ค้นหา

2 ช่องทาง สมาชิก กบข. ยื่นขอรับเงินเกษียณคืนได้แล้ว

ดร.ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่า สมาชิก กบข. ที่กำลังจะเกษียณอายุราชการ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 หรือในวันที่ 30 กันยายนนี้ กว่า 23,000 ราย สามารถแจ้งความประสงค์ขอรับเงิน กบข. ได้แล้ว โดยสามารถยื่นเรื่องขอรับเงินคืนได้ 2 ช่องทาง คือ

1) แจ้งความประสงค์ผ่านระบบ e-Filing
2) แจ้งความประสงค์ผ่านหน่วยงานต้นสังกัด พร้อมกรอกแบบ กบข. รง 008/1/2555 โดย กบข. มั่นใจจะสามารถจ่ายเงินคืนแก่สมาชิกได้ภายใน 7 วันทำการ หลังจากที่ได้รับเอกสารและตรวจสอบข้อมูลถูกต้องครบถ้วน และประกาศเกษียณอายุราชการมีผลบังคับใช้
 

ทั้งนี้ สมาชิกสามารถตรวจสอบยอดเงินและติดตามสถานะการขอรับเงินคืนได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านทาง My GPF Application เมนูบัญชีของฉัน และ เมนูคุยกับบอท พิมพ์คำว่า ขอรับเงินคืน จากนั้นเลือกเมนู ติดตามสถานะขอรับเงินคืน นอกจากนี้สมาชิกยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เนื่องจากเงินก้อนที่ได้รับจาก กบข. นั้น จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

ดร.ศรีกัญญา กล่าวอีกว่า สำหรับสมาชิกที่ยังไม่มีแผนใช้เงินก้อนทันทีหลังเกษียณ กบข. ขอเสนอทางเลือกบริหารเงินออม ด้วย “บริการออมต่อกับ กบข.” ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนของ กบข. บริหารเงินลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับเงินออมของสมาชิกอย่างต่อเนื่องเมื่อเกษียณ สมาชิกสามารถแจ้งความประสงค์เลือกใช้บริการออมต่อได้ 4 รูปแบบ ดังนี้

1) ออมต่อทั้งจำนวน
2) ทยอยรับเงินเป็นงวด ๆ ได้แก่ รายเดือน รายสามเดือน รายหกเดือน หรือรายปี
3) ขอรับเงินบางส่วน ที่เหลือให้ กบข. บริหารต่อ
4) ขอรับเงินบางส่วน ที่เหลือทยอยรับเงินเป็นงวด ๆ

พร้อมทั้งสามารถแจ้งเปลี่ยนรูปแบบการออมต่อได้ปีละ 2 ครั้ง ผ่าน My GPF Application เมนู “ออมต่อ” ทั้งนี้ สมาชิกสามารถศึกษารายละเอียดบริการออมต่อเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ กบข. หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ GPF Contact Center โทร. 1179 Facebook กบข. หรือ Line กบข. พิมพ์ค้นหาไอดี @gpfcommunity 

ที่มา ; สยามรัฐออนไลน์  14 กันยายน 2564

เกี่ยวข้องกัน

กฎหมาย กบข. ทั้ง 5 ประเด็น เพื่อสมาชิก มีผลบังคับทุกประเด็นแล้ววันนี้
 - สมาชิกสามารถออมกับ กบข. ได้สูงสุด 30%
 - เมื่อสมาชิกเลือกหรือเปลี่ยนแผนการลงทุน จะมีผลต่อเงินทุกประเภทในบัญชีรายบุคคล ประกอบด้วย เงินสะสม เงินออมเพิ่ม (ถ้ามี) เงินสมทบ เงินชดเชย และเงินประเดิม (ถ้ามี)
สมาชิกบรรจุใหม่ หากไม่ใช้สิทธิเลือกแผนการลงทุน กบข. จะกำหนดแผนการลงทุนเริ่มแรกเป็น “แผนสมดุลตามอายุ"
 - สมาชิกสามารถโอนย้ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาให้ กบข. บริหารได้
 - ผู้ออมต่อกับ กบข. สามารถเลือกหรือเปลี่ยนแผนการลงทุนได้

รายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมาย กบข.

https://www.gpf.or.th/thai2019/2Member/gpf_member_law.php

ความเห็นของผู้ชม