผู้ร่วมเจรจาทุกคนรับรู้ประเด็นสำคัญของแต่ละคน อาจเขียนบนกระดานไวท์บอร์ดก็ได้ ถ้าไม่ได้มีการจัดบันทึก อาจจะให้ผู้เข้าร่วมเจรจาปรับกรอบความคิดทีละคนก็ได้ การปรับกรอบความคิดคือ การแสดงความเข้าใจจุดยืนของฝ่ายอื่น
ขั้นที่ 4: เปิดเผยข้อสันนิษฐาน (Suspending Assumption)
ชี้แจงข้อสันนิษฐานที่มี โดยเปิดเผยข้อสันนิษฐานของตนต่อหน้าให้ทุกคนเข้าใจอย่างชัดเจน ผู้เข้าร่วมแต่ละคนควรผลัดเปลี่ยนกันทำเช่นนี้ กิจกรรมนี้อาจจำเป็นต้องทำซ้ำหลายครั้งระหว่างกระบวนการเจรจา เนื่องจากข้อสันนิษฐานอาจเปลี่ยนแปลงไปได้
ขั้นที่ 5: พิจารณาข้อเสนอ (Consider the Offer)
ประเมินหรือเปรียบเทียบข้อเสนอของผู้เข้าร่วมเจรจาแต่ละเรื่องอย่างถี่ถ้วน
ขั้นที่ 6: ระบบประเด็น (Identify Issues)
ระบุประเด็นที่จะต้องพิจารณา ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการ ความกลัวและความกังวล
ขั้นที่ 7: สร้างทางเลือก (Generate Options)
ทำข้อตกลงร่วมกัน และทดสอบกับสภาพจริง
ข้อเตือนใจ: การยึดสถานการณ์
คอยตรวจสอบเป็นระยะว่า การเจรจาที่กำลังทำอยู่สอดคล้องกับสถานการณ์หรือไม่ นั่นคือ เรื่องที่กำลังพูดคุยกันอยู่เกี่ยวข้องอย่างเฉพาะเจาะจงกับประเด็นสำคัญที่กำลังเจรจาอยู่หรือไม่
รายการอ้างอิง
ที่มา ; Thailandleadership