ค้นหา

วิกฤตมหาวิทยาลัย มีมากล้นตลาด รับนักศึกษาไม่ได้ตามเป้า

นางประพันธ์ศิริ สุเสารัจ อดีตคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า วิกฤติมหาวิทยาลัยไทยปีนี้หนักหน่วงเกินคาด เนื่องจากประชากรในวัยเรียนลดลง และส่วนใหญ่มุ่งเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยใหญ่ เด่น ดัง ส่วนมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเล็กๆ ไม่มีนักศึกษามาเรียนตามเป้าหมาย บางแห่งนักศึกษาน้อยจนน่าตกใจ ว่าจะต้องเตรียมปิดกิจการหรือควบรวมกิจการหรือไม่ 

นางประพันธ์ศิริ กล่าวต่อว่า ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยมากเกินไปถึง 390 แห่งไม่สัมพันธ์กับจำนวนนักเรียนที่จะเข้าที่มีน้อยเกินไป รวมทั้งเปิดคณะวิชาและหลักสูตรที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการและเท่าทันสังคม เริ่มส่งผลให้เห็นปัญหา ทำให้มหาวิทยาลัยเริ่มปรับตัว หลายแห่งมุ่งเป้าไปจัดการศึกษารูปแบบอื่น เช่น สะสมหน่วยกิตหรือเป็นการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อประชาชนกลุ่มอื่น หลายแห่งหันไปรับนักศึกษาจากต่างชาติโดยใช้การตลาดนำ สร้างแรงจูงใจ มีข้อเสนอ การบริการ ให้ความสะดวกที่น่าสนใจโดยเฉพาะนักศึกษาจากจีนซึ่งที่เรียนในจีนมีไม่เพียงพอ บางคนเข้ามาเรียนโดยมีจุดประสงค์อื่นแอบแฝง เช่น ต้องการ เข้ามาพำนัก ย้ายที่อยู่ หางานทำ หรือทำธุรกิจอื่นในประเทศไทยในคราบนักศึกษา 

“ถ้าไม่คิดน้อยเกินไป นับว่าเป็นสิ่งที่จะมีผลกระทบตามมา ไม่เพียงแต่เฉพาะคุณภาพการศึกษา แต่จะยังมีผลต่อโครงสร้างประชากร อาชีพ เศรษฐกิจและสังคม อาชญากรรมที่จะตามมาในอนาคต ซึ่งรัฐบาลต้องให้ความสำคัญและหันมาป้องกันและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง  ดูได้จากประเทศอื่นๆที่มีประชากรมากกว่าไทย หรือใกล้เคียงกับเราเขามีมหาวิทยาลัยมีมหาวิทยาลัย เพียงไม่กี่แห่ง อาทิ เวียดนาม ประชากร 100.4 ล้านคน  มหาวิทยาลัย 48 แห่ง ,ฟิลิปินส์ ประชากร 105 ล้าน มีมหาวิทยาลัย 302 แห่ง ,เกาหลีใต้ ประชากร 51ล้าน มีมหาวิทยาลัย 238 แห่ง ,มาเลเชีย ประชากร 35 ล้านคน มีมหาวิทยาลัย ของรัฐ 70 แห่ง ,อังกฤษมีประชากร 70 ล้านคน มีมหาวิทยาลัย 130 แห่ง ขณะที่ ไทย ประชากร 71 ล้านคน มีมหาวิทยาลัย 390 แห่ง” นางประพันธ์ศิริ กล่าว

 

ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 9 มิถุนายน 2568

เกี่ยวข้องกัน

มรภ.วิกฤตหนัก โอด กลุ่มทปอ.แย่งรับเด็กเข้ามหา’ลัย เร่งปรับตัว ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

ตามที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ประผลการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาหรือทีแคส ปีการศึกษา 2568 รอบ 3 แอดมิสชั่น ซึ่งพบว่า ผลคะแนนสูงต่ำแต่ละคณะ/สาขา ค่อนข้างสูงกว่าที่ทปอ. คาดคะแนนไว้ โดยเฉพาะ คณะแพทย์ศาสตร์ของกลุ่ม กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท) ที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ทะลุขอบบนที่ทปอ.ทำนายไว้ ในทุกมหาวิทยาลัย ขณะที่คณะนิติศาสตร์ วารสารศาสตร์ ติดอันดับคณะสาขายอดนิยม นั้น 

มื่อวันที่ 1 มิถุนายน นางมาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.)บุรีรัมย์ ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ กล่าวว่า กลุ่มมรภ.ถือว่ารับเด็กได้ตามเป้า โดยเน้นรับเด็กในพื้นที่เข้าเรียน ยอมรับว่า อาจมีบางมหาวิทยาลัยที่รับเด็กได้น้อยลง แต่ก็เป็นจำนวนที่ไม่มากนัก และไม่มีผลกระทบกับมหาวิทยาลัย โดยคณะ/สาขาที่รับเด็กได้น้อยลงส่วนใหญ่จะเป็นในสาขาที่ไม่ได้รับความนิยมแล้ว เช่น สาธารณสุข เป็นต้น ส่วนสาขาที่ได้รับความนิยมก็ยังรับเด็กได้ตามเป้าเช่น ครุศาสตร์ 

ภาพรวมมรภ. ทุกแห่งมีการพัฒนาศักยภาพ สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง ยังไม่มีมรภ.ใดที่น่าเป็นห่วง แต่ละแห่งจะมีการบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ จับมือกับเครือข่ายเพื่อพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของมรภ. อย่างไรก็ตามเรื่องการพัฒนาพื้นที่ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด การนำนวัตกรรม งานวิจัยต่างๆ มาพัฒนาชุมชนทำให้งานที่ออกมามีคุณค่าและสร้างเป็นมูลค่าเกิดเป็นรายได้ที่หล่อเลี้ยงชุมชน ถือเป็นการทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น สร้างโอกาสการเรียนรู้ให้กับนักเรียนทุกคน ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปเรียนจังหวัดที่อยู่ห่างไกล สิ่งเหล่านี้เป็นเป้าหมายหลักของมรภ.ทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศ”นางมาลิณี กล่าว 

นายอดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) นครราชสีมา กล่าวว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยกลุ่มเล็ก อาทิ มรภ. ขนาดเล็ก และมหาวิทยาลัยเอกชนบางส่วน ที่เน้นเปิดสอนด้านสังคมศาสตร์ กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการรับเด็กผ่านระบบทีแคส ซึ่งที่ผ่านมา โดยเฉพาะทีแคสปี2568 พบว่า มหาวิทยาลัยกลุ่มทปอ.หลายแห่ง รับเด็กได้เต็มจำนวนตั้งแต่รอบ 1 พอร์ตฟอริโอ และรอบ2 รอบโควต้า 

มรภ.วิกฤตหนัก โอด กลุ่มทปอ.แย่งรับเด็กเข้ามหา’ลัย ทีแคส’68 รุกหนักกวาดเต็ม ตั้งแต่รอบแรก เร่งปรับตัว ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดึงวัยทำงานอัพสกิล รีสกิล 

ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 2 มิถุนายน 2568