สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานความคืบหน้าการขยายผลตรวจสอบปัญหาเงินขาดบัญชีของหน่วยงานรัฐ ภายหลังสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบพบพฤติการณ์เจ้าหน้าที่ส่วนราชการ และองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวนหลายแห่ง อาศัยช่องโหว่จากการจ่ายเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online กระทำการทุจริตในช่วงปี 2563 – 2566 และสร้างความเสียหายเป็นจำนวนเงินกว่า 332 ล้านบาท
ล่าสุด แหล่งข่าวระดับสูงจาก สตง. เปิดเผยสำนักข่าวอิศราว่า เกี่ยวกับปัญหานี้ สตง.ได้มีการแจ้งผลการตรวจสอบให้หัวหน้าส่วนราชการ และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการสอบสวนลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่พบพฤติการณ์ทุจริตที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินงบประมาณรัฐ ไปแล้วหลายแห่ง อาทิ เทศบาลตำบลบุณฑริก อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี, เทศบาลตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ , อบต.นางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) วังม้า อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
แหล่งข่าว กล่าวว่า ผลการตรวจสอบทั้ง 4 หน่วยงานนี้ เกี่ยวกับการจ่ายเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online พบข้อมูลใน 3 ประเด็นหลัก คือ
แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหาภาพรวมสาเหตุการทุจริตในภาพรวมพบว่าส่วนใหญ่เกิดการทุจริตโดยผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเงินและบัญชีของหน่วยงานทำการโอนเงินผ่านระบบ Krungthai Corporate Online จากบัญชีเงินฝากธนาคารของหน่วยงานภาครัฐเข้าบัญชีธนาคารตนเองหรือบัญชีม้าหรือบัญชีผู้ใกล้ชิด
นอกจากนี้ ยังพบข้อบกพร่องของการควบคุมภายในของการรับเงิน การจ่ายเงิน และการนำเงินส่งคลัง ผ่านระบบ Krungthai Corporate Online ในภาพรวม 2 ประเภทหลัก คือ 1. มีการกำหนดการควบคุม แต่ไม่สามารถป้องกันหรือตรวจพบ และแก้ไขข้อผิดพลาดได้ อาทิ การควบคุมการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติงานตามที่กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติกำหนด ไม่เพียงพอ เช่น ไม่มีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งบุคคลผู้มีสิทธิเข้าใช้งานระบบ และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ และการแบ่งแยกหน้าที่ไม่เหมาะสม และ 2. ไม่มีการควบคุมที่จำเป็น กล่าวคือ ไม่มีการรักษาความปลอดภัยในระบบ เช่น ไม่เปิดใช้ระบบรักษาความปลอดภัยแบบสองชั้น (2FA) และไม่มีการจัดการสิทธิการเข้าใช้งานของบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ในระบบ เช่น ไม่มีการกำหนดให้ทบทวนสิทธิบัญชีผู้ใช้งาน (User) ในการเข้าถึง
เบื้องต้น สตง. ได้มีข้อเสนอแนะให้กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย พิจารณากําหนดมาตรการ หรือวิธีการควบคุมในการเบิกจ่ายเงินผ่านระบบ Krungthai Corporate Online เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐ ดังต่อไปนี้
สำนักข่าวอิศรา รายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 8 พ.ย.2567 ธนาคารกรุงไทย ได้ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ชี้แจงสำนักข่าวอิศรา ยืนยันว่า ระบบ Krungthai Corporate Online เป็นระบบการบริหารจัดการทางการเงินสำหรับหน่วยงาน ที่มีความปลอดภัยตามมาตรฐานในระดับสากล มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ครบวงจร มีการทำรายการแบบมีผู้อนุมัติหลายขั้น การทำธุรกรรมทุกครั้งต้องมีการยืนยันด้วยรหัส (OTP) อีกทั้งสามารถตรวจสอบชื่อบัญชีผู้รับเงินก่อนอนุมัติรายการ
เปิดชื่อ 4 อปท. สตง. แจ้ง หน.ส่วนราชการ-ป.ป.ช.สอบสวนลงโทษเอาผิด จนท.รัฐ อาศัยช่องโหว่ระบบจ่ายเงิน KTB Corporate Online ทุจริตยักยอกเงินหลวง รวมข้อเสนอแนะ 7 ประการ ชง 'ก.คลัง-มหาดไทย' ป้องกันความเสียหายในอนาคต
ที่มา ; สำนักข่าวอิสรา
เกี่ยวข้องกัน
กรุงไทย ยันระบบจ่ายเงิน KTB ปลอดภัยมาตรฐานสากล หลัง สตง.สอบพบปัญหาจนท.รัฐทุจริต 332 ล.
จากกรณีสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำเสนอรายงานผลการตรวจสอบสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ปัญหาเงินขาดบัญชีของหน่วยงานรัฐ พบพฤติการณ์การกระทำความผิดที่สำคัญหลายประการ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่เป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย โดยปรากฏข้อมูลปัญหาการจ่ายเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online รวมอยู่ด้วย
สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ย.2567 ธนาคารกรุงไทย ได้ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ชี้แจงว่า ระบบ Krungthai Corporate Online เป็นระบบการบริหารจัดการทางการเงินสำหรับหน่วยงาน ที่มีความปลอดภัยตามมาตรฐานในระดับสากล มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ครบวงจร มีการทำรายการแบบมีผู้อนุมัติหลายขั้น การทำธุรกรรมทุกครั้งต้องมีการยืนยันด้วยรหัส (OTP) อีกทั้งสามารถตรวจสอบชื่อบัญชีผู้รับเงินก่อนอนุมัติรายการ
ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า ตามที่สำนักข่าวอิศรา ได้นำเสนอข่าวเรื่อง ปัญหาการเบิกจ่ายภาครัฐผ่านระบบ Krungthai Corporate Online นั้น ธนาคารกรุงไทยขอชี้แจงว่า ระบบ Krungthai Corporate Online เป็นระบบการบริหารจัดการทางการเงินสำหรับหน่วยงาน ที่มีความปลอดภัยตามมาตรฐานในระดับสากล โดยธนาคารให้ความสำคัญในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ครบวงจร
Krungthai Corporate Online มีการทำรายการแบบมีผู้อนุมัติหลายขั้น (Multiple approval) สามารถกำหนดสิทธิ์และบทบาทของผู้ใช้งานในการทำธุรกรรมได้ โดยกำหนดให้มี ผู้สร้างรายการ (Maker) ผู้ตรวจสอบรายการ (Checker) และผู้อนุมัติรายการ (Authorizer) แยกจากกันอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นคนละบุคคลกัน เพื่อตรวจสอบข้อมูลก่อนทำรายการโอนเงิน มีการยืนยันการทำธุรกรรมแบบ 2 ชั้น (2-Factor Authentication – 2FA) ด้วยรหัสใช้ครั้งเดียว (OTP) หรือใช้อุปกรณ์ Token ร่วมกับรหัสผ่าน (Password) ในการอนุมัติการโอนเงินชำระเงิน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล
นอกจากนี้ ยังสามารถกำหนดรายชื่อหน่วยงานที่อนุญาตให้ชำระเงินค่าสินค้าและบริการ (Biller) ให้เหมาะสมกับการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เช่น การชำระภาษีให้แก่กรมสรรพากร การชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของนายจ้างให้แก่สำนักงานประกันสังคม เป็นต้น โดยการทำธุรกรรมทุกครั้งต้องมีการยืนยันด้วยรหัส (OTP) อีกทั้งสามารถตรวจสอบชื่อบัญชีผู้รับเงินก่อนอนุมัติรายการ โดยระบบจะแสดงชื่อบัญชีผู้รับเงินจริงที่หน้าจอ เปรียบเทียบกับชื่อบัญชีในไฟล์โอนเงินที่หน่วยงานสร้าง ซึ่งผู้อนุมัติรายการสามารถตรวจสอบได้ก่อนอนุมัติ เพื่อป้องกันการลักลอบโอนเงินไปบัญชีบุคคลอื่นที่ไม่มีสิทธิรับเงิน หรือบัญชีที่ไม่ถูกต้องตรงกับเอกสารการเบิกจ่าย รวมไปถึงการตรวจสอบประวัติการทำธุรกรรมย้อนหลังได้ ผู้ใช้งานในหน่วยงานสามารถเรียกดูรายละเอียดการทำธุรกรรม และประวัติการใช้งานของผู้ใช้งานในระบบได้อย่างโปร่งใส
ธนาคารกรุงไทย พร้อมสนับสนุนและยกระดับบริการเพื่อพัฒนาระบบและมาตรการต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในการทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ ตามวิสัยทัศน์ “กรุงไทย เคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน” และขอเชิญชวนหน่วยงานต่าง ๆ เปลี่ยนมาใช้บริการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารแทนการใช้เงินสด เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในทุกขั้นตอนของการทำธุรกรรม
อนึ่งเกี่ยวกับกรณี สำนักข่าวอิศรา รายงานไปแล้วว่า เหตุผลที่ สตง. เข้าไปตรวจสอบติดตามเรื่องการจ่ายเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online ดังกล่าว เป็นเพราะส่วนราชการและ อปท. มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีการดำเนินการรับเงิน การจ่ายเงิน และการนำเงินส่งคลังผ่านระบบ Krungthai Corporate Online ซึ่งกระทรวงการคลังได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการรับเงิน การจ่ายเงิน และการนำเงินส่งคลัง หรือฝากคลังของส่วนราชการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ
อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมาปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนว่า มีการตรวจสอบพบความผิดปกติในระบบการเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการและ อปท.หลายพื้นที่ทั่วประเทศ ผ่านการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online และก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่องบประมาณแผ่นดิน สตง.จึงได้มีการตั้งคณะทำงาน ขึ้นมาตรวจสอบติดตามเรื่องนี้โดยตรง พร้อมวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในภาพรวมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐต่อไป
ขณะที่ในช่วงปี 2563 - 2566 สตง. ตรวจสอบพบพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการและองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ทอาศัยช่องโหว่จากการจ่ายเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online สร้างความเสียหายเป็นจำนวนเงินกว่า 332 ล้านบาท
กรุงไทย แจงระบบจ่ายเงิน Krungthai Corporate Online มีความปลอดภัยตามมาตรฐานระดับสากล ให้ความสำคัญพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ครบวงจร หลัง 'อิศรา' ตีข่าวสตง.สอบพบสารพัดเล่ห์จนท.16 ส่วนราชการ-อปท.สบช่องทุจริตตั้งแต่ปี 63 - 66 เม็ดเงินรวมกว่า 332 ล.
เกี่ยวข้องกัน
เปิดหมด! สารพัดเล่ห์จนท.16 ส่วนราชการ-อปท.สบช่องทุจริตระบบจ่ายเงินรัฐ เสียหายยับ 332 ล.
เม็ดเงินกว่า 332 ล้านบาท!
เป็นมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากปัญหาทุจริตในระบบการจ่ายเงินรัฐผ่านระบบ KTB Corporate Online ของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการและองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบพบในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2563 - 2566
ส่วนเหตุผลที่ สตง. เข้าไปตรวจสอบติดตามเรื่องการจ่ายเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online ดังกล่าว เป็นเพราะส่วนราชการและ อปท. มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีการดำเนินการรับเงิน การจ่ายเงิน และการนำเงินส่งคลังผ่านระบบ Krungthai Corporate Online ซึ่งกระทรวงการคลังได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการรับเงิน การจ่ายเงิน และการนำเงินส่งคลัง หรือฝากคลังของส่วนราชการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ
อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมาปรากฏข่าวทางสื่อมวลชนว่า มีการตรวจสอบพบความผิดปกติในระบบการเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการและ อปท.หลายพื้นที่ทั่วประเทศ ผ่านการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online และก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่องบประมาณแผ่นดิน สตง.จึงได้มีการตั้งคณะทำงาน ขึ้นมาตรวจสอบติดตามเรื่องนี้โดยตรง พร้อมวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในภาพรวมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐต่อไป
คือ ข้อมูลเชิงลึกล่าสุด กรณี สตง.สรุปรายงานผลการตรวจสอบปัญหาเงินขาดบัญชีของหน่วยงานรัฐ พบพฤติการณ์การกระทำความผิดที่สำคัญหลายประการ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่เป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย โดยปรากฏข้อมูลปัญหาการจ่ายเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online รวมอยู่ด้วย ที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำเสนอไปแล้ว
ต่อไปนี้ เป็นข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับพฤติการณ์เจ้าหน้าที่ส่วนราชการ และ อปท. ที่อาศัยช่องโหว่จากการจ่ายเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online กระทำการทุจริตทั้งหมด ที่ สตง. ตรวจสอบพบในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2563 – 2566 และสร้างความเสียหายเป็นจำนวนเงินกว่า 332 ล้านบาท ดังกล่าว
แบ่งเป็นพฤติการณ์เจ้าหน้าที่ส่วนราชการ จำนวน 3 แห่ง และพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ อปท. จำนวน 13 แห่ง รูปแบบการทุจริตส่วนใหญ่เป็นลักษณะการใช้โอกาสในการเข้าถึงข้อมูล รหัสผ่าน เข้าไปยักยอกหรือโอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัว เจ้าหน้าที่บางรายลงมือกระทำการมากกว่า 215 ครั้ง ตัวเลขความเสียหายสูงสุดอยู่ที่ 58 ล้านบาท ส่วนมูลเหตุจูงใจในการลงมือ เป็นการนำเงินไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ใช้หนี้ ปล่อยกู้ เล่นพนันออนไลน์ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ในการสรุปข้อมูลผลตรวจสอบของ สตง. กรณีนี้ มีการใช้ตัวอักษรย่อแทนชื่อเต็มหน่วยงานที่เกิดเหตุ และไม่ได้เปิดเผยรายชื่อเจ้าหน้าที่ที่กระทำความผิดไว้เป็นทางการ ขณะที่ข้อมูลบางส่วนยังอยู่ระหว่างกระบวนการสอบสวนด้วย
ปรากฏรายละเอียดดังต่อไปนี้
@ กรณีพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐส่วนราชการ จำนวน 3 แห่ง
รายแรก.
เจ้าหน้าที่รัฐส่วนราชการตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี แห่งหนึ่ง
พฤติการณ์ : company user maker มีการ upload file การโอนเงินเข้าระบบ Krungthai Corporate Online (ยังไม่กด submit) และพิมพ์รายงานเพื่อขออนุมัติ หลังจากนั้น มีการ upload file ที่ 2 เข้าระบบ Krungthai Corporate Online โดยได้เปลี่ยนชื่อผู้รับเงินเป็นชื่อผู้กระทำผิด และกด submit กด confirm และกด finish เมื่อ Company user Authorizer ผู้อนุมัติตรวจสอบจากรายการเอกสารโอนเงิน (KTB Ipay Report) โดยมิได้กด View เพื่อตรวจสอบรายละเอียด (ยอดรวมตรงกัน) และกด Approve กด Confirm และกด finish ทำให้ผู้กระทำผิดได้รับเงินไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : 1 ต.ค. 63 - 30 ส.ค. 64
มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 8,580,051.73 บาท
มูลเหตุ : นำเงินไปใช้ส่วนตัว
รายสอง.
เจ้าหน้าที่รัฐส่วนราชการตำแน่งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี แห่งหนึ่ง
พฤติการณ์ : ทุจริตเงินกองทุนคนพิการ และเงินสงเคราะห์คนยากไร้
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : 13 มิ .ย. - 12 ก.ย. 64
มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 58,000,000 บาท
มูลเหตุ : นำเงินไปใช้ส่วนตัว
รายสาม.
เจ้าหน้าที่รัฐส่วนราชการตำแน่งพนักงานการเงินแห่งหนึ่ง
พฤติการณ์ : นำชื่อบุคคลใกล้ชิดเข้ามาใส่ในบัญชี ผู้ขายของหน่วยงาน และทำเอกสารเท็จเพื่อโอนเงินเข้าบัญชี โดยจะเลือกบัญชีที่ไม่มีความเคลื่อนไหว และไม่อยู่ในงบประมาณ เช่น เงินประกันสัญญา ปี 64 จนได้รับความเสียหาย
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : ไม่ระบุ
มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 40,000,000 บาท
มูลเหตุ : เล่นพนันออนไลน์
@ กรณีพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่อปท. จำนวน 13 แห่ง
รายแรก.
เจ้าหน้าที่การเงิน และบัญชี อบต. A
พฤติการณ์ : โอนเงินผ่านระบบ Krungthai Corporate Online จากบัญชี ของ อบต. A ไปเข้าบัญชีธนาคารชื่อของตัวเอง
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : 24 ธ.ค. 64 - 4 ก.พ. 66
จำนวน 135 ครั้ง มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 44,385,450 บาท
มูลเหตุ : นำเงินไป ปล่อยกู้และ ใช้ส่วนตัว
รายสอง.
เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีชำนาญงาน เทศบาล B
พฤติการณ์ : รับผิดชอบเกี่ยวกับการเบิกถอน เงินงบประมาณและเงินต่างๆ ของเทศบาล ได้ยักยอกเงินทั้งหมด ดังกล่าวไปใช้จ่ายส่วนตัว โดยใช้ช่องโหวจากการที่เป็นคนถือรหัส สามารถเบิกถอนเงินออกจากธนาคารได้
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : 26 ม.ค. 65 - 17 ม.ค. 66
จำนวน 215 ครั้ง มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 15,867,275.49 บาท
มูลเหตุ : ใช้หนี้ส่วนตัว
รายสาม.
นักวิชาการเงิน และบัญชี อบต. C
พฤติการณ์ : มีพฤติกรรมโอนเงินจากบัญชี เงินฝากธนาคารกรุงไทยของ อบต. C เข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยของตนเอง
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : ไม่ระบุ
จำนวน 8 ครั้ง มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 548,420 บาท
มูลเหตุ : ใช้หนี้ส่วนตัว
รายสี่.
ผู้อำนวยการกองคลัง อปท.D
พฤติการณ์ : ใช้รหัส Company User Maker ของบุคคลที่ย้ายไปแล้ว เข้าสู่บัญชี ของนางสาว บ. (คาดว่าเป็นบัญชีม้า) และบัญชีม้ามีการโอนต่อไปยัง บัญชีนางสาว ว. ซึ่งมีความสัมพันธ์ เป็นภรรยาของผูอำนวยการกองคลัง
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : ธ.ค. 64 - มี.ค. 66
จำนวน 59 ครั้ง มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 4,077,951.73 บาท
มูลเหตุ : นำไปใช้ส่วนตัว
รายห้า.
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานการเงิน และบัญชี อบต.E
พฤติการณ์ : โอนเงินของ อบต. E เข้าบัญชี ตนเองเป็นจำนวนมากในช่วงเวลา ใกล้เคียงกัน
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : 28 ธ.ค. 64 - มิ.ย. 66
จำนวน 84 ครั้ง มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 4,977,412.28 บาท
มูลเหตุ : นำเงินไปใช้ส่วนตัวและเล่นการพนันออนไลน์
รายหก.
ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชนปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยเจ้าพนักงานการเงิน และบัญชี อบต.F
พฤติการณ์ : โอนเงินของ อบต. F เข้าบัญชี ตนเองเป็นจำนวนมากในช่วงเวลา ใกล้เคียงกัน
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : ไม่ระบุ
จำนวน 60 ครั้ง มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 5,860,494.08 บาท
มูลเหตุ : ใช้หนี้ส่วนตัว
รายเจ็ด.
เจ้าพนักงาน การเงินและบัญชี ชำนาญงาน อปท.G
พฤติการณ์ : โอนเงินเข้าบัญชีตนเอง และโอนต่อ ไปยังบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ ของตนเอง และญาติ
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : ไม่ระบุ
จำนวน 23 ครั้ง มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 8,350,000 บาท
มูลเหตุ : นำเงินไปใช้ส่วนตัว
รายแปด.
ผู้อำนวยการกองคลัง อปท.H
พฤติการณ์ : มีหน้าที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินผ่านระบบ Krungthai Corporate Online ได้อาศัยโอกาสที่ตนมีสิทธิ เข้าใช้งานในฐานะ Company User Maker และในฐานะ Company User Authorizer เข้าไปจัดทำ รายการขอโอนเงินและอนุมัติ รายการโอนเงินในระบบKrungthai Corporate Online ไปเข้าบัญชี เงินฝากธนาคารของตัวเองโดย พลการ ทั้งๆ ที่ตนไม่มีสิทธิรับเงิน และไม่มีเอกสารหลักฐาน
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : 31 พ.ค. 64 - 28 ก.พ. 65
จำนวน 103 ครั้ง มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 15,515,000 บาท
มูลเหตุ : นำเงินไปใช้ส่วนตัว
รายที่เก้า
เจ้าพนักงาน การเงินและ บัญชีชำนาญงาน อปท.I
พฤติการณ์ : เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้บันทึกรายการ Company User maker ซึ่งมีหน้าที่ในการจ่ายเงิน ทำรายการขอโอนเงิน ตรวจสอบ ความถูกต้องของรายการ กระทำ การทุจริตในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเข้าบัญชีของตนเอง และได้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ในฐานะ Company User Maker ด้านการจ่ายเงิน กระทำการจัดทำรายการโอนเงินและนำรหัสของผู้อนุมัติการเบิก จ่ายเงิน Company User Authorizer มาทำการอนุมัติการเบิกจ่ายเงิน ให้กับตนเองโดยมิชอบ
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : 1 ธ.ค. 64 - 8 มี.ค. 65
จำนวน 14 ครั้ง มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 8,692,245 บาท
มูลเหตุ : นำเงินไปใช้ส่วนตัว
รายที่สิบ
เจ้าพนักงานการเงินเทศบาล J
พฤติการณ์ : นายกเทศมนตรี มอบรหัสให้ พนักงานการเงิน และพบว่ามีการเบิกเงินออกจากบัญชีของเทศบาล
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : พ.ค. – มิ.ย. 65
จำนวน 47 ครั้ง มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 31,700,000 บาท
มูลเหตุ : ไม่ระบุ
รายที่สิบเอ็ด
เจ้าหน้าที่ที่กระทำความผิด ของ อปท.K อยู่ระหว่างการสอบสวน
พฤติการณ์ : มีการโอนออกจากบัญชีเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบริษัทขายสินค้าออนไลน์แห่งหนึ่ง
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : ไม่ระบุ
มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 58,000,000 บาท
มูลเหตุ : นำเงินใช้ส่วนตัว
รายที่สิบสอง
พนักงานส่วน ตำบล อปท.L
พฤติการณ์ : อยู่ระหว่างการสอบสวน จากการตรวจสอบพบเงินขาดบัญชี
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : ไม่ระบุ
มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 26,000,000 บาท
มูลเหตุ : ไม่ระบุ
รายที่สิบสาม
นักวิชาการเงิน และบัญชี อปท.M
พฤติการณ์ : ทุจริตการโอนเงินผ่านระบบ Krungthai Corporate Online
ช่วงเวลาเกิดเหตุ : 25 - 26 ก.ค. 65
มูลค่าความเสียหายโดยประมาณ 11,000,000 บาท
มูลเหตุ : เล่นพนันออนไลน์
ทั้งหมดนี้ เป็นพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ และ อปท. จำนวน 16 แห่ง ที่อาศัยช่องโหว่จากการจ่ายเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online กระทำการทุจริตที่ สตง. ตรวจสอบพบในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2563 – 2566 และสร้างความเสียหายเป็นจำนวนเงินกว่า 332 ล้านบาท ตามที่ระบุไปแล้ว
แม้ในการสรุปข้อมูลผลตรวจสอบของ สตง. กรณีนี้ จะมีการใช้ตัวอักษรย่อแทนชื่อเต็มหน่วยงานที่เกิดเหตุ และไม่ได้เปิดเผยรายชื่อเจ้าหน้าที่ที่กระทำความผิดไว้เป็นทางการ ขณะที่ข้อมูลบางส่วนยังอยู่ระหว่างกระบวนการสอบสวนด้วย
แต่สำนักข่าวอิศรา ได้รับการยืนยันข้อมูลชื่อเต็มหน่วยงานที่เกิดเหตุมาบางส่วนแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของข้อมูล และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องชี้แจงข้อเท็จจริงอีกด้าน
เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว จะทยอยนำมาเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบต่อไป
"...รูปแบบการทุจริตส่วนใหญ่เป็นลักษณะการใช้โอกาสในการเข้าถึงข้อมูล รหัสผ่าน เข้าไปยักยอกหรือโอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัว เจ้าหน้าที่บางรายลงมือกระทำการมากกว่า 215 ครั้ง ตัวเลขความเสียหายสูงสุดอยู่ที่ 58 ล้านบาท ส่วนมูลเหตุจูงใจในการลงมือ เป็นการนำเงินไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ใช้หนี้ ปล่อยกู้ เล่นพนันออนไลน์ เป็นต้น..."
เกี่ยวข้องกัน
รัฐเสียหาย 332 ล้าน! สตง.แฉเล่ห์จนท.สบช่องทุจริตระบบ KTB มีโอนเงินเล่นพนันออนไลน์40 ล.
จากกรณีสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำเสนอข่าว สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้สรุปรายงานผลการตรวจสอบปัญหาเงินขาดบัญชีของ 15 หน่วยงานรัฐ พบพฤติการณ์การกระทำความผิดที่สำคัญหลายประการ อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ เป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย โดยปรากฏข้อมูลปัญหาการจ่ายเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online รวมอยู่ด้วยนั้น
ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา ได้รับการยืนยันข้อมูลว่า ปัญหาทุจริตที่เกิดขึ้นในการจ่ายเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online ในส่วนราชการและองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่สตง.ตรวจสอบพบในช่วงที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2563 - 2566 พบมูลค่าความเสียหายเป็นจำนวนสูงถึง 332 ล้านบาท
นอกจากพฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่บางหน่วยงานที่อาศัยโอกาสที่ตนมีสิทธิเข้าใช้งานในฐานะ Maker2 และ Authorizer ได้เข้าไปจัดทำรายการขอโอนเงินผ่านเมนูชำระค่าสินค้าและบริการ และอนุมัติการโอนเงินรายการดังกล่าวเข้าบัญชีเงินฝากของตนเองโดยที่ตนเองไม่มีสิทธิรับเงินและไม่มีเอกสารหลักฐานประกอบการเบิกจ่ายเงินให้ตรวจสอบ และกรณีเจ้าหน้าที่อาศัยโอกาสเข้าไปยืนยันตัวตนในระบบ KTB Corporate Online ในฐานะ Authorizer แทนผู้บังคับบัญชา ยืนยันการเปลี่ยนแปลงรหัสการเงินและจัดทำรหัสไว้สร้างรายการโอน เงินในระบบฯ โดยไม่มีการจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงินและไม่ได้รับอนุมัติการเบิกจ่ายเงินจากผู้มีอำนาจอนุมัติ แต่ได้ใช้รหัสผ่านของผู้อนุมัติ เข้าไปอนุมัติการโอนเงินจากบัญชีหน่วยงาน เข้าบัญชีตนเองเพื่อ นำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวด้วย ที่สำนักข่าวอิศรานำเสนอไปแล้ว
สตง.ยังตรวจสอบพบ กรณีเจ้าหน้าที่การเงินของส่วนราชการและอปท.หลายแห่ง มีพฤติการณ์ทุจริตจ่ายเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online ด้วย อาทิ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีส่วนราชการแหน่งหนึ่ง ทุจริตเงินกองทุนคนพิการ และเงินสงเคราะห์คนยากไร้ และนำเงินไปใช้ส่วนตัว จำนวนกว่า 58 ล้านบาท รวมถึงกรณีพนักงานการเงินส่วนราชการแห่งหนึ่ง นำชื่อบุคคลใกล้ชิดเข้ามาใส่ในบัญชีผู้ขายของหน่วยงาน และทำเอกสารเท็จเพื่อโอนเงินเข้าบัญชี โดยจะเลือกบัญชีที่ไม่มีความเคลื่อนไหวและไม่อยู่ในงบประมาณ เช่น เงินประกันสัญญา ปี 2564 จนได้รับความเสียหาย รวมมูลค่า 40,000,000 บาท เพื่อนำเงินไปเล่นพนันออนไลน์
สำนักข่าวอิศรา รายงานเพิ่มเติมว่า เหตุผลที่ สตง. เข้าไปตรวจสอบติดตามเรื่องการจ่ายเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online เป็นเพราะส่วนราชการและ อปท. มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีการดำเนินการรับเงิน การจ่ายเงิน และการนำเงินส่งคลังผ่านระบบ Krungthai Corporate Online ซึ่งกระทรวงการคลังได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการรับเงิน การจ่ายเงิน และการนำเงินส่งคลัง หรือฝากคลังของส่วนราชการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถิอปฏิบัติ
แต่มีข่าวปรากฏทางสื่อมวลชนว่า มีการตรวจสอบพบความผิดปกติในระบบการเบิกจ่ายเงิน ของส่วนราชการและ อปท.หลายพื้นที่ทั่วประเทศ ผ่านการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online และก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่องบประมาณแผ่นดิน สตง.จึงได้มีการตั้งคณะทำงาน ขึ้นมาตรวจสอบติดตามเรื่องนี้โดยตรง พร้อมวิเคราะห์ข้อมูล ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในภาพรวมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐต่อไป
เจาะผลสอบ สตง.ปัญหาเงินขาดบัญชีส่วนราชการ-อปท. กรณีใช้จ่ายเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online พบเจ้าหน้าที่รัฐอาศัยช่องโหว่ทุจริตเพียบราชการเสียหายหนัก 332 ล้าน ยกเคส พนง.การเงิน นำชื่อบุคคลใกล้ชิดใส่ในบัญชีผู้ขายของหน่วยงาน ทำเอกสารเท็จโอนเงินเข้าตัวเองกว่า 40 ล้าน ไปเล่นพนันออนไลน์ แฉเล่ห์เลือกบัญชีไม่เคลื่อนไหว ไม่อยู่ในงบประมาณ