ค้นหา

Climate Education: การศึกษาที่จำเป็นยิ่งสำหรับคนรุ่นต่อไป

นับว่าโชคดีมากที่ผมได้ไป visiting UCSD ช่วงใกล้ Earth Day พอดี เลยได้เข้าร่วมกิจกรรมหลายอันเกี่ยวกับ climate change 

ที่สนุกและได้ความรู้มากคือ workshops เกี่ยวกับ Climate Education ที่มหาวิทยาลัยจัดให้คณาจารย์จากหลากหลายคณะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเกี่ยวกับการสอนเรื่อง climate change 

ใน University of California System การจัดการศึกษาเกี่ยวกับ climate change ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเขาคิดว่า climate change เป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ คนรุ่นต่อไปจึงต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ climate change ต้องมีทักษะชีวิตที่จะปรับตัวได้อย่างเท่าทัน ต้องมีวิถีชีวิตที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญที่สุด จะต้องมี inspiration ที่จะมาร่วมกันแก้ไขปัญหา climate change ด้วย

UCSD มุ่งหวังให้นักศึกษาไปสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม ผมชอบคำขวัญที่บอกว่า “Climate education is climate action” 

ที่ UCSD มีวิชาระดับปริญญาตรีที่สอนเกี่ยวกับ climate change ประมาณ 40 กว่าวิชา กระจายอยู่ใน major ต่างๆ ของทุกคณะ ไม่ว่าจะเป็นสายวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือแม้กระทั่งจิตวิทยา อาจารย์หลายท่านบอกว่า UCSD ยังมีวิชาน้อยเกินไป เพราะที่ UC Berkeley มีวิชาเกี่ยวกับ climate change มากถึง 161 วิชา 

นอกจากวิชาที่กระจายอยู่ตาม major ในคณะต่างๆ แล้ว climate education ที่ UCSD ยังมีกระบวนวิชาพื้นฐาน (general education) ที่นักศึกษาปี 1 ทุกคนต้องเรียน และยังมี climate change theme สำหรับการจัดการศึกษาในบาง house เพื่อให้นักศึกษาที่พักอยู่ใน house นั้นๆ มี focus เกี่ยวกับ climate change ไม่ว่าจะเป็นใน writing classes หรือการปรับวิถีชีวิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับประชาชนทั่วไป UCSD ก็มีหลักสูตร Bending the Curve ที่สามารถเรียนได้แบบทางไกลอีกประมาณ 40 วิชา 

เพื่อให้แน่ใจว่า climate education จะได้ผลตามเป้าหมายที่วางไว้ หลักสูตรเกี่ยวกับ climate change ที่ UCSD จะให้ความสำคัญกับ 4 องค์ประกอบหลัก คือ 

1) ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เพราะ climate change เป็นการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ ถ้านักศึกษาขาดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องแล้ว จะไม่สามารถเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศในอนาคตได้เลย ดังนั้นไม่ว่าจะ major สายศิลปะ หรือสังคมศาสตร์ ก็ต้องมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ climate change ด้วย 

2) ความรู้ด้านมนุษยวิทยา และสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ climate change เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาะภูมิอากาศจะมีผลกระทบต่อมนุษยชาติ การจะปรับตัวให้เท่าทันกับ climate change และการปรับวิถีชีวิตเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้น จะต้องเข้าใจเรื่องพฤติกรรมของคน และการสร้างแรงจูงใจให้เหมาะสม มีคำพูดที่ว่า “climate change is simple physics, but complicated politics” นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานเกี่ยวกับ climate change จึงต้องเข้าใจเรื่องของคนและสังคมเช่นกันจึงจะสร้าง impact ได้ 

3) Climate solutions หลักสูตรด้าน climate change จะต้องเน้นไปที่การหาทางออกจากปัญหาที่เราเผชิญอยู่ และที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะสอนให้นักศึกษาเพียงแค่มีความรู้ไม่พอ จะต้องทำให้นักศึกษาตระหนักว่า solutions จะต้องเป็น collective actions ของคนกลุ่มใหญ่ และต้องประกอบด้วยทั้งมิติด้าน

วิทยาศาสตร์และไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ที่สำคัญที่สุด คือจะต้องทำให้นักศึกษาเกิด inspiration ที่จะคิด climate change solutions สำหรับอนาคต 

4) Project-based learning เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์จริงผ่านการทดลองทำ เกิดทักษะในการนำความรู้ไปปฏิบัติในโลกจริง เข้าใจข้อจำกัดต่างๆ โดยเฉพาะข้อจำกัดทางการเมืองและสังคม และเรียนรู้ที่จะออกแบบ incentive structure เพื่อให้เกิด impact ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 

การออกแบบหลักสูตร และวิชาเกี่ยวกับ climate change ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถ้าคิดแต่จะเพิ่มจำนวนวิชาที่นักศึกษาต้องเรียน ก็จะทำให้นักศึกษาไม่สามารถจบได้ในสี่ปี ซึ่ง UCSD ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก 

ดังนั้น อาจารย์จะต้องหาทางที่จะนำเรื่อง climate change เข้าไปอยู่ในหลักสูตร และวิชาต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งจะต้องหาทางออกแบบรายวิชาใหม่ โดยเฉพาะวิชาที่มีลักษณะเป็นพหุศาสตร์ หรือ multidisciplinary มากขึ้น เพราะการสร้างความเข้าใจและการแก้ปัญหาเรื่อง climate change ต้องมองแบบพหุศาสตร์

ดังนั้นโจทย์ที่ยากที่สุดคือ มหาวิทยาลัยจะช่วยคณาจารย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (และมีงานเต็มมืออยู่แล้ว) ให้ปรับเปลี่ยนวิชาของตัวเอง รวมทั้งมาทำงานร่วมกันเพื่อสร้าง climate education ตามที่ต้องการได้อย่างไร เรื่องนี้เป็นความท้าทายที่ยากมาก 

ที่ UCSD จึงมีหลายกลไกที่จะช่วยคณาจารย์ ตั้งแต่มีคณะทำงานกลางที่ ประกอบด้วยผู้บริหารและอาจารย์ที่ high profile และ highly motivated ในเรื่องนี้ จัดให้มีทุนวิจัยจำนวนมากพอเกี่ยวกับ climate change เพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ทำวิจัยโดยเฉพาะในลักษณะที่เป็น multidisciplinary จัดให้มีทีมงานช่วย coach อาจารย์ในการออกแบบปรับปรุงวิชาที่สอนอยู่ และจัด workshops ให้คณาจารย์จากหลากหลายคณะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปด้วยกัน 

ผมไปนั่งฟัง workshops อยู่หลายอัน ได้เห็นทั้งพลัง ความมุ่งมั่น และความลึกซึ้งของคณาจารย์ที่ร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องนี้ บางท่านเล่าให้ฟังว่าจะวัดผลการเรียนของนักศึกษาจาก inspiration ในการหาทางแก้ปัญหามากกว่าวัดที่ความรู้ 

อาจารย์หลายท่านเตือนว่าต้องระวังไม่ให้นักศึกษาเกิด climate anxiety เพราะเมื่อเริ่มเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงของ climate change ที่จะต้องเผชิญในอนาคตแล้ว นักศึกษาหลายคนถึงกับกังวลและ depressed ไปเลย 

ดังนั้นการสอนเกี่ยวกับ climate change จะต้องสร้างการตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาที่นักศึกษาจะต้องเจอในอนาคต ไปพร้อมกับการสร้างพลังบวกให้เกิดขึ้นให้ได้ เรื่องของการสร้างความหวัง (active hope) และการหา solutions ผ่าน project-based learning จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก 

เรื่อง Climate Education นี้เป็นโจทย์ใหญ่ที่สถาบันการศึกษาในบ้านเราอาจจะยังไม่ได้คิดกันจริงจัง มีการบ้านที่ต้องทำร่วมกันอีกมากในขณะที่เวลาก็เหลือน้อยลงเรื่อย ๆ นอกจากเรื่อง mitigation แล้ว เราจะต้องเน้นไปที่ adaptation to climate change ด้วย เพราะจะมีผลกว้างไกลต่อความมั่นคงของชีวิต สังคม และเศรษฐกิจของพวกเราทุกคนโดยเฉพาะคนรุ่นต่อไปๆ 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง https://web.facebook.com/veerathai.santiprabhob 

บทความโดย ดร.วิรไท สันติประภพ 

ที่มา ; thaiplubica 2 พฤษภาคม 2024

เกี่ยวข้องกัน

ขับเคลื่อน Climate Education สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม 

เมื่อวันที่ มิ.ย. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาร่วมกับองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยจัดการประชุมสภาการศึกษาเสวนา (OEC Forum) ในหัวข้อเรื่อง Climate Education แค่เรียนก็เปลี่ยนโลกได้ ที่ โรงแรม เดอะ สุโกศล โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นกว่า 200 คน โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ สร้างความตระหนักให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญและผลกระทบของปัญหาโลกเดือด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลไปทุกมิติ รวมทั้งการศึกษา และระดมความคิดเห็นในการนำภาคการศึกษาและเยาวชนเข้าไปอีกหนึ่งแกนหลักในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าว 

ศึกษา (สกศ.) พยายามศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบของปัญหาโลกเดือด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อการศึกษา รวมทั้งภาคการศึกษาจะเข้ามามีส่วนร่วมในการลดผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร โดยมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการนำภาคการศึกษาเข้าไปช่วยในการลดผลกระทบของปัญหาดังกล่าว สกศ. จึงได้ชวนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เห็นความสำคัญของปัญหาโลกเดือด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมมือในการขับเคลื่อนแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในมิติด้านการศึกษา ทั้งนี้ สกศ. และองค์การยูนิเซฟ ตกลงร่วมกันจะจัดงานในวันที่ 5 มิ.ย. ซึ่งตรงกับวันสิ่งแวดล้อมโลก เป็นจุดเริ่มต้นในการดำเนินการอย่างจริงจัง 

ดร.อรรถพล กล่าวต่อไปว่า กิจกรรมสำคัญที่ สกศ. มีความภาคภูมิใจในงานวันนี้ คือ การเสวนาของกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่แสดงเจตจำนงอย่างชัดเจน ที่อาสาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในแก้ไขปัญหาเหล่านี้ นอกจากนี้ สกศ. ยังได้รับความร่วมมือจากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการใช้การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิด Climate Education อย่างเป็นรูปธรรม 

เลขาธิการ สกศ. กล่าวอีกว่า ข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการเสวนาดังกล่าวมีด้วยกัน 3 ประการ คือ 1.สิ่งแรกสุดที่ภาคการศึกษาจะต้องเร่งดำเนินการ คือ เปลี่ยน Mindset สร้าง Habit การแก้ไขปัญหานี้ต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกคนและทุกคนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ควรคิดว่าลำพังตัวเราเองไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ และยังต้องเปลี่ยน Mind set ไปสู่การสร้างอุปนิสัยที่ปฏิบัติได้ง่าย ปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้ เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของปัญหานี้แล้ว แต่ยังไม่มีพฤติกรรมที่ช่วยลดโลกร้อนอย่างจริงจัง 2.จุดเน้นของนโยบายการศึกษาที่ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางและเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ยังไม่มีการบูรณาการทางนโยบายระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้การทำงานยังไม่เกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง และ 3.การปรับหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนการสอนของครู แม้ว่าหลักสูตรการศึกษาจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมแล้ว แต่วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ได้ผลและให้นักเรียนเกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าจะต้องเป็นการจัดการเรียนการสอนด้วยการลงมือปฏิบัติมากกว่าการบรรยายให้นักเรียนรู้แต่เพียงอย่างเดียว 

“สกศ.ให้ความสำคัญกับเรื่องการนำการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างยิ่ง และจะประมวลข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่ได้จากการเสวนาในครั้งนี้ รวมทั้งผลการวิจัยของ สกศ. มาจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายนำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้ความเห็นชอบและสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป” 

 

ที่มา เดลินิวส์ 6 มิถุนายน 2567

เกี่ยวข้องกัน

Climate Education…แค่เรียนก็เปลี่ยนโลกได้ ถึงเวลาที่โรงเรียนไทยจะมีวิชาโลกร้อนหรือยัง 

เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ขณะที่ผมและเพื่อน ๆ ในบริษัทกำลังคิดโครงการ CSR มอบความดีให้เจ้านายในวันเกิด วันที่ 4 มิถุนายนของทุกปี ในโครงการ “Together with Love” 

ทีมงาน CSR ได้ลงสำรวจพื้นที่โรงเรียนยากจนขนาดเล็กของ สพฐ. ใกล้ ๆ เขาใหญ่ เราคิดว่าอยากระดมทุนกับระดมแรงอาสาสมัครของพนักงานในบริษัทมาปรับปรุงโรงเรียนให้ทันสมัย แต่แทนที่จะคิดกันเอง เราบอกท่าน ผอ.โรงเรียน ให้เชิญน้อง ๆ มาคุยกัน เพื่อจะได้ทราบความต้องการที่แท้จริง 

วันสำรวจ ทีมอาสาสมัคร CSR Club ลงพื้นที่พูดคุยกับนักเรียน น้อง ๆ ได้เล่าฝันให้เราฟังมากมาย คนแรกบอกว่า หนูชอบอ่านหนังสือ ฝันอยากได้ห้องสมุดดี ๆ พวกเราบอกว่าพี่ ๆ จัดให้ เราเคย renovate ห้องสมุดให้โรงเรียนยากจนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จนเป็นห้องสมุดต้นแบบของประเทศไปแล้ว 

น้องคนต่อมาบอกว่า ฝันอยากได้ห้องเรียนดี ๆ มีเครื่องเสียงชัด ๆ มีจอฉายหนัง หรือสื่อการเรียนการสอน อันนี้ เหล่าพี่ ๆ HR จิตอาสาชำนาญเดี๋ยวจัดเต็มมาให้เลย น้องอีกคนฝันว่า อยากได้ห้องนํ้าสะอาด ห้องครัว และโรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ อันนี้ทีมอาสาสมัครจากธุรกิจอาหารรับปากว่า ทำได้ เพราะทำมาหลายโรงเรียนแล้ว แต่ความฝันของน้องคนสุดท้ายนี่สิน่าสนใจ น้องบอกว่า โรงเรียนเราอยู่ติดเขาใหญ่ ซึ่งมีต้นไม้สิ่งแวดล้อมสมบูรณ์ แต่โรงเรียนเรากลับแห้งแล้ง มีแต่ลานคอนกรีตกับกอเข็มเล็ก ๆ ยิ่งเวลาเข้าแถวหน้าเสาธงจะร้อนมาก เราฝันอยากได้โรงเรียนต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม เราอยากเรียนวิชาโลกร้อน และโตขึ้นหนูอยากเป็นนักอนุรักษ์ เพื่อกลับมาดูแลอุทยานเขาใหญ่ของบ้านเกิด อาสาสมัครที่เป็นนักจัดสวนของธุรกิจโรงแรมบอกว่า เดี๋ยวพี่ ๆ ปั้นเนินและสร้างป่าในโรงเรียนให้ รับรองเหมือนจำลองเขาใหญ่มาไว้ที่นี่เลย 

ผมบอกน้อง ๆ ว่า ห้องเรียนธรรมชาติพวกพี่ ๆ เนรมิตให้น้อง ๆ ได้ไม่ยาก เดี๋ยวระดมทุนระดมคนจิตอาสาช่วยกันไม่ถึงอาทิตย์ก็เสร็จแล้ว แต่เรื่องวิชาโลกร้อน Climate Education นี่สิต้องไปกระตุ้นกระทรวงศึกษาธิการ ผมรับปากจะไปเจรจาให้ ผมและเพื่อน ๆ ใช้เวลากระตุ้นเรื่องนี้กับกระทรวงศึกษา กระทรวง อว. มากว่าสิบปีแล้ว ฝันของน้องเขาก็ยังไม่เป็นจริงเสียที ป่านนี้น้องคงเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือไม่ก็จบไปแล้ว 

ผมดีใจที่วันสิ่งแวดล้อมโลกปีนี้ วันที่ 5 มิถุนายน ทางสภาการศึกษาจัดเสวนาเรื่อง “Climate Education…แค่เรียนก็เปลี่ยนโลกได้” โดยเชิญ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ มาเล่าความคิดเปิดประเด็น และเชิญผู้ที่ผลักดันเรื่องนี้ รวมถึงผมไปร่วมขยี้รายละเอียดต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นผู้รับผิดชอบในกระทรวงให้ตื่นขึ้นมาทำฝันของน้อง ๆ ให้เป็นจริงเสียที

หวังว่าท่านผู้ใหญ่ กับผู้มีอำนาจทั้งหลายในกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เมื่อฟังเสียงกระซิบจากคนตัวเล็ก ๆ แล้ว จะตื่นขึ้นมาตอนนี้ ก็ยังไม่สายเกินไป ก่อนที่มวลมนุษยชาติจะก้าวเข้าประตูสู่ขุมนรกอเวจี…ตามที่ท่านเลขา UN กล่าวไว้ 

ที่มา เดลินิวส์ 6 มิถุนายน 2567 

เกี่ยวข้องกัน

Climate Education แค่เรียนก็เปลี่ยนโลก 

ในการเสวนา “บทบาทของเด็กและเยาวชน ในการขับเคลื่อนการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” โดยนางสาวอัซมานี เจ๊ะสือแม นางสาวภิญาดา เขจรไลย์ นางสาวณัฐธิดา รัตนสวัสดิ์ นายสรกฤช รื่นภิรมย์ โดยมีนางสาวพลอยนภัส เจริญคชฤทธิ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ในงาน Climate Education แค่เรียนก็เปลี่ยนโลกได้” OEC Forum 2024 มีข้อสรุปที่น่าสนใจดังนี้ 

เด็กในชนบทเห็นผลกระทบจากการเปลี่ยนเเปลงของสิ่งเเวดล้อมมากกว่าเด็กในเมือง เพราะใกล้ชิดกับธรรมชาติ มีพ่อเเม่เป็นเกษตรกร เห็นพ่อเเม่ต้องเปลี่ยนพันธ์พืชให้ทนต่อสภาพอากาศหรือเลิกเป็นเกษตรกร ไม่มีเงินต้องไปทำงานที่อื่น ครอบครัวเกิดความเปราะปรางมากขึ้น ส่วนเด็กในเมืองมีปัญหาเรื่องอากาศร้อนจัด มีมลพิษ ป่วยง่ายขึ้น เช่น โรคภูมิเเพ้

เด็กที่เรียนในห้องเรียนที่ไม่มีเเอร์ มีเพียงพัดลม และโรงเรียนมีต้นไม้น้อยลง ทำให้รู้สึกร้อนจนไม่มีสมาธิเรียน

ปัญหาสิ่งเเวดล้อมส่งผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบางเเละเด็กชนบท มากกว่าในเมือง นโยบายจากส่วนกลางควรให้ความสำคัญกับกลุ่มเด็กเหล่านี้

เด็กไม่ตระหนักถึงผลกระทบที่ได้รับ ไม่ถามหาสาเหตุถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ไม่ตั้งคำถามว่า ทำไมโรงเรียนถึงน้ำท่วม ทำไมอากาสถึงร้อน จึงควรจัดการศึกษาให้เด็กเห็นว่าสาเหตุปัญหาที่พบและ ภัยพิบัติที่เกิดที่รอบตัว เชื่อมโยงกับภาวะโลกร้อนอย่างไร เมื่อเชื่อมโยงได้เด็กจะเริ่มหาวิธีการหรือปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อมมากขึ้น

เยาวชนขาดส่วนร่วมในการเเก้ไขปัญหาภายในโรงเรียน ระบบในโรงเรียนไม่เอื้อให้นักเรียนกล้าคิด กล้าเเสดงออก กล้าถามว่าเหตุใดจึงเกิดปัญหาต่าง ๆ ด้านสิ่งเเวดล้อมในโรงเรียน

ข้อเสนอ

ควรให้เด็กมีส่วนร่วมตั้งเเต่กระบวนการวางเเผน

สื่อหลักควรเพิ่มเนื้อหาส่งเสริมการร่วมกันรักษ์โลกให้มากขึ้น ให้คนที่ลงมือทำรู้สึกภาคภูมิใจไม่รู้สึกเเปลกเเยก

เด็กสามารถชวนเพื่อน ชวนครอบครัว ขยายผลการดำเนินการเพื่อสิ่งเเวดล้อมเช่น การลดขยะ ลดการใช้พลังงาน เริ่มจากตนเอง เพื่อน เเละครอบครัวของเยาวชน

เด็กมีชั่วโมงเรียนมากเกินไป ไม่มีเวลาไปสนใจเรื่องอื่นนอกจากเรื่องเรียน ควรส่งเสริมกิจกรรม สร้างการเรียนรู้เรื่องสิ่งเเวดล้อมนอกห้องเรียน ทำโครงงานที่ลงมือทำเพื่อช่วงสิ่งเเวดล้อม การให้เด็กเรียนรู้อาชีพที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเเวดล้อมเพื่อสร้างมุมมองใหม่ ๆ

ผู้บริหาร ผู้ใหญ่ควรเปิดใจยอมรับเเละขยายผล สานต่อโครงการของนักเรียน เด็กมีโครงงาน มีไอเดียด้านสิ่งเเวดล้อมเเต่ไม่มีงบประมาณ ไม่ได้รับการสนับสนุน เมื่อเด็กเรียนจบไปเเล้วโครงงานไม่รับการสานต่อ 

 

 

ที่มา ; FB ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr. Suvit Maesincee