ค้นหา

กฎ ก.พ. เกี่ยวกับการจัดประเภทและระดับตำแหน่ง และการได้รับเงินประจำตำแหน่งพ.ศ. ๒๕๖๗

 

 

 

สรุปสาระสำคัญ

กฎ ก.พ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. 2567 และกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2567  

 

1.ประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง

  • ตำแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ ได้แก่ ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น และตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง
  • ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มี 2 ระดับ ได้แก่  ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น และตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง
  • ตำแหน่งประเภทวิชาการ มี 5 ระดับ ได้แก่ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ  ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ 
  • ตำแหน่งประเภททั่วไป มี 4 ระดับ ได้แก่ ตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน  ตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงาน  ตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส  ตำแหน่งประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ   

 

2.การได้รับเงินประจำตำแหน่ง

  • ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น และตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง
  • ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น และตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง
  • ตำแหน่งประเภทวิชาการ
  • ตำแหน่งประเภททั่วไป

กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๖๗ และกฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๖๗ คลิก >>>

เกี่ยวข้องกัน

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง ซึ่งลงนามโดย นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธาน ก.พ. 

สำหรับกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินประจำตำแหน่ง ฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ซึ่งก็คือ วันที่ 30 มีนาคม 2567

เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๕. วรรคสามและวรรคสี่ บัญญัติว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญอาจได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กพ. กำหนด และผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด จะได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้ ในอัตราใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้

กฎ ก.พ. ฉบับนี้ ระบุว่า ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสายงานตามบัญชีกำหนด สายงานที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งท้ายกฎ ก.พ. นี้ ในตำแหน่งประเภทใด ระดับใด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญในอัตรา ดังนี้

(๑) ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑0,๐๐๐ บาท   

 

๒) ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ซึ่งมิใช่ตำแหน่งตาม (๓) ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง ในอัตรา ๑๔,๕๐๐ บาท

(๓) ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ดังต่อไปนี้ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๒๑,๐๐๐ บาท

(ก) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง

(ข) หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวงตามที่ ก.พ.กำหนด

(ค) ตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ตามที่ ก.พ. กำหนดให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตราเดียวกันนี้

ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท

(๕) ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๐,๐๐๐ บาท

(๖) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๓,๕๐๐ บาท

(๗) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๕,๖๐๐ บาท

(๘) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท

(๙) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๓,๐๐๐ บาท

(๑๐) ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์ ทักษะ  และสมรรถนะตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๑๕,๖๐๐ บาท

(๑๑) ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา ๙,๙๐๐ บาท 

คลิกดูเพิ่มเติมจากราชกิจจานุเบกษา