เมื่อวันที่ 26 ต.ค.ศาสตราจารย์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกพฐ.ที่มีว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการกพฐ. รวมถึงผู้บริหารสำนักต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เมื่อเร็วๆนี้นั้น ที่ประชุมได้หารือถึงการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย ให้เด็กและเยาวชนมีสมรรถนะทัดเทียมนานาชาติ เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 โดยสิ่งที่พิจารณาเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน คือเรื่องหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งที่ประชุมมีข้อสรุปว่า ให้มีการพัฒนาหลักสูตรใหม่ โดยในเบื้องต้นจะใช้ชื่อว่า “หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะตามช่วงวัย” เป็นการพัฒนาต่อยอดจาก (ร่าง) กรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเดิม ซึ่งเป็นกรอบหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่ได้ยกร่างไว้ ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่ได้ประกาศใช้ ในครั้งนี้ กพฐ. ได้มอบหมายคณะทำงาน สพฐ. ให้นำร่างกรอบหลักสูตรดังกล่าวมาพัฒนาต่อยอดและให้นำสื่อ เทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI มาใช้ในการพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยให้ครูสามารถจัดการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ศาสตราจารย์บัณฑิต กล่าวต่อไปว่า สำหรับการนำหลักสูตรใหม่ไปใช้จัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ทาง กพฐ. ได้พิจารณาว่าจะเริ่มใช้หลักสูตรใหม่นี้ในปีการศึกษา 2568 ในสถานศึกษาที่มีความพร้อมและสมัครใจ โดยใช้ในระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษาตอนต้นก่อน และมีแผนขยายผลการใช้ให้ครอบคลุมระดับประถมศึกษาตอนปลายและระดับมัธยมศึกษาต่อไป ในปีการศึกษา 2569 นอกจากนี้ ได้มอบหมาย คณะทำงาน สพฐ. จัดทำแผนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล รวมถึง การจัดเก็บบันทึกผลการดำเนินงานต่างๆ
“ที่ประชุมได้มอบแนวทางและให้หลักการของหลักสูตรใหม่ คือ มุ่งพัฒนาสมรรถนะตามพัฒนาการของผู้เรียน 5 ช่วงวัย ดังนี้ระดับปฐมวัย มีพัฒนาการสมวัย ประถมศึกษาตอนต้น มีพื้นฐานการเรียนรู้ที่ดี ประถมศึกษาตอนปลาย มีพื้นฐานการดำเนินชีวิตที่ดี มัธยมศึกษาตอนต้น ค้นพบความสนใจ ความชอบและความถนัด มัธยมศึกษาตอนปลาย เส้นทางสู่อาชีพ รวมถึงการจัดโครงสร้างเวลาเรียนที่ยืดหยุ่นตามบริบทหรือความต้องการของสถานศึกษา เน้นการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ รายงานผลการเรียนด้วยระดับคุณภาพที่อธิบายความสามารถของผู้เรียน และจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (ACTIVE LEARNING) ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ทันสมัย เช่น AI, แหล่งเรียนรู้, สื่อทันสมัย เพื่อต่อยอดพัฒนาการของผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ สามารถเลือกเรียนสิ่งที่ชอบ และประกอบอาชีพที่ใช่ในอนาคตต่อไป” ประธานกพฐ.กล่าวว่า
ที่มา ; มติชนออนไลน์
เกี่ยวข้องกัน
บอร์ด กพฐ.ประชุมวาระพิเศษ เดินหน้ายกเครื่องหลักสูตรใหม่ ปีการศึกษา 2568
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2567 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) จัดการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วาระพิเศษ โดยมี ศาสตราจารย์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประธาน กพฐ.) เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา และผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้แก่ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) รวมถึงผู้บริหารสำนักต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของ สพฐ.เข้าร่วม ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ
ศาสตราจารย์บัณฑิต กล่าวว่า วันนี้ กพฐ.ได้หารือร่วมกันว่า ทำอย่างไรจึงจะสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย ให้เด็กและเยาวชนมีสมรรถนะทัดเทียมนานาชาติ เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 โดยสิ่งที่พิจารณาในวันนี้ เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน คือเรื่องหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งคณะกรรมการมีข้อสรุปว่า ให้มีการพัฒนาหลักสูตรใหม่ โดยในเบื้องต้นจะใช้ชื่อว่า "หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะตามช่วงวัย" เป็นการพัฒนาต่อยอดจาก (ร่าง) กรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเดิม ซึ่งเป็นกรอบหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่ได้ยกร่างไว้ ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่ได้ประกาศใช้ ในครั้งนี้ กพฐ.ได้มอบหมายคณะทำงาน สพฐ.ให้นำร่างกรอบหลักสูตรดังกล่าวมาพัฒนาต่อยอดและให้นำสื่อ เทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI มาใช้ในการพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยให้ครูสามารถจัดการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
"ทั้งนี้ สำหรับการนำหลักสูตรใหม่ไปใช้จัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ทาง กพฐ.ได้พิจารณาว่าจะเริ่มใช้หลักสูตรใหม่นี้ในปีการศึกษา 2568 ในสถานศึกษาที่มีความพร้อมและสมัครใจ โดยใช้ในระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษาตอนต้นก่อน และมีแผนขยายผลการใช้ให้ครอบคลุมระดับประถมศึกษาตอนปลายและระดับมัธยมศึกษาต่อไป ในปีการศึกษา 2569 นอกจากนี้ ได้มอบหมาย คณะทำงาน สพฐ.จัดทำแผนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล รวมถึง การจัดเก็บบันทึกผลการดำเนินงานต่างๆ เพื่อเสนอ กพฐ.ในการประชุมครั้งถัดไป" ประธาน กพฐ.กล่าว
ทั้งนี้ กพฐ.ได้มอบแนวทางและให้หลักการของหลักสูตรใหม่ คือ มุ่งพัฒนาสมรรถนะตามพัฒนาการของผู้เรียน 5 ช่วงวัย ดังนี้ ระดับปฐมวัย มีพัฒนาการสมวัย , ประถมศึกษาตอนต้น มีพื้นฐานการเรียนรู้ที่ดี , ประถมศึกษาตอนปลาย มีพื้นฐานการดำเนินชีวิตที่ดี , มัธยมศึกษาตอนต้น ค้นพบความสนใจ ความชอบและความถนัด และ มัธยมศึกษาตอนปลาย เส้นทางสู่อาชีพ
รวมถึง การจัดโครงสร้างเวลาเรียนที่ยืดหยุ่นตามบริบทหรือความต้องการของสถานศึกษา เน้นการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ รายงานผลการเรียนด้วยระดับคุณภาพที่อธิบายความสามารถของผู้เรียน และจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (ACTIVE LEARNING) ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ทันสมัย เช่น AI, แหล่งเรียนรู้, สื่อทันสมัย เพื่อต่อยอดพัฒนาการของผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ สามารถเลือกเรียนสิ่งที่ชอบ และประกอบอาชีพที่ใช่ในอนาคตต่อไป
ที่มา ; แนวหน้า วันเสาร์ ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2567
เกี่ยวข้องกัน
บอร์ด กพฐ. ประกาศทดลองหลักสูตรการศึกษาใหม่ใช้ ระดัปฐมวัย-ประถมต้น ปีการศึกษา 2568 ขยายครอบคลุมมัธยมต้นปึ การศึกษา 2569
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) วันที่ 26 ตุลาคม 2567 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) จัดการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วาระพิเศษ โดยมีศาสตราจารย์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประธาน กพฐ.) เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา และผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้แก่ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) รวมถึงผู้บริหารสำนักต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของ สพฐ. เข้าร่วม ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ
@แย้มแก้หลักสูตรใหม่ ดึง AI- ดิจิทัลเสริมทัพ เริ่มใช้ปีการศึกษา 68
ศาสตราจารย์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ กล่าวว่า วันนี้ กพฐ. ได้หารือร่วมกันว่า ทำอย่างไรจึงจะสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย ให้เด็กและเยาวชนมีสมรรถนะทัดเทียมนานาชาติ เป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 โดยสิ่งที่พิจารณาในวันนี้ เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการพัฒนาผู้เรียน คือเรื่องหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งคณะกรรมการมีข้อสรุปว่า ให้มีการพัฒนาหลักสูตรใหม่ โดยในเบื้องต้นจะใช้ชื่อว่า "หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะตามช่วงวัย" เป็นการพัฒนาต่อยอดจาก (ร่าง) กรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเดิม ซึ่งเป็นกรอบหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่ได้ยกร่างไว้ ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่ได้ประกาศใช้
ในครั้งนี้ กพฐ. ได้มอบหมายคณะทำงาน สพฐ. ให้นำร่างกรอบหลักสูตรดังกล่าวมาพัฒนาต่อยอดและให้นำสื่อ เทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI )มาใช้ในการพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยให้ครูสามารถจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ สำหรับการนำหลักสูตรใหม่ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ทาง กพฐ. ได้พิจารณาว่าจะเริ่มใช้หลักสูตรใหม่นี้ในปีการศึกษา 2568 (พฤษภาคม 2568)ในสถานศึกษาที่มีความพร้อมและสมัครใจ โดยใช้ในระดับชั้นปฐมวัยและชั้นประถมศึกษาตอนต้นก่อน และมีแผนขยายผลการใช้ให้ครอบคลุมระดับประถมศึกษาตอนปลายและระดับมัธยมศึกษาตอนต้นต่อไป ในปีการศึกษา 2569 (พฤษภาคม2569) “ ศาสตราจารย์บัณฑิตกล่าว
ศาสตราจารย์บัณฑิตกล่าวว่า นอกจากนี้ ได้มอบหมาย คณะทำงาน สพฐ. จัดทำแผนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล รวมถึง การจัดเก็บบันทึกผลการดำเนินงานต่างๆ เพื่อเสนอ กพฐ. ในการประชุมครั้งถัดไป
ด้านว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา กล่าวว่า สพฐ. พร้อมดำเนินการตามมติของ กพฐ. ที่มอบแนวทางและให้หลักการของหลักสูตรใหม่ คือ มุ่งพัฒนาความสามารถตามพัฒนาการของผู้เรียน 5 ช่วงวัย ดังนี้
- ระดับปฐมวัย มีพัฒนาการสมวัย
- ประถมศึกษาตอนต้น มีพื้นฐานการเรียนรู้ที่ดี
- ประถมศึกษาตอนปลาย มีพื้นฐานการดำเนินชีวิตที่ดี
- มัธยมศึกษาตอนต้น ค้นพบความสนใจ ความชอบและความถนัด
- มัธยมศึกษาตอนปลาย เส้นทางสู่อาชีพ
รวมถึง การจัดโครงสร้างเวลาเรียนที่ยืดหยุ่นตามบริบทหรือความต้องการของสถานศึกษา เน้นการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ รายงานผลการเรียนด้วยระดับคุณภาพที่อธิบายความสามารถของผู้เรียน และจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (ACTIVE LEARNING) ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ทันสมัย เช่น AI, แหล่งเรียนรู้, สื่อทันสมัย เพื่อต่อยอดพัฒนาการของผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ สามารถเลือกเรียนสิ่งที่ชอบ และประกอบอาชีพที่ใช่ในอนาคตต่อไป
เลขาธิการ สพฐ. กล่าวว่า จะนำมติของ กพฐ. และแผนงาน เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้พิจารณาเห็นชอบและนำเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไป
ที่มา ; สำนักข่าวอิสรา
เกี่ยวข้องกัน
หลักสูตรใหม่ มีข้อดีกว่าหลักสูตรเก่า อย่างไร
1. เน้นการนำไปใช้จริง
- เก่า: เน้นท่องจำเนื้อหา วัดผลจากการสอบ
- ใหม่: เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้แก้ปัญหาจริง
2. การประเมิน
- เก่า: วัดแค่ความรู้จากการสอบ
- ใหม่: ประเมินจากการปฏิบัติจริง ทักษะ และเจตคติ
3. บทบาทผู้เรียน
- เก่า: นั่งฟัง จดจำ ทำตาม
- ใหม่: ลงมือทำ คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา
4. บทบาทครู
- เก่า: ผู้บอกความรู้
- ใหม่: ผู้แนะนำ กระตุ้นการเรียนรู้
5. เป้าหมายการเรียน
- เก่า: จบตามเกณฑ์ ได้เกรด
- ใหม่: มีสมรรถนะที่จำเป็นต่อชีวิตและอาชีพ
6. ความยืดหยุ่น
- เก่า: ตายตัวตามตำรา
- ใหม่: ปรับเนื้อหาตามบริบทท้องถิ่น
7. การเชื่อมโยง
- เก่า: แยกเป็นรายวิชา
- ใหม่: บูรณาการข้ามวิชา เชื่อมโยงชีวิตจริง
8. ทักษะที่ได้
- เก่า: ความรู้เชิงวิชาการ
- ใหม่: ทักษะรอบด้าน ทั้งวิชาการและชีวิต
ที่มา ;FB อาจารย์วิริยะ Wiriyah Eduzones
เกี่ยวข้องกัน
10 ทักษะที่ครูควรมีในปี 2568
ทักษะเหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ทางการศึกษาและส่งผลต่อนักเรียนของครูให้พร้อมสู่โลกดิจิทัล
1. บูรณาการเทคโนโลยี เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ ทั้งการวางแผนบทเรียน การทำการบ้าน ครูต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี
2. สอนนักเรียนที่มีความแตกต่างกัน นักเรียนแต่ละคนมีรูปแบบและจังหวะการเรียนรู้ที่หลากหลาย ครูควรปรับการสอนให้ตรงกับความต้องการของนักเรียน
3. สอนให้นักเรียนสะท้อนคิด เพื่อเช็กความเข้าใจและช่วยให้ครูปรับกลยุทธ์ให้ตรงกับความต้องการของนักเรียนได้ดีขึ้น
4. ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การถามคำถามที่มีประสิทธิภาพจะช่วยส่งเสริมการคิดวิเคราะห์
5. ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โลกในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม ครูควรออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ
6. เข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย การเข้าใจในวัฒนธรรมช่วยให้ครูสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ครอบคลุมในห้องเรียนได้
7. มีมุมมองระดับโลก ในฐานะครูจะต้องเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับโลกยุคุใหม่โดยมีมมองระดับโลกมาผนวกเข้ากับหลักสูตร
8. สร้างเครือข่ายชุมชน สังคม เพื่อแลกเปลี่ยนกัน การสร้างเครือข่ายมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาและรักษาความสัมพันธ์ทางวิชาชีพ
9. การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ครูปรับแต่งวิธีการสอน ตอบสนองและเหมาะกับความต้องการของนักเรียนได้ดีขึ้น
10. ทักษะภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษกลายมาเป็นสื่อการสอนที่สำคัญ การเข้าใจภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี เปิดโอกาสในการเข้าถึงสื่ออื่น ๆ ได้มากขึ้น
อ้างอิงจาก : https://www.suraasa.com/blog/teaching-skills?var=as1
ที่มา ; FB Active Learning คลังไอเดียสร้างสมรรถนะ