กิจกรรมพิเศษ คิดด้วยภาพ ( Visual Thinking) ใน หัวข้อ " ก้าวสู่การเป็นครูต้นแบบคุณธรรม "
1.คิดด้วยภาพ หรือ Visual Thinking คือ
กระบวนการออกแบบความคิด ที่จะช่วยสร้าง “วิธี” คิดใหม่ให้เราคิดและมองอะไรชัดขึ้น ง่ายขึ้น เห็นความเชื่อมโยงในสิ่งต่างๆ
-ใช้ภาพช่วยเล่าเรื่อง (Visual Aid for Storytelling)
-ช่วยระดมไอเดียด้วยภาพ (Visual Facilitation)
-ช่วยการสรุปสาระ (Visual Accelerated Classroom)
2. หลักการของการคิดด้วยภาพ
- ไม่ว่าอะไรก็ลองวาดเป็นภาพ ข้อความหนึ่งประโยคควรมีข้อมูลที่ต้องการถ่ายทอดเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น
ง่ายสุดใช้แผนภาพพื้นฐาน วงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยม แล้วนำมาเลือกรูปแบบ เช่น แบบการจัดกลุ่ม แบบความคิดรวบยอด แบบการจัดลำดับ หรือแบบวงกลม
องค์ประกอบ 3 ส่วนที่ต้องคำนึงถึง
1) ใจความหลัก ประเด็นเดียว
2)ใจความรอง ขยายใจความหลัก และ
3) ข้อความสนับสนุน
แผนภาพที่ดี
- ต้องคิดแบบตรรกะเพื่อได้รับการยอมรับมากขึ้น หรือเป็นแผนภาพเพื่อการวิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือประเมินค่า
3. วัตถุประสงค์ ของกิจกรรมพิเศษรายการนี้
- ให้ช่วยกันสร้างความรู้แจ้งรู้จริงทั้งด้านกว้างและลึกเกี่ยวกับชีวิตของตนเองและผู้อื่น
- การพัฒนาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ เช่นทักษะการเรียนรู้การใช้สื่อและเทคโนโลยีและทักษะชีวิตของตนเอง
- พัฒนาสมรรถนะหลัก ทางด้านสติปัญญา ได้ทบทวนชีวิตตนเอง ใช้กระบวนการคิด วิพากษ์ สำรวจสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ร่วมกันกับผู้อื่น (Active Learning) ผ่าน การอภิปรายกลุ่ม การจัดทำแผนที่ความคิด การระดมสมอง
4. ขั้นตอนของการระดมสมอง
- หลังจากสมาชิกแต่ละคน เขียนคำตอบให้มากเท่าที่จะคิดได้ ลงในแผ่นกระดาษรายบุคคล
-ให้กลุ่มนำคำถามแต่ละช่อง มาช่วยกัน ตั้งคำถามตามตัวอย่างการตั้งคำถาม ที่ดี และช่วยกันสรุปคำตอบ ลงใน 4-8 ช่อง สำหรับรายการนี้ใช้ 6 ช่อง
สิ่งสำคัญในการระดมสมองหรือระดมความคิด คือ
- ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
- ไม่มีการตั้งกรอบ หรือประเมินถูกผิดขณะระดมความคิด
-ไม่มีการอภิปรายความเห็น
• เสนอความเห็นให้สั้น กระชับ ซึ่งผู้บันทึกสามารถบันทึกได้ใน 1 บรรทัด
• ไม่มีการแก้ไขถ้อยคำในการบันทึก ให้ใช้ถ้อยคำของผู้เสนอ
• สามารถพัฒนาความคิด หรือต่อยอดจากสิ่งที่ผู้อื่นเสนอมาได้
• เน้นให้ได้จำนวนมากที่สุด โดยไม่ต้องกังวลเรื่องคุณภาพของความคิด
• ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และอารมณ์ขัน
ให้สมาชิกแต่ละคนใช้กระดาษคนละ1 แผ่น พับ ให้เป็น 6 ช่อง (6 Quadrants)
- ให้วางแผนร่วมกันกำหนดประเด็นย่อยที่จะบรรจุในแต่ละช่อง
จากนั้นให้แต่ละคนถ่ายทอดข้อคิด ข้อเสนอเป็นรายบุคคลก่อน เป็นฐานข้อมูลของบุคคลนั้น ใน 6 ช่อง
หลังจากสมาชิกทุกคนจัดการฐานข้อมูลส่วนบุคคลเสร็จแล้ว
- ให้นำข้อมูลของทุกคนมาใส่เป็นฐานข้อมูลของกลุ่ม ใน 6 ช่อง โดยไม่ตัดสาระของผู้ใดออกไป
- จากนั้นจึงระดมสมอง เพื่อจัดระเบียบข้อมูล ไม่ให้ซ้ำซ้อน เรียงลำดับตามความสำคัญ ซึ่งเป็นแผ่นรวมของกลุ่ม
แผ่นข้อมูลของกลุ่มหลังที่สรุปกันลงตัว จะมี 2 แผ่น คือ
แผ่นที่ 1 ถอดรหัส เป็นเนื้อหาสาระ (Words)
แผ่นที่ 2 สรุปให้เป็นจากแผ่นแรก คิดออกมาด้วยภาพ (Scenario ฉากทัศน์) เพื่อสะท้อนว่ากลุ่มออกแบบชีวิตครูได้แล้ว
วิทยากรต้องช่วยตั้งประเด็นในการจัดทำสาระ
o ช่องที่ 1 ความดี- คนดี- ดีอย่างไร: ดีตามหลักคุณธรรม,จริยธรรม,จรรยาบรรณวิชาชีพ, วินัย,ธรรมาภิบาล,และระบบคุณธรรม, ประเมินครูดีด้วยอะไร
o ช่องที่ 2 ความชั่ว-คนชั่ว-เลวร้ายที่ตรงไหน: ญหาความไม่ซื่อสัตย์สุจริต, เล่นพวก, ความไม่เป็นธรรม, ฯลฯ
o ช่องที่ 3 การกำกับจริยธรรมและจรรยาบรรณครู: คุรุสภาบทบาทกำกับจรรยาบรรณครู, การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู, ทำไมครูชอบลงโทษทำร้ายเด็ก, ช่องที่ 4 จะใช้กระบวนอะไรขัดเกลาให้เป็นครูดีมีคุณธรรม : ปัญหาครูดีมีวินัยทำได้อย่างไร, บทบาทของสถานศึกษา, การลงโทษครูที่กระทำผิด ฯลฯ ช่องที่ 5 การเป็นต้นแบบที่ดีของครู :มีจิตสํานึกสาธารณะ , เสียสละให้กับสังคม,ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน, มีคุณธรรม จริยธรรมในการดํารงชีวิต, การทํางานในโรงเรียน ฯลฯ
oช่องที่ 6 วิธีสอนและพัฒนาลูกศิษย์: สอนคุณธรรมตามระดับอายุ, วิธีสอนคุณธรรมในโรงเรียน, ปัญหาเด็กที่พบบ่อย, การส่งเสริมทางบวก, ฯลฯ
นี่คือผลงานของนักศึกษา ที่ทำภายในเวลา 100 นาที