ค้นหา

ครม.เห็นชอบให้ จ.บุรีรัมย์ เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 26 มีนาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบการกำหนดให้ จ.บุรีรัมย์ เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (คณะกรรมการนโยบาย) เสนอ โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ (สถานศึกษานำร่อง 83 แห่ง) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2568-2569 รวมจำนวน 18,600,000 บาท โดย ศธ.จะขอรับการจัดสรรงบประมาณตามชั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

นายคารมกล่าวว่า ปัจจุบันมีการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 19 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดจันทบุรี ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี สุโขทัย แม่ฮ่องสอน กระบี่ ตราด สระแก้ว สตูล ระยอง ศรีสะเกษ กาญจนบุรี เชียงใหม่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ทั้งนี้ การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจะส่งผลให้สถานศึกษานำร่องในพื้นที่สามารถจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่โดยสามารถบริหารจัดการการศึกษาได้อย่างอิสระ ยืดหยุ่น คล่องตัวไม่ต้องอิงกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น หรือไม่เอื้อจากส่วนกลาง

นายคารมกล่าวต่อว่า เช่น การเลือกใช้หลักสูตร/สื่อการเรียนการสอนออกแบบการทดสอบเฉพาะพื้นที่ได้ สถานศึกษาได้งบพัฒนาเป็นวงเงินรวม (Block Grant) มีช่องทางผลักดันการบริหารงานบุคคลให้เหมาะสมกับพื้นที่ สามารถปรับลดและยกเลิกโครงการที่เพิ่มภาระงานครูและส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกลไกการจัดการศึกษาระหว่างภาครัฐ อปท. ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อผู้เรียน สถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

จ.บุรีรัมย์ มีความพร้อมในการจัดตั้งเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เนื่องจากมีแนวทางการดำเนินงานตรงกับแนวคิดหลักของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มีแนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา มีแนวทางลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา มีภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วนในการให้ความร่วมมือจัดการศึกษา มีหน่วยงานที่มีความเข้าใจเป้าหมายและหลักการสำคัญของการเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พร้อมให้คำปรึกษา ชี้แนะ และเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ อีกทั้ง ยังมีแผนการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่ชัดเจน” นายคารมกล่าว 

ครม.ไฟเขียว บุรีรัมย์ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดที่ 20 ใช้หลักสูตรเหมาะกับพื้นที่ได้

มติชนออนไลน์ วันที่ 26 มีนาคม 2567 

 

เกี่ยวข้องกัน

ครม.ไฟเขียว บุรีรัมย์ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดที่ 20 ใช้หลักสูตรเหมาะกับพื้นที่ได้

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 26 มีนาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบการกำหนดให้ จ.บุรีรัมย์ เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (คณะกรรมการนโยบาย) เสนอ โดยประมาณการค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ (สถานศึกษานำร่อง 83 แห่ง) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2568-2569 รวมจำนวน 18,600,000 บาท โดย ศธ.จะขอรับการจัดสรรงบประมาณตามชั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป 

นายคารมกล่าวว่า ปัจจุบันมีการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 19 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดจันทบุรี ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี สุโขทัย แม่ฮ่องสอน กระบี่ ตราด สระแก้ว สตูล ระยอง ศรีสะเกษ กาญจนบุรี เชียงใหม่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ทั้งนี้ การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจะส่งผลให้สถานศึกษานำร่องในพื้นที่สามารถจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่โดยสามารถบริหารจัดการการศึกษาได้อย่างอิสระ ยืดหยุ่น คล่องตัวไม่ต้องอิงกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น หรือไม่เอื้อจากส่วนกลาง

นายคารมกล่าวต่อว่า เช่น การเลือกใช้หลักสูตร/สื่อการเรียนการสอนออกแบบการทดสอบเฉพาะพื้นที่ได้ สถานศึกษาได้งบพัฒนาเป็นวงเงินรวม (Block Grant) มีช่องทางผลักดันการบริหารงานบุคคลให้เหมาะสมกับพื้นที่ สามารถปรับลดและยกเลิกโครงการที่เพิ่มภาระงานครูและส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกลไกการจัดการศึกษาระหว่างภาครัฐ อปท. ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อผู้เรียน สถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา 

จ.บุรีรัมย์ มีความพร้อมในการจัดตั้งเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เนื่องจากมีแนวทางการดำเนินงานตรงกับแนวคิดหลักของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา มีแนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา มีแนวทางลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา มีภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วนในการให้ความร่วมมือจัดการศึกษา มีหน่วยงานที่มีความเข้าใจเป้าหมายและหลักการสำคัญของการเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พร้อมให้คำปรึกษา ชี้แนะ และเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ อีกทั้ง ยังมีแผนการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่ชัดเจน” นายคารมกล่าว 

ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 26 มีนาคม 2567 

เกี่ยวข้องกัน

มติครม.จี้สพฐ.เตรียมแผนตั้ง ‘บุรีรัมย์’ จังหวัดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา  

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหาร ศธ.ว่า ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุมัติงบประมาณและโครงการตามที่ ศธ.เสนอในหลายโครงการ ได้แก่ การอนุมัติงบประมาณปี 2568 กว่า 2.9 พันบ้านบาท สำหรับอุดหนุนค่าอาหารกลางวันของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กว่า 575,938 คนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และกรุงเทพมหานคร โครงสร้างอัตราตามขนาดโรงเรียน แบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ จำนวนนักเรียน 1-40 คน 36 บาท/คน/วัน จำนวนนักเรียน 41-100 คน 27 บาท/คน/วัน จำนวนนักเรียน 101-120 คน 24 บาท/คน/วัน จำนวนนักเรียน 121 คนขึ้นไป จำนวน 22 บาท/คน/วัน อย่างไรก็ตามในส่วนของสถานศึกษาในสังกัด ศธ. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง สพฐ. ก็ต้องไปเตรียมความพร้อมเพื่อรับการอุดหนุนต่อไป

พล.ต.อ.เพิ่มพูนกล่าวต่อว่า นอกจากนี้อนุมัติงบประมาณสำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรงให้ครบทุกโรงเรียนโดยในปี 2567 ศธ.ได้ทำการของบประมาณเพิ่มเติมไปที่สภาผู้แทนราษฎรนั้น ไม่ได้รับการอนุมัติ จึงได้ทำการของบประมาณเพิ่มเติมไปที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกครั้ง เพื่อทำเรื่องของบกลางดังกล่าวแก่ ครม.อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่เปิดภาคการศึกษาในเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2567 โดยรวมเป็นงบประมาณกว่า 639,450,000 บาท เพื่อครอบคลุมโรงเรียนที่ขาดแคลนนักการภารโรงกว่า 14,210 อัตรา ทั้งนี้ ครม.ได้อนุมัติในหลักการ งบประมาณปี 2568 จัดจ้างนักการภารโรง จำนวน 25,370 อัตรา เป็นเงินจำนวน 2,739,960,000 บาท โดยจะเริ่มดำเนินการจัดจ้างได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568

นอกจากนี้ยังมีเรื่องการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบในการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ โดยจะเป็นจังหวัดที่ 20 ซึ่งถือเป็นการดำเนินการต่อเนื่อง ซึ่งจากนี้จะต้องนำมติ ครม.ไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทำคู่ขนานไปกับการขับเคลื่อนโดยศึกษาธิการจังหวัด ขณะที่ สพฐ.ก็จะต้องไปประเมินผลการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 19 จังหวัดในปี 2566 รวมถึงวางแผนการดำเนินงานในปี 2567 ด้วย นอกจากนี้ยังอนุมัติขยายกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่นที่ 4 ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2567-2569 โดยขอผูกพันงบประมาณข้ามปีสำหรับการดำเนินโครงการ กรอบวงเงินงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 5.51 ล้านบาท โดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) จะเป็นผู้ขอตั้งงบประมาณเป็นรายปีตามขั้นตอนวิธีการงบประมาณในภาพรวม เพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินโครงการ และไม่กระทบต่อการศึกษาของผู้รับทุนตามสิทธิที่ได้รับ” รัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าว

มติชนออนไลน์ วันที่ 27 มีนาคม 2567