การสอนให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนและในการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 นั้น ผู้สอนต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความสามารถที่จะให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวัน การคิดอย่างมีเหตุผล การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ ความสามารถในการให้เหตุผล แบ่งเป็น 5 องค์ประกอบ
· แบบนิรนัย
· แบบอุปนัย
· เชิงอธิบาย
· เชิงอุปมา
· เชิงจริยธรรม
ซึ่งนอกจากจะเป็นพื้นฐานและเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสติปัญญาและทักษะการคิดขั้นสูงแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการตัดสินในการประกอบอาชีพ และลดพฤติกรรมเสี่ยงในอนาคตอีกด้วย
การให้เหตุผล เป็นความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลและการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ ที่เป็นอิสระจากความรู้เดิมที่ได้มา การให้เหตุผลเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ ใน ขณะที่ความสามารถในการให้เหตุผลนี้จะทำหน้าที่เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมต่อให้เด็กเกิดความสามารถในด้าน อื่นๆ
ความสามารถในการให้เหตุผลในวัยเด็กสามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ในโรงเรียน มหาวิทยาลัยและ ผลการปฏิบัติงานในการประกอบอาชีพได้
นอกจากนี้ปัญหาในการตัดสินใจมีความสำคัญมากขึ้นในช่วง วัยรุ่น เนื่องจากวัยรุ่นมีการพัฒนาและความเป็นอิสระมากขึ้นอีกทั้งยังต้องเผชิญกับทางเลือกมากขึ้น ซึ่งทางเลือกต่างๆ อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและผู้อื่น บางส่วนของ ทางเลือกเหล่านี้อาจรวมถึงการค้นหาอาชีพ การมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่หรือเสพยาเสพติดอื่นๆ
ดังนั้นความสามารถในการให้เหตุผล นอกจากจะเป็นพื้นฐานและ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาระดับสติปัญญาและทักษะการคิดขั้นสูงแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการตัดสินใจ เพื่อการประกอบอาชีพและการลดพฤติกรรมเสี่ยงในอนาคตอีกด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอันจะให้ผู้เรียน สามารถใช้ชีวิตอย่างประสบความสำเร็จในศตวรรษที่ ๒๑
ที่มา ; เนื้อหาจาก Teachers As Learners
เกี่ยวข้องกัน
4 จุดเน้น : การรู้เรื่องจำนวน (Numeracy)
การรู้เรื่องจำนวน เป็นความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ เพื่อช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ
· ด้านการประเมินค่าและการคำนวณ
· ด้านความเข้าใจและการใช้แบบรูปและความสัมพันธ์
· ด้านการประยุกต์ใช้เศษส่วน ทศนิยม ร้อยละ และอัตราส่วน
· ด้านการให้เหตุผลเชิงปริภูมิ
· ด้านการแปลความข้อมูลเชิงสถิติ
· ด้านการใช้การวัด
ซึ่งการรู้เรื่องจำนวนไม่ได้ใช้เฉพาะวิชาคณิตศาสตร์เท่านั้น กลุ่มสาระอื่นๆก็สามารถนำการรู้เรื่องจำนวนไปพัฒนาผู้เรียนได้เช่นเดียวกัน ซึ่งต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และควรนำไปใช้ในบริบทชีวิตจริงของผู้เรียนด้วย
ที่มา ; Teachers As Learners