ค้นหา

ตัวชี้วัดสถานการณ์ทุนมนุษย์ของประเทศไทยในปัจจุบัน

ตัวชี้วัดสถานการณ์ทุนมนุษย์ของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นปัจจัยส่งผลต่อการพัฒนาประเทศโดยรวมต้องเร่งแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น โดยมีตัวชี้วัดสำคัญดังนี้ 

1. ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) โดย UNDP พบว่า เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 0.731 ในปี 2556 เป็น 0.765 ในปี 2561 

2. ดัชนีความสามารถในการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index) โดย WORLD ECONOMIC FORUM พบว่า

    - ในส่วนเสาหลักที่ 6 ; ทักษะ พบว่า ชุดทักษะของผู้สำเร็จการศึกษา จากลำดับที่ 61 (ในจำนวน140 ประเทศเมื่อปี 2561-2562)  เลื่อนลงไปอยู่ลำดับที่ 71 (ในจำนวน14 ประเทศเมื่อปี 2562-2563) และทักษะดิจิทัลในกลุ่มประชากร จากลำดับที่ 61 (ในจำนวน140 ประเทศเมื่อปี 2561-2562)  เลื่อนลงไปอยู่ลำดับที่ 66 (ในจำนวน14 ประเทศเมื่อปี 2562-2563)

   - ในส่วนภาพรวมการจัดอันดับโลกใน 2562-2563 ไทยอยู่ในอันดับ 73 ของโลก (ทั่งหมด 141 ประเทศ) และลำดับ 6 ของอาเชียน (10 ประเทศ) 

3. ผลการสอบ PISA  โดย OECD พบว่า เด็กไทยมีคะแนนอยู่ในระดับต่ำกว่าหลายประเทศและมีอันดับผลคะแนนลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2550 (อยู่ในอันดับ 50 จาก 79 ประเทศที่เข้าสอบ) และปี 2561 (อยู่ในอันดับ 66 จาก 79 ประเทศที่เข้าสอบ) 

4. ดัชนีด้านแรงงาน

   -ผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยต่อคนของ APO (Asian Productivity Organization) โดยวัดจาก GDP ต่อคน พบว่า ผลิตภาพแรงงานไทยอยู่ในระดับต่ำและมีอัตราการเติบโตค่อนข้างช้า  โดยมีค่าอยู่ที่ 9.87 (ปี 2530) เพิ่มเป็น 30.29 (ในปี 2560) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในอาเชียนเล็กน้อย

 - ปัญหาการขาดแคลนทักษะแรงงาน ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและบริบทการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

 - แรงงานไทยจำนวนมากยังอยู่นอกระบบที่กลไกของภาครัฐจะสามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง 

5. ระบบคุ้มครองทางสังคม พบว่า มีข้อจำกัดในด้านงบประมาณ ความเพียงพอ และความครอบคลุม เนื่องจากสัดส่วนของประชากรวัยพึ่งพิงที่เพิ่มสูงขึ้น ฐานการจัดเก็บภาษีที่มีอยู่อย่างจ ากัด ขณะที่มีแนวโน้มวิกฤติและ
ภัยพิบัติเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะน าไปสู่ปัญหาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ลดลง
 

ปัจจัยด้านทุนมนุษย์ประเทศไทยนี้ เป็นความท้าทายที่สำคัญ ในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่มาพร้อมกับกระแสการพัฒนาของโลกท่ามกลางความปั่นป่วนและการเปลี่ยนแปลง ล้วนเป็นปัจจัยเร่งที่ส่งผลให้ประเทศไทย จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้สามารถพร้อมรับและปรับตัวเข้ากับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลกในระยะต่อไปได้อย่างเท่าทัน 

ที่มา ; สคช.

ความเห็นของผู้ชม