ค้นหา

คุรุสภาออกหลักเกณฑ์คงสิทธิ์ผู้ที่ยังไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพครู

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กมว.เมื่อเร็วๆ นี้ รับทราบสรุปผลการรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงรายละเอียดเพื่อประกอบการจัดทำข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. … พบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 1,579 ราย โดยร้อยละ 97 เห็นด้วยกรณีเสนอแยกจรรยาบรรณของวิชาชีพออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ส่วนรายละเอียดอื่นๆ มีผู้เห็นด้วยกว่า ร้อยละ 99 ขณะเดียวกันยังมีข้อเสนอแนะ อาทิ ควรพัฒนาข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณฯ ให้สอดคล้องกับทักษะในยุคปัจจุบัน เช่น การสร้างนวัตกรรม การพัฒนารูปแบบการสอน งานวิจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียน เป็นต้น 

ทั้งนี้ ควรแยกจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษาให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงบริบทหน้าที่ และบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ที่จะต้องมีจรรยาบรรณที่แตกต่างกัน และควรมีตัวอย่างให้เห็นชัด ว่าครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาอื่น เมื่อประพฤติปฏิบัติไม่ดี จะมีกระบวนการดำเนินการอย่างไร และควรส่งเสริมเชิดชูครูที่ประพฤติดีด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อผลการรับฟังความคิดเห็นเป็นไปในทิศทางที่ดี ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้เดินหน้า ปรับปรุงข้อบังคับดังกล่าวต่อไป” ดร.เอกชัย กล่าว

ดร.เอกชัยกล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบแก้ไขระเบียบการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งเดิมกำหนดให้ผู้ที่มีใบอนุญาตฯ แต่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพครู สามารถต่อใบอนุญาตฯ ได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานการพัฒนาตัวเอง ทำให้ผิดหลักการ และเกิดความลักลั่น ขณะที่ครู มื่อต่อใบอนุญาตฯ จะต้องแสดงหลักฐานการพัฒนาตัวเองด้านวิชาชีพ เป็นเวลา 100 ชั่วโมง ดังนั้น ที่ประชุมจึงเห็นควรต้องแก้ไขระเบียบดังกล่าวให้เกิดความเป็นธรรม 

ผมเพิ่งทราบว่าระเบียบการต่อใบอนุญาตฯ เปิดช่องดังกล่าวไว้ เพราะตามปกติแล้ว ครู และบุคลากรทางการศึกษา จะต้องต่อใบอนุญาตฯ ทุก 5 ปี ซึ่งผู้ที่อยู่ในวิชาชีพทุกคน จะต้องมีหลักฐานการพัฒนาตัวเองด้านวิชาชีพ 100 ชั่วโมง ขณะที่คนที่ไม่ได้เป็นครู แต่ถือใบอนุญาตฯ ไว้ กลับได้รับการยกเว้นมาตลอด ถือว่าไม่เป็นธรรม โดยมีมากกว่า 5,000 คน ต่อไปหากคนกลุ่มนี้ต้องการต่อใบอนุญาตฯ จะมีช่องทางอบรมพัฒนาตัวเอง ทั้งกับคุรุสภา หรือหน่วยงานด้วนการศึกษาอื่นๆ ที่เปิดให้อบรม ก็สามารถเข้ารับการพัฒนาตัวเองได้” ดร.เอกชัย กล่าว 

มติชออนไลน์ วันที่ 13 กรกฎาคม 2565 

ข่าวเกี่ยวกัน

คุรุสภา’ ออกประกาศคงสิทธิ ครูไร้ตั๋วขอใบอนุญาตฯไม่ทัน ต.ค.63 สอนครบ 1 ปี ยังขอใบอนุญาตฯได้

นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ  ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  พ.ศ. 2565  แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ เพื่อการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พ.ศ. 2550 ให้เหมาะสมมีความสอดคล้องกับข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ และข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ที่มีน.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เป็นประธาน มีมติให้ ออกข้อบังคับ ว่าด้วยการรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพฯใหม่ ยกเลิกการวัดมาตรฐานความรู้ วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์  และให้ยกเลิก ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ตามข้อบังคับเดิม ปี 2550 

การออกประกาศดังกล่าว เพื่อเป็นการล้างท่อกลุ่ม ที่ถือใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ก่อนข้อบังคับปี 2550 จะบังคับใช้    ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่จบหลักสูตรที่คุรุสภาไม่รับรอง โดยขณะนั้นคุรุสภาแก้ปัญหาโดยการให้ สอบวัดมาตรฐานความรู้ 9 มาตรฐาน หากสอบผ่านจะได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน  จากนั้นจะต้องปฏิบัติการสอนในโรงเรียนเป็นเวลา 1 ปี เพื่อให้ได้ใบรับรองนำใช้เป็นหลักฐานในการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตัวจริง และได้กำหนดให้กลุ่มดังกล่าว มาขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาตฯตัวจริง ภายในวันที่ 3 ตุลาคม 2563 เป็นครั้งสุดท้าย แต่พบว่ายังมีกลุ่มที่ยังไม่มาขึ้นทะเบียนเพราะยังปฏิบัติการสอนไม่ครบ ดังนั้นจึงออกประกาศดังกล่าว  เพื่อคงสิทธิ และให้ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนให้ครบตามเวลาที่กำหนด เมื่อได้รับการรับรองจากสถานศึกษาแล้ว ให้นำหลักฐานการผ่านการรับรอง ไปขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ โดยคนกลุ่มนี้มีไม่มาก เมื่อแก้ปัญหาดังกล่าวหมดแล้ว ก็จะเข้าสู่ข้อบังคับใหม่ต่อไป”นายเอกชัย กล่าว 

นายเอกชัย กล่าวต่อว่า สำหรับข้อบังคับใหม่ อยู่ระหว่างประแก้รายละเอียด คาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ภายใน 2 เดือน สำหรับข้อบังคับใหม่ จะเปิดช่องให้ผู้ที่สอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูไม่ผ่าน จะได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู ใช้เป็นหลักฐานสอบครูผู้ช่วย โดยใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู จะมีอายุ 2 ปี ให้พัฒนาตัวเอง และมาสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตฯตัวจริง หากภายใน 2 ปีไม่สามารถสอบผ่าน จะถูกตัดสิทธิการสอน และต้องไปปฏิบัติหน้าที่อื่นแทน ส่วนผู้ที่สอบผ่านก็จะได้รับใบอนุญาตฯ ขั้นต้น จากนั้นจะต้องพัฒนาตัวเอง เพื่อสอบรับใบอนุญาตฯขั้นสูงต่อไป 

 

คลิกอ่าน ราชกิจจานุเบกษา 

มติชนออนไลน์ วันที่ 18 กรกฎาคม 2565

ความเห็นของผู้ชม

 แสดงความคิดเห็น