ค้นหา

ป.ป.ช. ป้องกันทุจริตซื้อขาย ป.บัณฑิต-ใบอนุญาตวิชาชีพครู

“…เพื่อปิดช่องว่าง/โอกาสของความเสี่ยง จากการบริหารจัดการการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของครูที่ทำหน้าที่สอนในโรงเรียนทั้งครูชาวไทย และครูชาวต่างประเทศเชิงรุก จึงเห็นควรให้บูรณาการข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบการตรวจสอบสถานะใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู…” 

นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุม ครม. มีมติรับทราบข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากการติดตามข้อเสนอแนะแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เสนอ

พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ได้ข้อยุติ แล้วส่งสรุปผลการพิจารณาให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอ ครม.ต่อไป

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงขอนำเสนอรายละเอียดของ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากการติดตามข้อเสนอแนะแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู’ ที่ ป.ป.ช. เสนอให้ ครม.รับทราบ สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

 

@'ป.ป.ช.'ชี้ 3 ความเสี่ยง ทุจริต'ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู'

จากกรณีปัญหาการซื้อขายประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) ในปี พ.ศ.2555 ประกอบกับปัญหาพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมของครูที่ปฏิบัติต่อนักเรียน และครูในสถานศึกษาไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูในปี พ.ศ.2563 ก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงด้านสังคม ในการบริหารจัดการศึกษาและคุณภาพการศึกษาของประเทศ

โดยในปี พ.ศ.2555 ปัญหาการซื้อขายประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู กลายเป็นที่สนใจของสังคมอย่างกว้างขวาง เมื่อมีการเสนอข่าวจากสื่อมวลชน

จากข้อมูลการศึกษาของคณะอนุกรรมการป้องกันการทุจริตด้านสังคม สำนักงาน ป.ป.ช. เมื่อปี พ.ศ.2555 สรุปได้ว่า ประเด็นดังกล่าวมีมูลเหตุจากกรณีของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น เปิดทำการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต)

โดยมีพฤติกรรมการเปิดอบรมหลักสูตรนอกสถานที่ตั้งหลายแห่งและเป็นจำนวนมาก มีรายชื่อผู้ผ่านการอบรมเป็นจำนวนมากผิดปกติ ซึ่งเมื่อจบหลักสูตรแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ซึ่งสามารถนำไปยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้

อีกยังปรากฏข้อเท็จจริงว่า การอบรมตามหลักสูตรในภาควิชาการ (ทฤษฎี) มีนักศึกษาบางคนไม่ได้เข้าเรียนจริง และในภาคการฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน (การฝึกสอน) ไม่มีการฝึกปฏิบัติการสอนจริง

จากกรณีดังกล่าวทำให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา มีการสุ่มตรวจสอบจากนักศึกษา และสถานศึกษาที่ระบุว่าใช้เป็นสถานที่ฝึกสอน และพบว่ามีกระบวนการทุจริต เพื่อให้ได้มาซึ่งใบประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูโดยมิชอบด้วยด้วยกฎหมายตามที่เป็นข่าว

ในการนี้ คณะอนุกรรมการป้องกันการทุจริตด้านสังคม เห็นควรให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตต่อหน้าที่ หรือการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามมาตรา 14 (11) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554

โดยมีเสนอข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการซื้อขายประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4 แห่ง ได้แก่ คุรุสภา สภามหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผู้กำหนดนโยบาย (รัฐบาล และกระทรวงศึกษาธิการ)

ทั้งนี้ ครม. มีมติรับทราบข้อเสนอแนะฯไปเมื่อวันที่ 10 ก.ย.2555 และมอบหมายกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลัก รับความเห็นของหน่วยงานต่างๆ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการเพื่อติดตาม ทบทวน และพัฒนาข้อเสนอแนะแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับประกาศนียบัตรวิชาชีพครูต่อไป

อย่างไรก็ตาม ต่อมาในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.2564 ปัญหาพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมของครูที่ปฏิบัติต่อนักเรียน และครูในสถานศึกษาไม่มีไประกอบวิชาชีพครู ได้รับความสนใจจากสังคมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีการเสนอข่าวจากสื่อมวลชนแขนงต่างๆ

 

สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักมาตรการเชิงรุกและนวัตกรรม ได้ติดตามข้อมูลในประเด็นดังกล่าว จึงดำเนินการติดตาม ทบทวน และพัฒนาข้อเสนอแนะแนวทางป้องกันและและแก้ไขปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู โดยพบข้อพิจารณาใน 3 ประเด็น ได้แก่

 

1.ประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตในการบริหารจัดการ เรื่อง การตรวจสอบการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูขาดความต่อเนื่อง

จากข้อมูลการประชุมเพื่อยกระดับแนวทางการรับรองประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูตามมามมาตรฐานวิชาชีพ

ปรากฏความเสี่ยงต่อการทุจริตในการบริหารจัดการ เรื่อง การตรวจสอบการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของครูที่ทำหน้าที่สอนในโรงเรียน ทั้งครูชาวไทย และครูชาวต่างประเทศ ตลอดจนการเข้าถึงข้อมูลในการตรวจสอบสถานะใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

ดังนั้น เพื่อปิดช่องว่าง/โอกาสของความเสี่ยง จากการบริหารจัดการการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของครูที่ทำหน้าที่สอนในโรงเรียนทั้งครูชาวไทย และครูชาวต่างประเทศเชิงรุก จึงเห็นควรให้บูรณาการข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบการตรวจสอบสถานะใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลเพื่อตรวจสอบการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของครูที่ทำหน้าที่สอนในโรงเรียนทั้งครูชาวไทย และครูชาวต่างประเทศ และการตรวจสอบสถานะใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นควรพิจารณานำข้อมูลดังกล่าว มาดำเนินการจัดทำฐานฐานข้อมูลในรูปแบบ Web-based technology หรือ Mobile application ให้รองรับการใช้งานข้อมูลในหลายรูปแบบ

ตลอดจนยกระดับระบบแจ้งเตือนการต่ออายุโบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และจัดทำระบบหรือฐานข้อมูลการกระทำความผิดของครูร่วมกัน เพื่อดำเนินการทางจรรยาบรรณของวิชาชีพ หากมีคำวินิจฉัยที่ชี้ขาดให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้วบันทึกลงในฐานข้อมูล พร้อมดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำความผิดอย่างเคร่งครัด

 

2.ประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริตในการยกระดับแนวทางการรับรองประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ไม่นำข้อมูลเกี่ยวกับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มาเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดกรอบ แนวทาง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอก

จากข้อมูลการประชุมเพื่อยกระดับแนวทางการรับรองประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูฯ ปรากฏความเสี่ยงต่อการทุจริตในการยกระดับแนวทางการรับรองประกาศนียบัตรวิชาชีพครู

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริต โดยการยกระดับแนวทางการรับรองประกาศนียบัตรวิชาชีพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูตามมาตรฐานวิชาชีพ

จึงเห็นควรกำหนดกลไกการป้องกันเชิงรุก โดย พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 และประกาศที่เกี่ยวข้องบัญญัติไว้ รวมถึงอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก พ.ศ.2532 โดยให้มีกลไกการป้องกันเชิงรุกในการยกระดับแนวทางการรับรองประกาศนียบัตรวิชาชีพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูตามมาตรฐานวิชาชีพ

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันเชิงรุกต่อปัญหาที่อาจเกิดจากความเสี่ยงดังกล่าว จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทาง กลไกในการยกระดับคุณภาพผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ๆ (รวมถึงครูพี่เลี้ยง) ตามมาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต มาตรฐานบัณฑิต ตลอดจนจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน

และกำหนดแนวทางกลไกในการส่งเสริมให้เด็ก และเยาวชนให้ตระหนักถึงสิทธิและคุณค่าของตนในสถานศึกษาตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก พ.ศ.2532 โดยมีหลักการสำคัญเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กและเยาวชน ได้แก่ สิทธิในการอยู่รอด สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และสิทธิในการมีส่วนร่วนร่วม

 

3.ประเด็นความเสี่ยงของหน่วยงานในการขับเคลื่อนแนวนโยบายขาดความชัดเจน

จากข้อมูลการประชุมเพื่อยกระดับแนวทางการรับรองประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูฯ ปรากฏความเสี่ยงของหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและในระดับพื้นที่ หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

เช่น กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการครุสภา สำนักงานคณะกรรมการมการการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาขาดความชัดเจน ในการขับเคลื่อนแนวนโยบายการบังคับใช้กฎหมายตามกลโกการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเชิงรุก

ดังนั้น เพื่อปิดช่องว่าง/โอกาสของความเสี่ยงดังกล่าว เห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการขับเคลื่อนแนวนโยบาย การบังคับใช้กฎหมายตามกลไกการกำกับ ติดตามและตรวจสอบการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเชิงรุก ทั้งในส่วนกลางและในระดับพื้นที่ 

รวมถึงพิจารณากลไกการประเมินสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในการกำกับ ติดตาม และยกระดับการตรวจสอบการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเชิงรุก เป็นต้น

ทั้งนี้ แนวทางกำกับ ติดตามและตรวจสอบดังกล่าว ให้รวมถึงการรับรองข้อมูลครู เช่น จำนวน ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประกาศนียบัตรวิชาชีพครูเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษา

โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอแผนการดำเนินการติดตามแนวทางดังกล่าว โดยประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้ กรอบระยะเวลา วิธีการดำเนินการ ตัวชี้วัดการดำเนินการและความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะอื่นๆ ตลอดจนให้ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตกระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการตรวจสอบการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเชิงรุก

และให้สร้างแบบประเมินความพร้อมทางจิตใจให้สอดคล้องตามคุณลักษณะ/สมรรถนะของครูที่ดี ตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อใช้ประเมินความพร้อมของบุคคลที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพครูร่วมด้วย โดยให้พัฒนาชุดแบบประเมินความพร้อมทางจิตใจ และใช้ชุดแบบทดสอบดังกล่าวทดสอบความพร้อมทางจิตใจของครูเป็นระยะ

 

@เสนอพัฒนาฐานข้อมูลเช็คชื่อผู้มี‘ใบอนุญาตฯครู’

ข้อเสนอแนะของ ป.ป.ช.

เนื่องจากคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาที่ดำเนินการหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู และการดำเนินงานและตรวจสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นประเด็นสำคัญที่ควรได้รับการป้องกันเชิงรุกและแก้ไขปัญหา เพื่อธำรงไว้ซึ่งเกียรติยศของวิชาชีพครู ยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียน/นักศึกษา ตลอดจนคุณภาพการบริหารการจัดการการศึกษาของประเทศไทยในภาพรวม

จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม จากการติดตามข้อเสนอแนะแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับประกาศนียบัตรวิชาชีพครูต่อคณะรัฐมนตรี ตามนัยมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 ดังนี้

1.ข้อเสนอแนะต่อกระทรวงศึกษาธิการ

การขับเคลื่อนแนวนโยบาย การบังคับใช้กฎหมาย ตามกลไกการกำกับ ติดตามและตรวจสอบการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู การต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเชิงรุกและการประเมินความพร้อมทางจิตใจของครู

1) ให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดหลักเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติในการขับเคลื่อนแนวนโยบาย การบังคับใช้กฎหมายตามกลไกการกำกับ ติดตาม และยกระดับการตรวจสอบการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเชิงรุก

2) ให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งในส่วนกลางและในระดับพื้นที่ พิจารณากลไกการประเมินสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเชิงรุก โดยมีการชี้แจงแนวทางการดำเนินการอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม

3) ให้ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เช่น เครือข่ายภาคประชาชน สมาคมผู้ปกครอง ในการยกระดับการตรวจสอบการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเชิงรุก เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตและเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการทางการศึกษาของประเทศ

2.ข้อเสนอแนะสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

1) การบูรณาการฐานข้อมูลในการบริหารจัดการ เรื่อง การตรวจสอบการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของครูที่ทำหน้าที่สอนในโรงเรียนทั้งครูชาวไทย และครูชาวต่างประเทศ ตลอดจนการเข้าถึงข้อมูลในการตรวจสอบสถานะใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

1.1) เห็นควรให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขันพื้นฐาน บูรณาการข้อมูล เพื่อยกระดับระบบการตรวจสอบสถานะใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

โดยจัดทำฐานข้อมูลให้รองรับการใช้งานข้อมูลจากฐานข้อมูลในรูปแบบ Web-based technology หรือ Mobile application ที่ผู้ใช้งานสามารถปฏิบัติงานและเรียกดูข้อมูลบน Web browser หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ ตลอดจนจัดทำระบบแจ้งเตือนการต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเพื่อให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

1.2) เห็นควรให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา หารือร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดครู เพื่อจัดทำระบบ หรือฐานข้อมูลการกระทำความผิดของครูร่วมกัน เพื่อดำเนินการทางจรรยาบรรณของวิชาชีพ หากมีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้วบันทึกลงในฐานข้อมูลพร้อมดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้กระทำความผิดอย่างเคร่งครัด เพื่อติดตาม ตรวจสอบซึ่งจะยกระดับคุณภาพและมาตรฐานใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

@ยกระดับหลักสูตร-แนวทางการรับรอง‘ป.บัณฑิต'ครู

2) การยกระดับแนวทางการรับรองประกาศนียบัตรวิชาชีพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูตามมาตรฐานวิชาชีพ

เห็นควรให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.1) กำหนดแนวทาง กลไกในการยกระดับคุณภาพผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ (รวมถึงครูพี่เลี้ยง) ตามมาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต มาตรฐานบัณฑิต

ตลอดจนจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 เพื่อพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ให้มีการส่งเสริมและพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครูอย่างเป็นรูปธรรรม และมีกระบวนการติดตามและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรต่อไป

2.2) กำหนดแนวทาง กลไกในการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงสิทธิและคุณค่าของตนในสถานศึกษาตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก พ.ศ.2532 โดยมีหลักการสำคัญเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กและเยาวชน ได้แก่ สิทธิในการอยู่รอด สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนาและสิทธิในการมีส่วนร่วม

3) การขับเคลื่อนแนวนโยบาย การบังคับใช้กฎหมาย ตามกลไกการกำกับ ติดตาม และยกระดับการตรวจสอบการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู การต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเชิงรุก และการประเมินความพร้อมทางจิตใจของครู

3.1) ให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา โดยคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการอดมศึกษา พิจารณาแนวทางกำกับ ติดตามและยกระดับการตรวจสอบการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเชิงรุก

โดยแนวทางกำกับ ติดตาม และตรวจจสอบดังกล่าวให้รวมถึงการรับรองข้อมูลครู เช่น จำนวน ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู (วันที่ได้รับ และวันครบกำหนด คะแนนจากการทดสอบและประเมินของแต่ละวิชา) เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษา โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอแผนการดำเนินการติดตามแนวทางดังกล่าว

โดยประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้ กรอบระยะเวลา วิธีการดำเนินการ ตัวชีวชีวัดการดำเนินการ ความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะอื่นๆ เพื่อประโยชน์ในการติดตามและผลักดันข้อเสนอแนะแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับประกาศนียบัตรวิชาชีพครูต่อไป

3.2) ให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมสุขภาพจิตเพื่อสร้างแบบประเมินความพร้อมทางจิตใจให้สอดคล้องตามคุณลักษณะ/สมรรถนะของครูที่ดีตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูเพื่อใช้ประเมินความพร้อมของบุคคลที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพครูร่วมด้วย

โดยให้พัฒนาชุดแบบประเมินความพร้อมทางจิตใจ และใช้ชุดแบบทดสอบดังกล่าวทดสอบความพร้อมทางจิตใจของครูเป็นระยะ เพื่อพัฒนาความพร้อมทางจิตใจของครูตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู ซึ่งส่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพการสอนของครู การเรียนของนักเรียน/นักศึกษา และการบริหารจัดการทางการศึกษาของประเทศ

4) มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแนวทางการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อประกอบการพิจารณาและมีมติมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติต่อไป

ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการรายงานผลการขับเคลื่อนข้อเสนอแนะฯ เสนอต่อต่อสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นประจำทุกปีด้วย

เหล่านี้เป็น ‘ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากการติดตามข้อเสนอแนะแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตเกี่ยวกับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู’ ที่ ป.ป.ช. เสนอให้ ครม.รับทราบ เพื่อยกระดับการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู โดยเฉพาะการป้องกันการซื้อขายประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 

ที่มา ; สำนักข่าวอิสรา วันอาทิตย์ ที่ 18 สิงหาคม 2567